พระเจ้าโมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์

พระเจ้าโมฮัมหมัด ซาเฮียร์ ชาห์ (ปาทาน/ดารี: محمد ظاهر شاه ; 15 ตุลาคม พ.ศ. 2457 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน ครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 จนกระทั่งทรงสละราชสมบัติในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516[1] ในรัชสมัยของพระองค์มีการเจริญความสัมพันธไมตรีกับหลายนานาชาติ และสานสัมพันธไมตรีกับประเทศในสงครามเย็นทั้งสองฝ่าย[2] ในรัชสมัยของพระองค์มีการพัฒนาชาติให้ทันสมัยและเจริญรุ่งเรือง และได้ปกครองโดยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ก่อนจะถูกปฏิวัติในเวลาต่อมา

พระเจ้าโมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์
محمد ظاهر شاه
พระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ใน พ.ศ. 2506
พระมหากษัตริย์อัฟกานิสถาน
ครองราชย์8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516
ราชาภิเษก8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479
ก่อนหน้าพระเจ้าโมฮัมหมัด นาดิร ชาห์
ถัดไปสิ้นสุดระบอบกษัตริย์
โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน
(ประธานาธิบดี)
ประมุขราชวงศ์บารักไซ
ครองราชย์8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ก่อนหน้าพระเจ้าโมฮัมหมัด นาดิร ชาห์
ถัดไปเจ้าชายอาหมัด ชาห์ ข่าน มกุฎราชกุมารแห่งอัฟกานิสถาน
ประสูติ15 ตุลาคม พ.ศ. 2457
คาบูล, เอมิเรตส์แห่งอัฟกานิสถาน
สวรรคต23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 (82 ปี)
คาบูล, อัฟกานิสถาน
ฝังพระศพ24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
เขามารันจัน
คู่อภิเษกสมเด็จพระราชินีฮุไมรา เบกุมแห่งอัฟกานิสถาน
พระราชบุตร8 พระองค์
ราชวงศ์บารักไซ
พระราชบิดาพระเจ้าโมฮัมเหม็ด นาดิร ชาห์
พระราชมารดามาร์ ปะวาห์ เบกุม
ศาสนาศาสนาอิสลามนิกายซุนนี

ระหว่างที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศอิตาลี พระองค์ถูกล้มล้างราชวงศ์จากการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2516 ซึ่งนำโดยพระญาติของพระองค์คือ โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน และเปลี่ยนระบอบเป็นสาธารณรัฐ[3] พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงโรม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2545 พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศอัฟกานิสถานหลังจากสิ้นสุดการปกครองของตาลีบัน พระองค์ถูกขนานนามว่าบิดาแห่งอัฟกานิสถาน และดำรงสถานะดังกล่าวจนกระทั่งเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2550[4]

พระชนม์ชีพช่วงต้น แก้

พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2457 ที่กรุงคาบูล ราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าโมฮัมเหม็ด นาดิร ชาห์ และมาร์ ปะวาห์ เบกุม พระองค์ทรงเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนฮาบิเบีย และจากนั้นก็ศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอะมานียะฮ์ (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมิซเตกีร์[5]) ต่อมาพระองค์ทรงศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหารในฤดูหนาว จากนั้นพระองค์ถูกส่งไปที่ฝรั่งเศสเพื่ออบรมหลักสูตรเพิ่มเติม และพระองค์จึงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศสซึ่งพระราชบิดาของพระองค์ประทับที่นั่น โดยทรงศึกษาที่สถาบันปาสเตอร์ มหาวิทยาลัยมงต์แปลิเออร์[6]

กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งอัฟกานิสถาน แก้

หลังพระเจ้าโมฮัมเหม็ด นาดิร ชาห์ถูกลอบปลงพระชนม์ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ขณะที่ยังทรงมีพระชนมพรรษาได้ 19 พรรษา พระองค์มิได้ทรงมีพระราชอำนาจในการบริหารประเทศตั้งแต่เริ่ม โดยอำนาจอยู่ที่พระราชปิตุลาของพระองค์คือ โมฮัมหมัด นาซิน ข่านและชาห์ มามูด ข่าน ซึ่งทั้งสองต่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในรัชสมัยของพระองค์มีการสร้างความสัมพันธ์กับนานาชาติทั่วโลก และได้เข้าร่วมองค์การสันนิบาตชาติซึ่งได้รับการยอมรับจากสหรัฐ[7] ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1930 อัฟกานิสถานได้บรรลุข้อตกลงจากหลายนานาชาติในการได้รับความช่วยเหลือและค้าขายกับนานาประเทศ โดยเฉพาะย่างยิ่งกับฝ่ายอักษะ ซึ่งนำโดยนาซีเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น[8]

แม้จะมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับฝ่ายอักษะ แต่พระองค์ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองโดยวางตัวเป็นกลาง หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง อัฟกานิสถานก็เกิดเหตุชุลมุนวุ่นวายและเกิดวิกฤตการณ์การเมืองอย่างตึงเครียด พระองค์จึงทรงปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยขึ้น[9] แต่การพัฒนาประเทศนั้นก็หยุดชะงักลงอย่างต่อเนื่องอันมาจากลัทธิฝักใฝ่ฝ่ายต่าง ๆ และความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงสงครามเย็น[10] ทั้งนี้พระองค์ยังเคยทรงขอความช่วยเหลือจากสหรัฐและสหภาพโซเวียต และอัฟกานิสถานเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่ได้รับความช่วยเหลือจากทั้งสองฝ่ายในสงครามเย็น[11] พระองค์ทรงตรัสว่าแม้ท่านจะไม่ใช่ทุนนิยม แต่ก็มิได้ต้องการเป็นสังคมนิยมแต่อย่างใด เนื่องจากมิทรงต้องการให้อัฟกานิสถานอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียตและประเทศจีนหรือประเทศใดๆ ก็ตาม[12]

พระองค์ทรงมีพระราชอำนาจอย่างเต็มตัวใน พ.ศ. 2506 แม้จะเกิดความขัดแย้งทางการเมือง แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรอัฟกานิสถานได้ถูกนำมาใช้ใน พ.ศ. 2507 ซึ่งทำให้อัฟกานิสถานเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีรัฐสภา และมีการเลือกตั้ง และยังให้สิทธิสตรีอีกด้วยซึ่งทำให้อัฟกานิสถานเจริญเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี ด้วยระบอบการปกครองที่ไม่เสถียร ประกอบกับการปฏิรูปประเทศที่ล้มเหลวของพระองค์ หลายฝ่ายจึงมองว่านี่คืออีกสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการปฏิวัติในประเทศขึ้นมาในปี พ.ศ. 2516 และยังถูกปฏิวัติซ้ำเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2519[13]

หลังการล้มล้างราชวงศ์ พระองค์ได้เสด็จลี้ภัยอยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลีเป็นเวลาหลายปี และหลังจากอัฟกานิสถานสิ้นสุดการปกครองโดยตาลีบัน 4 เดือน พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับสู่อัฟกานิสถานในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2545 โดยประทับบนเครื่องบินของกองทัพอิตาลี และประธานาธิบดีฮามิด กาไบ ได้ไปเฝ้าฯรับเสด็จพระองค์ที่สนามบินกรุงคาบูล[14] พระองค์ยังทรงได้รับการต้อนรับอย่างดีจากชาวอัฟกัน และพระองค์ยังทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของทุกกลุ่มชาติพันธุ์ภายในประเทศ[15][16] โดยผู้แทนส่วนมากในสภาโลยา เจอร์กา ต่างเสนอให้มีการฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์ขึ้นมาใหม่[17] ทว่าพระองค์กลับมิทรงปรารถนาที่จะฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ขึ้นมาอีก[18]

สวรรคต แก้

ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 พระเจ้าโมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์ เสด็จสวรรคตที่พระตำหนักบริเวณทำเนียบประธานาธิบดีอัฟกานิสถานหลังจากทรงพระประชวรมาเป็นเวลายาวนาน[19] โดยการสวรรคตของพระองค์ถูกแถลงการณ์โดยประธานาธิบดีฮามิด กาไบ[20] โดยเขากล่าวว่า "พระองค์ทรงเป็นผู้รับใช้ประชาชน ทรงเป็นผู้ที่เชื่อมั่นในการปกครองที่ยึดตามหลักสิทธิมนุษยชน"[21] พิธีพระบรมศพของพระองค์ถูกจัดขึ้นในวันที่ 24 กรกฎาคม ปีเดียวกัน โดยฝังพระบรมศพของพระองค์ไว้ที่สุสานหลวงบนเนินเขามะรันจัน ทางทิศตะวันออกของกรุงคาบูล[22]

พระบรมราชอิสริยยศ แก้

พระยศของ
โมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์แห่งอัฟกานิสถาน
 
Reference styleฮิสมาเจสตี
การทูลใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

ขณะพระองค์ทรงครองราชย์ทรงดำรงพระบรมราชอิสรริยศเป็น ฮิสมาเจสตี โมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์แห่งอัฟกานิสถาน.[23]

อ้างอิง แก้

  1. "Profile: Ex-king Zahir Shah". 1 October 2001 – โดยทาง news.bbc.co.uk.
  2. *C-SPAN: Afghan King & Queen 1963 Visit to U.S. Reel America Preview (official U.S. government video; public domain).
  3. "State funeral for Afghanistan's former President". UNAMA. 19 March 2009.
  4. Encyclopædia Britannica, "Mohammad Zahir Shah"
  5. "Lycee Esteqlal". World News.
  6. "Mohammad Zahir Shah, 92, Last King of Afghanistan". The New York Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-08.
  7. Jentleson, Bruce W.; Paterson, Thomas G. (1997). "Encyclopedia of U.S. foreign relations". The American Journal of International Law. Oxford University Press: 24. ISBN 0-19-511055-2.
  8. Dupree, Louis: Afghanistan, pages 477–478. Princeton University Press, 1980
  9. "Profile: Ex-king Zahir Shah". BBC. 1 October 2001. สืบค้นเมื่อ 1 February 2008.
  10. Judah, Tim (23 September 2001). "Profile: Mohamed Zahir Shah". The Observer. สืบค้นเมื่อ 1 February 2008.
  11. Steyn, Mark (6 October 2001). "The man who would be king, if you don't mind". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
  12. "Before Taliban". publishing.cdlib.org. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
  13. "The Letter From the Afghan King" – โดยทาง www.washingtonpost.com.
  14. "April 18, 2002: Zahir Shah returns to Afghanistan after 29-year exile". Gulf News. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
  15. "Afghanistan: Afghans Welcome Former King's Return". RadioFreeEurope/RadioLiberty. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
  16. "No ordinary homecoming". BBC News. 17 April 2002. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
  17. Bearak, Barry (24 July 2007). "Mohammad Zahir Shah, Last Afghan King, Dies at 92". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
  18. Bearak, Barry (24 July 2007). "Mohammad Zahir Shah, Last Afghan King, Dies at 92". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
  19. Bearak, Barry (24 July 2007). "Mohammad Zahir Shah, Last Afghan King, Dies at 92". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
  20. Barry Bearak, "Former King of Afghanistan Dies at 92", The New York Times, 23 July 2007.
  21. AP Archive (21 July 2015). "President Karzai announcing death of King Zahir Shah". สืบค้นเมื่อ 8 March 2019 – โดยทาง YouTube.
  22. "Afghanistan's King Mohammad Zahir Shah Laid to Rest", Associated Press (Fox News), 24 July 2007.
  23. "Foreign Relations of the United States Diplomatic Papers, 1934, Europe, Near East and Africa, Volume II - Office of the Historian". history.state.gov.