พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2551)

พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกในปี พ.ศ. 2551

พายุไต้ฝุ่นรามสูร (อักษรโรมัน: Rammasun)[nb 1] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นบุตโชย (ตากาล็อก: Butchoy)[nb 2] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีขนาดใหญ่ และมีความรุนแรงที่สุดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2551 พายุไต้ฝุ่นรามสูรเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 5, พายุโซนร้อนลูกที่ 2 และพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 2 ในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2551 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เนื่องมาจากสภาพอากาศที่กำลังแปรปรวนในเขตร้อนชื้น และในวันรุ่งขึ้นพายุก็เริ่มมีการก่อตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พายุโซนร้อนรามสูรได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือ พายุไต้ฝุ่นรามสูรมีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 3] และด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งทำให้พายุไต้ฝุ่นรามสูรกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน หลังจากนั้นพายุก็ได้อ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในวันที่ 12 พฤษภาคม ก่อนที่จะเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และจนกระทั่งหลายชั่วโมงต่อมาพายุก็ได้สลายไปทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในโลกผูกกับพายุไต้ฝุ่นชังมีในปี พ.ศ. 2551 อีกด้วย

พายุไต้ฝุ่นรามสูร
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นบุตโชย
พายุไต้ฝุ่นรามสูรขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
ก่อตัว7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
พายุหมุนนอกเขตร้อน13 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
สลายตัว14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA)
ความเร็วลมสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.58 นิ้วปรอท
พายุไต้ฝุ่น
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD)
ความเร็วลมสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.58 นิ้วปรอท
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC)
ความเร็วลมสูงสุด285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.43 นิ้วปรอท
ผลกระทบ
ผู้เสียชีวิต4 ราย
ความเสียหาย$9.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงินปี พ.ศ. 2551 USD)
พื้นที่ได้รับผลกระทบประเทศฟิลิปปินส์, ประเทศญี่ปุ่น
IBTrACS

ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2551

พายุไต้ฝุ่นรามสูรมีความรุนแรงมากกว่าพายุไซโคลนนาร์กิสนั้นไม่ใช่เรื่องปกติ[1] แม้ว่าพายุจะไม่เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งโดยตรง แต่คลื่นพายุชั้นนอกทำให้มีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 2 ราย ในตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งมีการรายงานน้ำท่วม และดินถล่มอีกด้วย พายุยังส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่นด้วยคลื่นลมแรง

หางจากพายุไต้ฝุ่นรามสูรที่พัดถล่มประเทศฟิลิปปินส์ในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวพัดผ่านทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ลมแรงที่เกิดจากพายุได้ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่ออาคารบางแห่ง และต้นไม้จำนวนมากโค่นล้มลง ความเสียหายที่เกิดจากพายุทอร์นาโด แต่ไม่มีคำอธิบายสำหรับความเป็นไปได้นี้ และได้เกิดความเสียหายรวมประมาณ 11 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (214,109 ดอลลาร์สหรัฐ) พื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 10 เฮกตาร์ ได้รับความเสียหายในประเทศญี่ปุ่น โดยรวมแล้ว พายุไต้ฝุ่นรามสูรได้คร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 4 ราย มีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกประมาณ 40 ราย และมูลค่าความเสียหายโดยรวมประมาณ 9.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 4] ทั้งในประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศญี่ปุ่น

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา แก้

 
แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
  พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
  พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน
 
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นรามสูร

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นรามสูร

  • วันที่ 4 พฤษภาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นบริเวณทางตอนใต้ของแยป
  • วันที่ 5 พฤษภาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC)[nb 5] ได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นคลื่นรบกวนเขตร้อน และประเมินโอกาสในการก่อกวนที่กำลังจะก่อตัวเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่มีนัยสำคัญภายใน 24 ชั่วโมง เนื่องจากศูนย์หมุนเวียนระดับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังพัฒนาเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 6 พฤษภาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำภายใน 24 ชั่วโมง ในขณะที่ศูนย์กลางการหมุนเวียนระดับต่ำได้รวมตัวเข้าด้วยกัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังก่อตัวขึ้นเรื่อย ๆ จึงทำให้มีการประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในเวลาต่อมาของวันนั้น และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[nb 6] ได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนภายในวันรุ่งขึ้นอีกด้วย
  • วันที่ 7 พฤษภาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และปากาซาได้กำหนดชื่อท้องถิ่นว่า บุตโชย พายุตั้งอยู่ประมาณ 790 กิโลเมตร (490 ไมล์) ทางตะวันออกของเกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ และต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) เริ่มออกคำแนะนำเต็มรูปแบบเกี่ยวกับพายุตามที่คาดการณ์ไว้ว่าพายุดีเปรสชันเขตร้อนจะกลายเป็นพายุโซนร้อนภายใน 24 ชั่วโมง ในเช้าของวันนั้น ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อน และกำหนดหมายเลขอย่างเป็นทางการว่า 03W และต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนเช่นกัน และกำหนดให้ชื่อว่า รามสูร
  • วันที่ 8 พฤษภาคม พายุโซนร้อนรามสูรยังคงทวีกำลังแรงขึ้น จึงทําให้กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 9 พฤษภาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุโซนร้อนกำลังแรงรามสูรได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในวันนั้น ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นในช่วง 6 ชั่วโมง และได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ในมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (90 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในเวลาเดียวกัน หลังจากนั้นพายุยังคงทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (100 ไมล์ต่อชั่วโมง) และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุไต้ฝุ่นรามสูรได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 ด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 225 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (140 ไมล์ต่อชั่วโมง)
     
    พายุไต้ฝุ่นรามสูรหลังมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
  • วันที่ 10 พฤษภาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุไต้ฝุ่นรามสูรได้มาถึงสถานะความรุนแรงสูงสุดแล้ว กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งทำให้พายุไต้ฝุ่นรามสูรกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 และความกดอากาศต่ำของพายุได้ถูกประเมินอย่างเป็นทางการที่ 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วของปรอท)
  • วันที่ 11 พฤษภาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุไต้ฝุ่นรามสูรได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 ในขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 175 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (110 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในวันนั้น และต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (100 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุไต้ฝุ่นรามสูรได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 หลังจากนั้นก็ได้รายงานภายในคำแนะนำต่อไปว่าพายุได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (90 ไมล์ต่อชั่วโมง) พายุไต้ฝุ่นรามสูรก็ได้เคลื่อนตัวออกจากพื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ และถูกลดระดับเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ในวันรุ่งขึ้น
  • วันที่ 12 พฤษภาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ลดระดับพายุไต้ฝุ่นให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ลดระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และออกคำแนะนำเป็นครั้งสุดท้ายเกี่ยวกับพายุที่อ่อนกำลังลงด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 155 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (95 ไมล์ต่อชั่วโมง)
  • วันที่ 13 พฤษภาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพายุโซนร้อนกำลังแรงรามสูรได้เคลื่อนตัวพัดเข้าชายฝั่งประเทศญี่ปุ่นด้วยความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (50 ไมล์ต่อชั่วโมง) โดยมีลมแรง คลื่นสูง และมีฝนตกในระดับปานกลางถึงระดับหนัก
  • วันที่ 14 พฤษภาคม ขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวออกจากแผ่นดินสู่ทะเล จึงทำให้กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ออกคำเตือนเป็นครั้งสุดท้ายเกี่ยวกับพายุโซนร้อนกำลังแรงรามสูร และลดระดับพายุโซนร้อนกำลังแรงให้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนในระดับต่ำสุด แม้ว่าจะเป็นพายุที่ก่อตัวใกล้ประเทศฟิลิปปินส์ไม่โดนแผ่นดิน แต่ก็เป็นพายุที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้

การเตรียมการ แก้

ประเทศฟิลิปปินส์ แก้

สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ไม่ได้ออกสัญญาณเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในประเทศฟิลิปปินส์ เนื่องจากพายุอยู่ห่างไกลจากประเทศเกินกว่าที่จะประกาศแจ้งคำแนะนำดังกล่าวได้ และมีการคาดการณ์ว่าสัญญาณเตือนภัยระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนจะเพิ่มลมมรสุมทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จึงทำให้พายุฝนฟ้าคะนองปกคลุมตอนกลาง ทางตอนใต้ของเกาะลูซอน วิซายัส และเกาะมินดาเนา ในอีก 3 วัน ข้างหน้า[4][5] มีการแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่อาศัยในที่ราบลุ่มแม่น้ำใกล้กับเนินเขา เนื่องจากอาจทําให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และดินถล่ม พายุฝนฟ้าคะนองได้กระจายเป็นกลุ่ม ๆ โดยเฉพาะในช่วงบ่าย หรือเย็น และมีเมฆบางส่วนทำให้เกิดฝนตกหนักในเกาะลูซอนเมื่อเวลา 14:00 น. (07:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ของเมื่อวานนี้[6]

ผลกระทบ แก้

ประเทศฟิลิปปินส์ แก้

 
พายุไต้ฝุ่นรามสูรกำลังเคลื่อนตัวอยู่ทางทะเลฟิลิปปินเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พายุไต้ฝุ่นรามสูรได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งจังหวัดซารังกานี จึงทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ซึ่งพ่อกับลูกถูกคลื่นซัดจมหายไปในทะเลในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวขึ้นฝั่ง กระทรวงมหาดไทยสหรัฐรายงานว่ามีครอบครัวประมาณ 127 ครอบครัว ได้อพยพออกจากเมืองไมทุม และเคียมบาแล้ว พื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 100 เฮกตาร์ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก น้ำท่วมฉับพลัน และมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 40 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (778,581 ดอลลาร์สหรัฐ) ไม่รวมสิ่งอำนวยความสะดวก และโครงสร้างของอาคารรัฐบาล[7] เรือลำหนึ่งที่บรรทุกคนประมาณ 17 คน ได้พลิกคว่ำ เนื่องจากคลื่นลมแรงที่เกิดจากพายุฝนฟ้าคะนอง และผู้โดยสารทั้งหมดได้รับการช่วยเหลือในวันรุ่งขึ้นโดยหน่วยยามฝั่งของประเทศฟิลิปปินส์[8] ฝนตกหนักจากแถบนอกของพายุไต้ฝุ่นรามสูรได้ทำให้เกิดน้ำท่วม และโคลนถล่มในประเทศฟิลิปปินส์ ลมแรงได้ทำให้ต้นไม้จำนวนมากโค่นล้มลง และต้นไม้หนึ่งในนั้น ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 เซนติเมตร (2 ฟุต) ได้โค่นล้มทับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า 3 ราย คร่าชีวิตผู้คน 2 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสอีกประมาณ 2 ราย แม่น้ำล้นตลิ่งท่วมท้นในจาโร เมืองอีโลอีโล และมีรายงานจากท้องถิ่นได้รายงานว่าน้ำท่วมในพื้นที่มีระดับลึกถึงเอว เด็กหญิงวัยอายุ 15 ปี ได้จมน้ำเสียชีวิต หลังจากถูกน้ำพัดหายไปในขณะที่กำลังข้ามสะพานแม่น้ำในคาอัวยัน จังหวัดอีซาเบลา น้ำท่วมในเมืองฮิโนบาอันได้ทำให้บ้านเรือนได้รับความเสียหายอย่างหนักประมาณ 6 หลัง และบ้านเรือนได้รับความเสียหายอีกประมาณ 24 หลัง และครอบครัวประมาณ 3,153 ครอบครัว ได้รับผลกระทบจากพายุในประเทศฟิลิปปินส์[9]

 
พายุไต้ฝุ่นรามสูรขณะมีกำลังแรงสูงสุดจากภาพอินฟราเรดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

หางพายุที่รุนแรงของพายุไต้ฝุ่นรามสูรได้พัดถล่มประเทศฟิลิปปินส์ หลังจากที่พายุกำลังจะกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน จึงทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่ออาคาร และต้นไม้จำนวนมากโค่นล้มลงในทางตะวันตกของวิซายัส[10] พืชผลทางการเกษตร และโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างได้รับความเสียหายประมาณ 11 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (214,109 ดอลลาร์สหรัฐ) ในทางตะวันตกของเนกรอส และทำให้บารังไก 40 แห่ง ในจังหวัดอีโลอีโลได้ประสบภัยพิบัติในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา พื้นที่เกษตรกรรมได้รับความเสียหายประมาณ 5 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (97,322 ดอลลาร์สหรัฐ) ไร่นาใน 5 แห่ง และไร่ข้าวโพดใน 1 แห่ง ได้รับความเสียหายประมาณ 2.5 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (48,661 ดอลลาร์สหรัฐ) และการประมงในพื้นที่ 3 แห่ง ได้รับความเสียหายรวมประมาณ 2.3 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (44,768 ดอลลาร์สหรัฐ) ในจังหวัดเนโกรสโอกซีเดนตัล กรมโยธาธิการ และทางหลวงในทางตะวันตกของวิซายัสรายงานว่าถนนจากบาโคโลดไปทางตอนใต้ของเนกรอสได้รับความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 6 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (116,787 ดอลลาร์สหรัฐ) ชาวบ้านประมาณ 200 คน ใน 5 เมือง ทางตอนใต้ของจังหวัดเนโกรสโอกซีเดนตัลได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

ผู้คนประมาณ 40,000 คน จากครอบครัวประมาณ 8,000 ครอบครัว ในจังหวัดอีโลอีโลได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยอิงจากตัวเลขของสำนักงานสวัสดิการสังคม และการพัฒนาของบ้านเมือง ความเสียหายที่เกิดจากพายุทอร์นาโดที่อาจเกิดขึ้นได้ แม้ว่าความเป็นไปได้นี้จะไม่ได้รับการยืนยัน มีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 40 ราย และความเสียหายรวมประมาณ 61 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[11]

ประเทศญี่ปุ่น แก้

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ออกคำเตือนสำหรับโตเกียว เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าพายุไต้ฝุ่นรามสูรจะเคลื่อนตัวเข้าใกล้กันกับเมือง[12] ขณะที่พายุกำลังกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และพายุได้เคลื่อนตัวพัดเข้าชายฝั่งประเทศญี่ปุ่นด้วยความเร็วลมสูงสุด 85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (50 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม และมีคลื่นสูงเป็นเวลาหลายชั่วโมง[13] พายุอยู่ใกล้ทะเลทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะชิชิจิมะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่อง 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (30 ไมล์ต่อชั่วโมง) มีคลื่นสูงประมาณ 5.8 เมตร[14] พื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 10 เฮกตาร์ ได้รับความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 770 ล้านเยน (8.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในความสูญเสียทางการเกษตร[15]

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. "รามสูร" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 2 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  2. พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "บุตโชย" (7 ถึง 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
  3. ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  4. ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2551 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  5. ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ – กองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งจะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคอื่น ๆ[2]
  6. กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[3]

อ้างอิง แก้

  1. "Digital Typhoon: Typhoon 200802 (RAMMASUN)". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. 2008-05-12. สืบค้นเมื่อ 12 May 2008.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "Joint Typhoon Warning Center Mission Statement". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  3. "Annual Report on Activities of the RSMC Tokyo – Typhoon Center 2000" (PDF). Japan Meteorological Agency. February 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  4. "PAGASA Warning 07-06-2008 03z" (ภาษาอังกฤษ). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. 2008-11-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2008. สืบค้นเมื่อ 7 November 2008.
  5. "PAGASA Warning 12-06-2008 03z" (ภาษาอังกฤษ). Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. 2008-11-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2008. สืบค้นเมื่อ 7 November 2008.
  6. Flores, Ghio Ong,Helen (2008-05-17). "Butchoy intensifies into storm". Philstar.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 May 2008.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. Isagani P. Palma (2008-05-13). "'Butchoy' claims one life, another missing". Manila Times (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2012. สืบค้นเมื่อ 17 May 2009.
  8. Ahira Sánchez-Lugo (2008-08-20). "Global Hazards and Significant Events May 2008" (ภาษาอังกฤษ). National Climatic Data Center. สืบค้นเมื่อ 17 May 2009.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. Bong P. Garcia (2008-05-13). "Typhoon Butchoy kills 2" (ภาษาอังกฤษ). Sun Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-10. สืบค้นเมื่อ 17 May 2009.
  10. "Typhoon "tail" leaves trail of destruction in Sarawak". The Star online (ภาษาอังกฤษ). 2008-06-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2008. สืบค้นเมื่อ 22 June 2008.
  11. "Typhoon "Butchoy" destroys P11M in agriculture in W. Visayas" (ภาษาอังกฤษ). GMANews.TV. 2008-06-22. สืบค้นเมื่อ 22 June 2008.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. Agence France-Presse (2008-05-12). "Strong typhoon heads towards Japan" (ภาษาอังกฤษ). The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 17 May 2009.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. Staff Writer (2008-05-13). "Typhoon downgraded as it passes by Japan" (ภาษาอังกฤษ). Agence France-Presse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2008. สืบค้นเมื่อ 13 May 2008.
  14. "Typhoon Rammasun". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2008-05-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-27. สืบค้นเมื่อ 16 May 2008.
  15. "41st Session Country Report: Japan" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). World Meteorological Organization. 2009-01-09. สืบค้นเมื่อ 9 January 2009.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้