พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2355 — 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2423) มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ายุคันธร เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก[1]

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายุคันธร กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ
ประสูติ29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2355
สิ้นพระชนม์31 กรกฎาคม พ.ศ. 2423 ( 67 ปี)
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลยุคันธร
พระบิดาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์
พระมารดาเจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก

พระประวัติ แก้

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 12 แรม 11 ค่ำ ปีวอก จัตวาศก จ.ศ. 1174 ตรงกับวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2355 มีพระเชษฐาร่วมพระมารดา คือ พระองค์เจ้าฤกษ์ (ต่อมาคือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์) และ พระองค์เจ้าสาททิพากร ในรัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 13 ค่ำ ปีเถาะ นพศก จ.ศ. 1229 ตรงกับวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2410 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันเสาร์ เดือน 8 อุตราษาฒ แรม 10 ค่ำ ปีมะโรง โทศก จ.ศ. 1242 ตรงกับวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2423 พระชันษา 67 ปี

พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุลยุคันธร[2] ทรงมีพระโอรสและพระธิดา ดังนี้

  1. หม่อมเจ้าอุทัย ยุคันธร (ประสูติ พ.ศ. 2381 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2467 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2469)
  2. หม่อมเจ้าหญิงลมัย ยุคันธร (ประสูติ พ.ศ. 2381)
  3. หม่อมเจ้าแฉ่ง ยุคันธร
  4. หม่อมเจ้าหญิงเสงี่ยม ยุคันธร (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2451)

ทายาทรุ่นสุดท้ายของราชสกุล ยุคันธร ได้แก่ หม่อมหลวงสุหร่าย ยุคันธร (ภาวิไล) มารดาของ ศาสตราจารย์ระวี ภาวิไล

พระกรณียกิจ แก้

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ ได้ทรงกำกับกรมทหารช่างเมืองญวน ในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นสภาที่ปฤกษาในพระองค์ หรือ ปรีวีเคาน์ซิล มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาส่วนพระองค์ สืบสวนข้อเท็จจริงในราชการต่างๆ เพื่อกราบบังคมทูลและถวายความเห็นให้ทรงทราบ สอดส่องเหตุการณ์สำคัญในบ้านเมือง รวมไปถึงการชำระความฎีกาที่มีผู้นำมาถวาย[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2015-05-24.
  2. กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ วังหน้า-วังหลัง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2549. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-204-4
  3. จีรวัฒน์ ครองแก้ว. องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน. กรุงเทพ : มูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, พ.ศ. 2550. 269 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7362-09-1