พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2553)

พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกในปี พ.ศ. 2553

พายุไต้ฝุ่นชบา (อักษรโรมัน: Chaba)[nb 1] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นกาตริง (ตากาล็อก: Katring)[nb 2] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดเป็นอันดับสองรองจากพายุไต้ฝุ่นเมกี และเป็นพายุลูกแรกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศญี่ปุ่นนับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นเมอโลร์ในปี พ.ศ. 2552 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2553 อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หย่อมความกดอากาศต่ำได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างเชื่องช้าจนกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และพายุโซนร้อนในวันรุ่งขึ้น พายุโซนร้อนชบาได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในเช้าตรู่ของวันที่ 26 ตุลาคม และมีความรุนแรงสูงสุดเทียบเท่ากับมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน พายุไต้ฝุ่นชบามีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 205 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (125 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 3] และความกดอากาศที่ 905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วของปรอท) หลังจากนั้นไม่นานพายุไต้ฝุ่นชบาก็เริ่มอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนเมื่อผ่านไปใกล้ประเทศญี่ปุ่น ส่วนที่เหลือของพายุยังคงอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วในขณะที่เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ จนกระทั่งพายุสลายไปในวันรุ่งขึ้น[1]

พายุไต้ฝุ่นชบา
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นกาตริง
พายุไต้ฝุ่นชบาขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่
27 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
ก่อตัว20 ตุลาคม พ.ศ. 2553
พายุหมุนนอกเขตร้อน30 ตุลาคม พ.ศ. 2553
สลายตัว1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA)
ความเร็วลมสูงสุด205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.72 นิ้วปรอท
พายุไต้ฝุ่น
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD)
ความเร็วลมสูงสุด205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.72 นิ้วปรอท
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC)
ความเร็วลมสูงสุด285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.58 นิ้วปรอท
ผลกระทบ
ผู้เสียชีวิตไม่มีการรายงาน
ความเสียหายไม่มีการรายงาน
พื้นที่ได้รับผลกระทบประเทศญี่ปุ่น
IBTrACS

ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2553

เครื่องวัดกำลังงานแสงเชิงสเปกตรัมแบบการถ่ายภาพความละเอียดปานกลางของดาวเทียมของนาซาได้ถ่ายภาพกลุ่มเมฆที่หมุนเป็นเกลียวของพายุไต้ฝุ่นชบาได้พัดแผ่กระจายปกคลุมไปทั่วพื้นที่ส่วนใหญ่ของทะเลฟิลิปปิน[2] และเมฆปกคลุมเหนือหมู่เกาะรีวกีวของประเทศญี่ปุ่นรวมถึงเกาะโอกินาวะ และกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ[3]

พายุฝนฟ้าคะนองจากพายุไต้ฝุ่นชบาได้ถล่มเมืองทำให้บ้านเรือนประมาณ 500 หลัง ได้ประสบปัญหาไฟฟ้าดับ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 5 ราย ในจังหวัดโอกินาวะ[4] การแข่งขันรถในโตเกียวได้ถูกเลื่อนโดยสมาคมแข่งรถแห่งประเทศญี่ปุ่นไปจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน เนื่องจากพายุไต้ฝุ่นชบา[5]

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา แก้

 
แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
  พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
  พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน
 
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นชบา

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นชบา

  • วันที่ 21 ตุลาคม ดาวเทียมของนาซาได้เคลื่อนตัวผ่านบริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำ ซึ่งทำให้มีฝนตกลงมาที่หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาในมหาสมุทรแปซิฟิก และหย่อมความกดอากาศต่ำได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในเวลาต่อมา พายุได้ก่อตัวขึ้นห่างอยู่ประมาณ 850 กิโลเมตร (530 ไมล์) ทางตอนใต้ของอิโวะจิมะ และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลม 1 นาทีที่ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (30 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากอยู่ในบริเวณที่มีลมเฉือนในแนวดิ่งต่ำ และมีอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลอุ่น
  • วันที่ 22 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนอยู่เหนือน่านน้ำเปิดทางตะวันตกเฉียงเหนือ และไม่มีภัยคุกคามต่อแผ่นดิน ดาวเทียมของนาซาได้บันทึกข้อมูลอินฟราเรดความเย็นของเมฆพายุในขณะที่กำลังเคลื่อนตัวผ่านเหนืออวกาศ พายุตั้งอยู่ประมาณ 1,400 กิโลเมตร (870 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วลม 1 นาทีที่ 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (15 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และทำให้เกิดคลื่นสูงประมาณ 3 เมตร เครื่องส่งเสียงอินฟราเรดบรรยากาศได้ใช้เทคโนโลยีอินฟราเรดเพื่อวัดอุณหภูมิของพายุ และดาวเทียมของนาซาได้ถ่ายภาพอุณหภูมิสูงสุดของเมฆพายุดีเปรสชันเขตร้อนเผยให้เห็นพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงบางแห่งที่อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ -53 องศาเซลเซียส ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ทางทิศใต้จุดศูนย์กลางของพายุ ข้อมูลดาวเทียมมีข้อบ่งชี้ว่าศูนย์หมุนเวียนระดับต่ำถูกลมภายนอกพัดเข้ามา และนั่นเป็นสัญญาณว่าพายุอาจจะอ่อนกำลังลงมากขึ้นในระยะสั้น การพาความร้อนที่รุนแรงที่สุด หรือเมฆที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองที่ทำให้เกิดพายุดีเปรสชันเขตร้อน และอยู่ทางทิศใต้ของศูนย์กลางการไหลเวียน
  • วันที่ 23 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ และปากาซาได้กำหนดชื่อท้องถิ่นว่า กาตริง
  • วันที่ 24 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC)[nb 4] ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อน และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[nb 5] ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนเช่นกัน และกำหนดให้ชื่อว่า ชบา
  • วันที่ 25 ตุลาคม พายุโซนร้อนชบาตั้งอยู่ประมาณ 970 กิโลเมตร (600 ไมล์) ทางตอนใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (70 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และทำให้เกิดคลื่นสูงประมาณ 6 เมตร ดาวเทียมของนาซาได้เคลื่อนตัวผ่านพายุเพื่อถ่ายภาพอินฟราเรดความเย็นของเมฆพายุด้วยเครื่องส่งเสียงอินฟราเรดบรรยากาศ และเผยให้เห็นว่าอุณหภูมิของเมฆมีอากาศเย็นอยู่ที่ประมาณ -52 องศาเซลเซียส นั้นแสดงว่ามีการหมุนเวียนของลมบริเวณทางทิศใต้ และทางทิศตะวันตก ยิ่งอุณหภูมิของเมฆเย็นลง พายุก็จะยิ่งรุนแรงขึ้น และพายุฝนฟ้าคะนองก็รุนแรงขึ้นเช่นกัน ภาพถ่ายดาวเทียมไอน้ำแสดงให้เห็นว่าแถบพายุฝนฟ้าคะนองที่มีการพาความร้อนลึกตามแนวขอบทางทิศตะวันตกของการไหลเวียนศูนย์กลางของพายุ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในเวลาต่อมา
  • วันที่ 26 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นชบาเป็นพายุที่มีขนาดใหญ่ที่ทอดยาวตั้งแต่ประเทศฟิลิปปินส์ไปจนถึงจังหวัดโอกินาวะ มีการจัดระเบียบได้อย่างดี และมีกำลังแรงในขณะที่เคลื่อนตัวผ่านทะเลฟิลิปปิน พายุตั้งอยู่ประมาณ 800 กิโลเมตร (500 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (85 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเวลา 11:50 น. (04:50 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
     
    พายุไต้ฝุ่นชบาหลังมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553
  • วันที่ 27 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุไต้ฝุ่นชบาถึงระดับความรุนแรงสูงสุดกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในเวลา 17:53 น. (10:53 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุไต้ฝุ่นชบาตั้งอยู่ประมาณ 440 กิโลเมตร (270 ไมล์) ทางตอนใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (125 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และทำให้เกิดคลื่นสูงเกือบประมาณ 7 เมตร พายุยังคงอยู่ในน่านน้ำเปิดของทะเลฟิลิปปิน และมีตาพายุที่อยู่ห่างออกไป 20 กิโลเมตร (10 ไมล์) แต่เมฆของพายุได้กระจายผ่านคาเดนาไปไกลถึงตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น และพายุยังคงมีกำลังแรงไว้เพราะอยู่ในบริเวณที่มีลมเฉือนในแนวตั้งต่ำ และมีการไหลออกที่ดี ขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้กระแสลมกรดบริเวณขั้วโลกทำให้แรงลมเฉือนแนวตั้งมากขึ้น และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) คาดการณ์ว่าพายุไต้ฝุ่นชบาจะอ่อนกำลังลงระหว่างเคลื่อนตัวไปยังประเทศญี่ปุ่น
  • วันที่ 28 ตุลาคม ตาพายุของพายุไต้ฝุ่นชบาทำให้นักพยากรณ์สามารถมองเห็นความรุนแรงของพายุได้ดี ดาวเทียมของนาซาได้บันทึกภาพอินฟราเรดของพายุ และแสดงให้เห็นตาพายุที่กว้าง 65 กิโลเมตร (40 ไมล์) ได้อย่างชัดเจน ซึ่งบ่งบอกถึงพายุลูกนี้มีกำลังแรงมาก ดาวเทียมของนาซาได้เคลื่อนตัวผ่านพายุไต้ฝุ่นชบา และเครื่องส่งเสียงอินฟราเรดบรรยากาศที่ได้บันทึกภาพอินฟราเรดไว้แสดงให้เห็นตาพายุของพายุได้อย่างชัดเจน อุณหภูมิของเมฆพายุฝนฟ้าคะนองที่มีอากาศเย็นอยู่ที่ประมาณ -52 องศาเซลเซียส ขณะที่พายุทำให้เกิดฝนตกหนักทางทะเลฟิลิปปินเมื่อเวลา 11:35 น. (04:35 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) เครื่องส่งเสียงอินฟราเรดบรรยากาศได้ให้ข้อมูลอินฟราเรดที่เกี่ยวกับอุณหภูมิของเมฆพายุไต้ฝุ่นชบาแก่นักพยากรณ์ของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) อุณหภูมิเหล่านั้นมีความสำคัญ เนื่องจากสามารถบอกนักพยากรณ์ได้ว่าพายุฝนฟ้าคะนองมีอุณหภูมิสูงมากเท่าใด พายุก็จะมีความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น ภารกิจวัดปริมาณน้ำฝนในเขตร้อนได้เคลื่อนตัวผ่านพายุไต้ฝุ่นชบา และเรดาร์ปริมาณน้ำฝนพบว่าพายุมีการจัดระเบียบได้เป็นอย่างดี และครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ที่มีฝนตกปานกลางกับฝนตกหนักมาก แต่ข้อมูลไม่ได้แสดงตาพายุได้อย่างชัดเจน และจุดศูนย์กลางของพายุได้ปรากฏให้เห็นแถบเมฆพายุฝนฟ้าคะนองอยู่บริเวณศูนย์กลางการไหลเวียนของพายุไต้ฝุ่นชบาเมื่อเวลา 18:04 น. (11:04 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุตั้งอยู่ประมาณ 240 กิโลเมตร (150 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 205 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (125 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และทำให้เกิดคลื่นสูงประมาณ 10 เมตร
  • วันที่ 30 ตุลาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ลดระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนเมื่อเคลื่อนตัวผ่านเข้าไปใกล้ประเทศญี่ปุ่น และส่วนเศษซากของพายุยังคงอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วในขณะที่เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ แต่มีกำลังแรงขึ้นอีกครั้งเมื่อเข้าใกล้คาบสมุทรอะแลสกาจนกลายเป็นพายุที่มีขนาดใหญ่โดยมีความเร็วลมต่อเนื่อง 10 นาทีที่ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (60 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศต่ำสุดกลางของ 940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วของปรอท) และจนกระทั่งสลายไปอย่างสมบูรณ์ในวันรุ่งขึ้น
  • วันที่ 1 พฤศจิกายน พายุหมุนนอกเขตร้อนได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งบริเวณใกล้กับคอร์โดวา รัฐอะแลสกา แต่ยังไม่ทันที่จะถึงแม่น้ำ ความชื้นในบรรยากาศก็เข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือฝั่งสหรัฐ และสร้างสถิติสำหรับวันที่ฝนตกในซีแอตเทิล

การเตรียมการ แก้

ประเทศญี่ปุ่น แก้

สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับสภาพอากาศเป็นจำนวนมาก เนื่องจากพายุไต้ฝุ่นชบากำลังเคลื่อนตัวมุ่งหน้าไปยังจังหวัดโอกินาวะ จึงทำให้มีความกังวลว่าพายุอาจมีลมแรงถึง 220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (140 ไมล์ต่อชั่วโมง) และเคลื่อนตัวมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือสู่หมู่เกาะอามามิเพราะเกาะเล็ก ๆ รอบหมู่เกาะอามามิฝนตกหนักเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย รองหัวหน้าสถานีตำรวจในจังหวัดคาโงชิมะได้รายงานบลูมเบิร์กเทเลวิชันว่า “เราตื่นตัวที่จะพร้อมอพยพผู้คนหากจำเป็น”[8] เที่ยวบินถูกยกเลิก และประชาชนหลาย 100 คน ขออพยพไปในที่พักพิงจากพายุไต้ฝุ่นชบา เนื่องจากพายุกำลังเคลื่อนตัวผ่านไปยังเกาะต่าง ๆ ทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น พายุอยู่ห่างจากหมู่เกาะอามามิไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 150 กิโลเมตร (95 ไมล์) และมีความเร็วลม 145 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (90 ไมล์ต่อชั่วโมง) ประชาชนอย่างน้อย 257 คน ในหมู่เกาะอามามิได้อพยพไปยังห้องโถงสาธารณะ และโรงเรียน เจ้าหน้าที่สายการบินที่ท่าอากาศยานอามามิได้ทำการยกเลิกเที่ยวบิน 19 เที่ยวบิน ทำให้ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสาร 390 คน[9]

ผู้อยู่อาศัยในหมู่เกาะอามามิได้รับการดูแลอย่างสูงจากดินถล่ม หลังจากถูกพายุซัดกระหน่ำเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งได้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่กว้าง และมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 ราย เคนอิจิโระ มาเอดะ เจ้าหน้าที่ของนครอามามิกล่าวว่า “พื้นที่ของพวกเราไม่ได้รับความเสียหายเพิ่มเติมใด ๆ แต่เรายังคงเรียกร้องให้ผู้อยู่อาศัยของเราอยู่ในการเฝ้าระวังเป็นพิเศษจนกว่าพายุไต้ฝุ่นชบาจะเคลื่อนตัวออกจากภูมิภาคนี้”[10] เจ้าหน้าที่สายการบินได้ทำการยกเลิกเที่ยวบินกว่า 160 เที่ยวบิน[11] และประชาชนทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นเริ่มเตรียมกระสอบทราย และเสริมความแข็งแรงของหน้าต่างเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับพายุไต้ฝุ่นชบาที่กำลังเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้[12]

ผลกระทบ แก้

ประเทศญี่ปุ่น แก้

 
ลมพัดต้นปาล์มที่ฐานทัพนาวิกโยธินสเมดลีย์ ดาร์ลิงตัน บัตเลอร์ ในขณะที่พายุไต้ฝุ่นชบากำลังเคลื่อนตัวพัดขึ้นฝั่งจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น

รัฐบาลนครอามามิเรียกร้องให้ประชาชนรับฟังผ่านระบบเสียงตามสายแบบไร้สายของชุมชนเพื่อหาที่หลบภัยก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ ยังใช้มาตรการป้องกันภัยพิบัติอื่น ๆ เช่น โรงเรียนประถมศึกษา และโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นทุกแห่งได้ทำการหยุดการเรียนการสอน และวางกระสอบทรายในบริเวณที่โดนโคลนถล่มก่อนหน้านี้ พายุฝนฟ้าคะนองถล่มเมืองทำให้บ้านเรือนประมาณ 500 หลัง ได้ประสบปัญหาไฟฟ้าดับ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 5 ราย ในจังหวัดโอกินาวะ เกาะมินะมิไดโตมีการบันทึกความเร็วลมสูงสุดที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (100 ไมล์ต่อชั่วโมง) และเกาะโอกิโนเอราบุ ซึ่งเป็นหนึ่งในหมู่เกาะอามามิได้มีการบันทึกความเร็วลมสูงสุดที่ 95 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (60 ไมล์ต่อชั่วโมง) ตามหน่วยงานได้รายงานว่าคลื่นสูงมากกว่า 6 เมตร จะยังคงอยู่จนถึงคืนวันศุกร์ในนครอามามิ และส่วนหนึ่งของจังหวัดคาโงชิมะ นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์อีกว่าจะมีคลื่นสูงในวันที่ 30 ตุลาคม ตามแนวชายฝั่งทางตะวันตก และทางตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น

พายุไต้ฝุ่นชบาเริ่มลดระดับลงจากความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นกลายเป็นพายุโซนร้อน และอยู่ห่างจากโตเกียวไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 440 กิโลเมตร (275 ไมล์) เมื่อเวลา 10:40 น. (03:40 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือด้วยความเร็วลมอยู่ที่ 35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (20 ไมล์ต่อชั่วโมง) และกำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้โตเกียวโดยผ่านจากคาบสมุทรโบโซไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 200 กิโลเมตร (125 ไมล์) พายุโซนร้อนชบาเริ่มอ่อนกำลังลงในขณะที่เคลื่อนตัวมุ่งหน้าไปยังทางตอนใต้ของโตเกียว และพายุฝนฟ้าคะนองได้พัดถล่มเมือง จึงทำให้กิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการแข่งม้าต้องถูกยกเลิก[13]

การถอนออกจากรายชื่อ แก้

ชื่อ กาตริง ถูกถอนชื่อออกจากรายชื่อพายุของฟิลิปปินส์โดยปากาซา และอาจเป็นเพราะชื่อนี้ถูกใช้หลายครั้ง ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหาย และทำลายล้างในส่วนของเกาะลูซอนในปี พ.ศ. 2530 และในปี พ.ศ. 2537 ชื่อนี้ก็ถูกแทนที่ด้วยชื่อ คนอร์ ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งเนื่องจากเป็นชื่อของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอื้อฉาวทางเพศที่แพร่ระบาดเมื่อไม่กี่ปีก่อน และปากาซาได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น การ์ดิง ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2557[14]

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. "ชบา" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 4 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  2. พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "กาตริง" (23 ถึง 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
  3. ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  4. ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ – กองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งจะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคอื่น ๆ[6]
  5. กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[7]

อ้างอิง แก้

  1. "Typhoon Chaba". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2023-10-25. สืบค้นเมื่อ 25 October 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "Typhoon Chaba". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2010-10-27. สืบค้นเมื่อ 27 October 2010.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "Typhoon Chaba". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2010-10-29. สืบค้นเมื่อ 29 October 2010.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. Staff Writer (2010-10-30). "Strong typhoon approaches rain-hit Amami region - The Mainichi Daily News" (ภาษาอังกฤษ). The Mainichi Daily News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-30. สืบค้นเมื่อ 31 October 2010.
  5. Hur, Jae (2010-10-29). "Chaba Weakens Over Japan, Downgraded to Tropical Storm as It Nears Tokyo" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 30 October 2010.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "Joint Typhoon Warning Center Mission Statement". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  7. "Annual Report on Activities of the RSMC Tokyo – Typhoon Center 2000" (PDF). Japan Meteorological Agency. February 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  8. Ballion, Susan (2010-10-31). "Japan issues weather warnings" (ภาษาอังกฤษ). InsideJapan Tours. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-25. สืบค้นเมื่อ 29 October 2010.
  9. Staff Writer. "Strong typhoon heading toward disaster-struck Amami islands" (ภาษาอังกฤษ). THE MAINICHI NEWSPAPERS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-31. สืบค้นเมื่อ 29 October 2010.
  10. "Japan evacuates islands as typhoon nears". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). 2010-10-29. สืบค้นเมื่อ 29 October 2010.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "More than 160 flights cancelled as Typhoon Chaba heads for Okinawa" (ภาษาอังกฤษ). MediaCorp Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 29 October 2010.
  12. "Strong typhoon churns toward Japan - Hindustan Times" (ภาษาอังกฤษ). Agence France-Presse. 2010-10-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-31. สืบค้นเมื่อ 31 October 2010.
  13. "Chaba Weakens, Downgraded to Tropical Storm as It Nears Tokyo". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 2010-10-30. สืบค้นเมื่อ 2023-10-25.
  14. Speta, Robert (2014-09-02). "What is a Typhoon Name? PAGASA Censors "Kanor"". Western Pacific Weather (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-10. สืบค้นเมื่อ 24 January 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้