พายุโซนร้อนกำลังแรงขนุน (พ.ศ. 2555)

พายุโซนร้อนกำลังแรงในมหาสมุทรแปซิฟิกในปี พ.ศ. 2555

พายุโซนร้อนกำลังแรงขนุน (อักษรโรมัน: Khanun)[nb 1] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุโซนร้อนเอนเตง (ตากาล็อก: Enteng)[nb 2] เป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศเกาหลีในรอบ 2 ปี ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกวม กลุ่มพายุฝนฟ้าคะนองขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับระดับต่ำสุดในทางตอนบนที่ทำให้เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำที่มีกำลังแรงเล็กน้อย แกนลมเย็นแยกออกจากข้างล่างแกนอบอุ่นต่ำ และการพาความร้อนของแกนอบอุ่นต่ำเริ่มก่อตัวขึ้น จึงทำให้พายุทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และพายุโซนร้อนกำลังแรงในวันรุ่งขึ้น เนื่องจากศูนย์กลางของพายุกำลังเคลื่อนตัวผ่านโอกิโนเอราบูจิมะทำให้พายุโซนร้อนกำลังแรงขนุนอ่อนกำลังลงกลายเป็นพายุโซนร้อน ก่อนที่จะเคลื่อนตัวผ่านจังหวัดเชจู พายุอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนใกล้เขตปลอดทหารเกาหลีในช่วงเช้าของวันที่ 19 กรกฎาคม และกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนในวันเดียวกัน[1]

พายุโซนร้อนกำลังแรงขนุน
พายุโซนร้อนเอนเตง
พายุโซนร้อนกำลังแรงขนุนขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
ก่อตัว14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
นอกเขตร้อน19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
สลายตัว20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
พายุโซนร้อนกำลังแรง
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA)
ความเร็วลมสูงสุด95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 29.09 นิ้วปรอท
พายุโซนร้อน
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD)
ความเร็วลมสูงสุด95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 29.09 นิ้วปรอท
พายุโซนร้อน
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC)
ความเร็วลมสูงสุด95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 28.94 นิ้วปรอท
ผลกระทบ
ผู้เสียชีวิต89 ราย
ความเสียหาย$11.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงินปี พ.ศ. 2555 USD)
พื้นที่ได้รับผลกระทบเกาหลีใต้, เกาหลีเหนือ, ญี่ปุ่น,
หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
IBTrACS

ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2555

พายุโซนร้อนกำลังแรงขนุนได้คร่าชีวิตผู้คนอย่างน้อย 1 ราย ในประเทศเกาหลีใต้ ขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวอยู่ในประเทศเกาหลีเหนือ สื่อของรัฐได้รายงานว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 ราย ในจังหวัดคังว็อน และมีรายงานผู้เสียชีวิตรายที่ 8 ซึ่งอยู่ที่อื่น ๆ พายุลูกนี้ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก เช่น บ้านเรือนประมาณ 650 หลัง อาคารสาธารณะ 30 แห่ง ทางรถไฟ ถนน สะพาน และระบบต่าง ๆ ได้รับความเสียหาย น้ำท่วมบ้านเรือนประมาณ 3,870 หลัง ส่งผลให้ผู้คนประมาณ 16,250 คน ไร้ที่อยู่อาศัย[2]

รัฐบาลประเทศเกาหลีเหนือได้รายงานเพิ่มจำนวนผู้เสียชีวิตประมาณ 88 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกประมาณ 134 ราย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม การสูญเสียชีวิตครั้งใหญ่ที่สุด คือ จังหวัดพย็องอันใต้ น้ำท่วมครั้งนี้ทำให้ประชาชนอย่างน้อย 63,000 คน ไร้ที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 30,000 เฮกตาร์ จมอยู่ใต้น้ำ อาคารสาธารณะประมาณ 300 แห่ง และโรงงาน 60 แห่ง ได้รับความเสียหายระหว่างเกิดพายุ[3] ความเสียหายโดยรวมประมาณ 11.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 3]

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา

แก้
 
แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
  พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
  พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน
 
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุโซนร้อนกำลังแรงขนุน

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุโซนร้อนกำลังแรงขนุน

  • วันที่ 12 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นบริเวณทางตะวันตกเฉียงเหนือของกวม
  • วันที่ 14 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC)[nb 4] ได้เริ่มติดตามพื้นที่การหมุนเวียนที่มีต้นกำเนิดมาจากระดับต่ำที่ไม่ใช่พายุดีเปรสชันเขตร้อน เนื่องจากอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกวมไปประมาณ 780 กิโลเมตร (485 ไมล์) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมเริ่มมีการประเมินศักยภาพการพัฒนาภายใน 24 ชั่วโมง ข้างหน้าว่าอยู่ในระดับต่ำเมื่อเวลา 02:30 น. (19:30 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ยกระดับศักยภาพการพัฒนาเพิ่มเติมภายใน 24 ชั่วโมง ข้างหน้าเป็นระดับปานกลางโดยมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลอยู่ที่ประมาณ 32 องศาเซลเซียส เมื่อเวลา 01:00 น. (18:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[nb 5] ได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และพายุตั้งอยู่ในสภาวะที่เอื้ออำนวย เนื่องจากการพาความร้อนพัดแผ่กระจายไปทางทิศตะวันออกของการไหลเวียนระดับต่ำที่ยืดเยื้อ
  • วันที่ 15 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนเมื่อเวลา 11:30 น. (04:30 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) เนื่องจากอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอิโวะจิมะไปประมาณ 435 กิโลเมตร (270 ไมล์) การหมุนเวียนของพายุยังคงเคลื่อนตัวต่อไป และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และกำหนดหมายเลขอย่างเป็นทางการว่า 08W เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 16 กรกฎาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อน และกำหนดให้ชื่อว่า ขนุน เมื่อเวลา 13:00 น. (06:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) การหมุนเวียนระดับต่ำยังคงรวมเข้าด้วยกัน และต่อมาอีกไม่นานศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนเช่นกันเมื่อในเวลา 19:00 น. (12:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) เนื่องจากอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของฐานทัพอากาศคาเดนาไปประมาณ 685 กิโลเมตร (425 ไมล์) พายุเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้กำหนดชื่อท้องถิ่นว่า เอนเตง ในเวลาสั้น ๆ ก่อนที่พายุจะเคลื่อนตัวออกจากพื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ไป
  • วันที่ 17 กรกฎาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ขณะที่ศูนย์กลางของพายุกำลังเคลื่อนตัวผ่านโอกิโนเอราบูจิมะ และตาพายุที่อ่อนแอปรากฏขึ้นบนภาพถ่ายไมโครเวฟเมื่อเวลา 18:00 น. (11:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุโซนร้อนกำลังแรงขนุนได้เคลื่อนตัวเข้าใกล้จังหวัดโอกินาวะมากที่สุดอยู่ที่ประมาณ 155 กิโลเมตร (100 ไมล์) มีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 95 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (60 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 6] และความกดอากาศที่ 985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วของปรอท) เมื่อเวลา 01:00 น. (18:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 18 กรกฎาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ลดระดับพายุโซนร้อนกำลังแรงให้กลายเป็นพายุโซนร้อน ขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดเชจู และขึ้นฝั่งจังหวัดชุงช็องใต้เมื่อเวลา 04:00 น. (21:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 19 กรกฎาคม พายุโซนร้อนขนุนได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนในขณะที่กำลังเคลื่อนตัวผ่านประเทศเกาหลี หลังจากนั้นไม่นานพายุก็สลายไปในวันรุ่งขึ้น

ผลกระทบ

แก้

ประเทศเกาหลีใต้

แก้

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ก่อนที่พายุโซนร้อนกำลังแรงขนุนจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งในประเทศเกาหลีใต้ทำให้เที่ยวบิน 2 เที่ยวบิน จากอินช็อนไปยังมะนิลาถูกยกเลิก นอกจากนี้ เที่ยวบินประมาณ 90 เที่ยวบิน ที่เข้าออกจากท่าอากาศยานนานาชาติเชจูได้ถูกยกเลิกตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และเรือโดยสารประมาณ 115 ลำ ที่เชื่อมระหว่างเกาะต่าง ๆ ในทะเลทางตอนใต้ก็ถูกยกเลิกเช่นกัน ขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก และตอนกลางของคาบสมุทรเกาหลี ตามแนวชายฝั่งทางตะวันตกของจังหวัดเชจูได้มีการออกคำแนะนำเรื่องลมแรง และฝนตกหนักสำหรับภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ ยังมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ซึ่งผู้หญิงวัย 83 ปี เสียชีวิต เนื่องจากพายุฝนฟ้าคะนองทำให้บ้านเรือนพังทลายในจังหวัดคย็องซังเหนือ[6]

 
พายุโซนร้อนขนุนกำลังจะกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนที่ปกคลุมอยู่ประเทศเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พายุลูกนี้ทำให้ภัยแล้งรุนแรงสิ้นสุดลง เนื่องจากประเทศประสบปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ฝนตกหนักอยู่ในจังหวัดเชจู และทางตะวันตกของประเทศเกาหลีใต้ จึงทำให้การจราจรติดขัด ไม่สะดวกแก่สัญจรไปมา และมีการบันทึกปริมาณน้ำฝนได้ประมาณ 40 มิลลิเมตร (1.6 นิ้ว) ในเมืองซุนชอนมีรายงานปริมาณน้ำฝนสะสมรวม 135 มิลลิเมตร (5.3 นิ้ว) ในช่วงวันที่ 18 กรกฎาคม ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม[7] พายุลูกนี้ทำให้บ้านเรือนประมาณ 26,000 หลัง ไม่มีไฟฟ้าใช้ชั่วคราว และมูลค่าความเสียหายทั่วประเทศอยู่ที่ 1.5 พันล้านวอน (11.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[8]

ประเทศเกาหลีเหนือ

แก้

สื่อของรัฐในประเทศเกาหลีเหนือได้รายงานว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 ราย ในจังหวัดคังว็อน และมีรายงานผู้เสียชีวิตรายที่ 8 ซึ่งอยู่ที่อื่น ๆ พายุลูกนี้ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก เช่น บ้านเรือนประมาณ 650 หลัง อาคารสาธารณะ 30 แห่ง ทางรถไฟ ถนน สะพาน และระบบต่าง ๆ ได้รับความเสียหาย น้ำท่วมบ้านเรือนประมาณ 3,870 หลัง ส่งผลให้ผู้คนประมาณ 16,250 คน ไร้ที่อยู่อาศัย รัฐบาลประเทศเกาหลีเหนือได้รายงานเพิ่มจำนวนผู้เสียชีวิตประมาณ 88 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกประมาณ 134 ราย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม การสูญเสียชีวิตครั้งใหญ่ที่สุด คือ จังหวัดพย็องอันใต้ น้ำท่วมครั้งนี้ทำให้ประชาชนอย่างน้อย 63,000 คน ไร้ที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 30,000 เฮกตาร์ จมอยู่ใต้น้ำ อาคารสาธารณะประมาณ 300 แห่ง และโรงงาน 60 แห่ง ได้รับความเสียหายระหว่างเกิดพายุ ประชาชนจะมีความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นว่าจะเกิดภาวะอดอยากอีกครั้งในประเทศเกาหลีเหนือ[9]

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม เจ้าหน้าที่สหประชาชาติได้ลงพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมในจังหวัดพย็องอันใต้ และจังหวัดคังว็อน ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ฝนตกหนักต่อเนื่องทางตะวันตกของประเทศเกาหลีเหนือรวมถึงเปียงยางด้วย และสื่อทางการของประเทศเกาหลีเหนือได้รายงานว่านายกรัฐมนตรีโช ย็อง-ริม ได้มาเยือนเมืองที่ถูกน้ำท่วม และหารือถึงแนวทางที่จะช่วยฟื้นฟู รัฐบาลประเทศเกาหลีเหนือได้ร้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานสหประชาชาติประจำถิ่นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม รัฐบาลประกาศว่ายอดผู้เสียชีวิตจากพายุโซนร้อนกำลังแรงขนุน และฝนตกหนัก ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมได้เพิ่มขึ้นประมาณ 169 ราย และสูญหายอีกประมาณ 400 ราย บ้านเรือนอย่างน้อย 8,600 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก และบ้านเรือนอีกประมาณ 44,000 หลัง ได้ถูกน้ำท่วม ส่งผลให้ผู้คนมากกว่า 212,200 คน ไร้ที่อยู่อาศัย[10]

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. "ขนุน" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 5 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  2. พายุโซนร้อน "เอนเตง" (16 ถึง 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
  3. ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2555 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  4. ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ – กองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งจะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคอื่น ๆ[4]
  5. สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[5]
  6. ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ

อ้างอิง

แก้
  1. "Rain-battered Japan braces for arrival of typhoon" (ภาษาอังกฤษ). Taipei Times. 2012-07-18. สืบค้นเมื่อ 18 July 2012.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "Tropical Storm Khanun kills at least 7 in North Korea" (ภาษาอังกฤษ). BNO News. 2012-07-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2012. สืบค้นเมื่อ 25 July 2012.
  3. "Scores killed in North Korea floods" (ภาษาอังกฤษ). Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 29 July 2012.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "Joint Typhoon Warning Center Mission Statement". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  5. "Annual Report on Activities of the RSMC Tokyo – Typhoon Center 2000" (PDF). Japan Meteorological Agency. February 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  6. Annual Global Climate and Catastrophe Report Impact Forecasting—2012 (PDF) (Report). AON. 2013-01-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-11-27. สืบค้นเมื่อ 1 August 2013.
  7. RSMC Tropical Cyclone Advisory 190000 (Report). Japan Meteorological Agency. 2012-07-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-31. สืบค้นเมื่อ 18 October 2023.
  8. "Typhoon Khanun passes central Korea, causing damage" (ภาษาอังกฤษ). The Korea Times. 2012-07-19. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "UN visits North Korea to see flood-damaged areas" (ภาษาอังกฤษ). Huffington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-09. สืบค้นเมื่อ 31 July 2012.
  10. "WFP sends emergency food aid to North Korea after floods kill 169" (ภาษาอังกฤษ). BNO News. 2012-08-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2013. สืบค้นเมื่อ 5 August 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้