ฉบับร่าง:พระเทพวชิรเมธาจารย์ (บุญร่วม อตฺถกาโม)
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ G789G (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 3 เดือนก่อน (ล้างแคช) |
พระเทพวชิรเมธาจารย์ (บุญร่วม อตฺถกาโม) | |
---|---|
ชื่ออื่น | เจ้าคุณพระมหาบุญร่วม ป.ธ.9 |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มิถุนายน |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
การศึกษา | น.ธ.เอก,ป.ธ.9 |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร |
ตำแหน่ง | เจ้าคณะภาค 11 (ธรรมยุต) เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร |
พระเทพวชิรเมธาจารย์ (บุญร่วม อตฺถกาโม) ป.ธ.๙ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ภูมิลำเนาเดิมชาวอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการเป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร[1] กรุงเทพมหานคร และเจ้าคณะภาค 11 (ธรรมยุต)
ประวัติ
แก้พระเทพวชิรเมธาจารย์ (บุญร่วม อตฺถกาโม) ป.ธ.๙[2] ภูมิลำเนาเดิมชาวอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เกิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน มีพี่น้องร่วมอุทร คือ พระครูปลัดบุญเรียบ สุรกฺโข เจ้าอาวาสวัดระหาน (เกาะแก้วธุดงคสถาน) อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นพระพี่ชาย การศึกษาของท่านเรียนจบการศึกษาสูงสุดทางธรรม-บาลีของคณะสงฆ์ประเทศไทย นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม ๙ ประโยค สำนักเรียนวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร [3] ท่านมีตำแหน่งทางการปกครองบริหารกิจการคณะสงฆ์ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าคณะแขวงปทุมวัน (ธรรมยุต) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นพระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร[4] กรุงเทพมหานคร และได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะภาค 11 (ธรรมยุต)[5]
ลำดับสมณศักดิ์
แก้- พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็น เปรียญธรรม ๙ ประโยค มหาเถรสมาคมจัดลำดับชั้นพัดยศสมณศักดิ์ ที่ พระมหาบุญร่วม อตฺถกาโม ป.ธ.9
- ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระศรีวิสุทธาภรณ์ [6]
- ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชสุมนต์มุนี ตรีปิฎกบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
- ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพวชิรเมธาจารย์[8] ไพศาลศาสนกิจดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ "พระราชินี ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม". thaitv5hd.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ ข่าวสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม และวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม, สืบค้นเมื่อ 2024-03-22
- ↑ "ทำเนียบเปรียญธรรม 9 ประโยค ประเทศไทย มหาบาลีวิชชาลัย". maha9.mahapali.com.
- ↑ "มหาเถรสมาคม The Sangha Supreme Council of Thailand". www.mahathera.org.
- ↑ "พระบัญชาแต่งตั้ง เจ้าคณะภาคทั่วประเทศ 2 นิกาย 28 รูป "เจ้าคุณมีชัย" คุมคณะภาค 1". www.thairath.co.th. 2021-05-13.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๒๑, ตอนที่ ๒๕ ข, ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๗, หน้า ๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๓๓, ตอนที่ ๔๓ ข, ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙, หน้า ๕
- ↑ chanhena, Bandit. "โปรดเกล้าฯสถาปนา 6 รองสมเด็จฯ-ตั้งสมณศักดิ์ 91 พระเถระ". เดลินิวส์.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ , เล่ม ๑๔๐, ตอนที่ ๒๗ ข, ๒๙ มิ.ย. ๒๕๖๖, หน้า ๗