พระลบ หรือในรามายณะเรียกว่า พระลวะ (อังกฤษ: Lava สันสกฤต: लव) [1] เป็นแฝดผู้น้องของ พระมงกุฎ ราชโอรสพระองค์เล็กของ พระราม และ นางสีดา[2] เรื่องของพระลบถูกกล่าวถึงในวรรณกรรมฮินดู เรื่อง รามายณะ หรือ รามเกียรติ์ ว่ากันว่าพระลบมีผิวสีขาวทองเหมือนนางสีดา ในขณะที่พระมงกุฎมีผิวสีดำเหมือนพระบิดา

พระลบ
Lava
พระลบ พระราชโอรสของ พระราม และ นางสีดา
ชื่อในอักษรเทวนาครีलव
คัมภีร์รามายณะ หรือ รามเกียรติ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
อาศรมของฤๅษีวาลมิกิ, พรหมวัต, โกศล (ปัจจุบันคือ Bithoor, รัฐอุตตรประเทศ, ประเทศอินเดีย)
บิดา-มารดา
พี่น้องพระมงกุฎ
ราชวงศ์ราชวงศ์รฆุ-อิกษวากุ

ประวัติ แก้

 
ฤๅษีวาลมิกิสอนพระมงกุฏ พระลบยิงธนู
 
ฤๅษีวาลมิกิสอนรามายณะพระมงกุฏ พระลบ

ในรามเกียรติ์ฉบับของไทย แก้

พระลบในลักษณะโขนไทยคือ มีกายสีเขียว ทรงม้าขาว ผมเกล้าจุก ประวัติของพระลบตามที่มีปรากฎในรามเกียรติ์คือ วันหนึ่งนางสีดาได้เดินไปท่าน้ำโดยฝากลูกไว้กับฤาษี ระหว่างทางได้พบแม่ลิงตัวหนึ่งที่เอาลูกเกาะหลังไว้ นางจึงตำหนิแม่ลิงที่ไม่กลัวลูกตก แต่ถูกแม่ลิงย้อนว่าตัวนางเองที่ไม่ห่วงลูก ออกมาแต่เพียงลำพัง นางสีดานึกขึ้นได้ จึงกลับมานำโอรสไปด้วยในขณะที่ฤาษีกำลังเข้าฌาน ครั้นเมื่อฤาษีลืมตาขึ้นมาไม่พบบุตรนางสีดา ก็ตกใจเกรงว่านางสีดาจะมาต่อว่าตน จึงได้ทำการวาดรูปเหมือนของพระมงกุฎ และทำพิธีชุบชีวิตกุมารขึ้นมาจากรูปวาด ขณะนั้นนางสีดาพาโอรสกลับมาพอดี พระฤๅษีจะลบรูปนัันทิ้ง แต่นางก็ขอให้พระฤาษีชุบพระกุมารต่อไป เพื่อไว้เป็นเพื่อนเล่นกัน กุมารน้อยนี้จึงได้ชื่อว่า พระลบ

ต่อมาพระฤาษีได้ชุบศรให้แก่กุมารทั้งสอง แล้วอบรมสั่งสอนศิลปวิทยาการแขนงต่างๆ จนเก่งกล้า ทั้งสองกุมารได้ประลองศรกันบังเกิดเสียงกึกก้องกัมปนาท จนพระรามได้ยินเสียงก็คิดว่าคงเกิดผู้มีฤทธิ์มาแข่งกับพระองค์ จึงทำพิธีปล่อยม้าอุปการให้วิ่งออกไปหาผู้มีฤทธิ์นั้น โดยให้ พระพรต, พระสัตรุด และ หนุมาน เป็นผู้ตามม้าไป เมื่อม้าไปถึงทั้งสองกุมารก็จับมาขี่เล่น หนุมานเห็นดังนั้นก็เข้าต่อสู้ แต่ถูกสองกุมารตีด้วยศรสลบถึงสองครั้งแล้วจับมัดด้วยเถาวัลย์ สักหน้าและสาปว่าผู้เป็นนายเท่านั้นจึงจะแก้ออกได้

ต่อมาพระมงกุฎถูกพระพรตกับพระสัตรุดจับได้ พระลบจึงหลบหนีมาบอกข่าวแก่นางสีดา และคิดไปช่วยพี่โดยพระลบลอบใส่แหวนนางสีดาลงในภาชนะที่นางรำพา (นางฟ้าแปลงกาย) นำไปให้พระมงกุฎดื่ม เมื่อพระมงกุฎใส่แหวนแล้วก็ทำให้หลุดจากเครื่องพันธนาการ

ทั้งสองกุมารจึงร่วมกันสู้รบกับพระราม พระลักษมณ์ พระพรต และพระสัตรุด แต่เมื่อต่างแผลงศร ศรนั้นก็ไม่สามารถประหตประหารกันได้ พระรามเกิดความสงสัยและซักถามประวัติความเป็นมา ทำให้พระรามรู้ว่าคือโอรสของตน การต่อสู้ก็ยุติลง พระรามตามไปจนพบกับนางสีดา และพยายามอ้อนวอนขอคืนดี แต่นางสีดาไม่ยอม ยอมแต่เพียงให้สองกุมารไปอยู่ยังกรุงอโยธยาได้[3]

ในรามายณะฉบับอินเดีย แก้

ในบทแรกของรามายณะ คือ พาลกัณฑ์ กล่าวถึง ฤๅษีวาลมีกิ ที่บรรยายรามายณะแก่พระลบและพระมงกุฏ สาวกของเขา โดยกล่าวถึงเรื่องราวการเกิดและวัยเด็กของทั้งสอง ที่ถูกกล่าวถึงใน อุตตรกัณฑ์ โดยไม่มีใครเชื่อว่าเป็นผลงานดั้งเดิมของวาลมีกิ[4][5] ตามบันทึกในตำนานกล่าวว่า นางสีดา ถูกขับไล่ออกจากอาณาจักรเนื่องจากมีข่าวการติฉินนินทาของชาวเมืองเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ของนาง นางเสด็จหนีเข้าไปลี้ภัยในอาศรม ของ ฤๅษีวาลมีกิ ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำทัมซา[6] พระมงกุฎและพระลบ เกิดที่อาศรมและได้รับการศึกษาและฝึกฝนวิชาการต่างๆจากฤๅษีวาลมีกิ ซึ่งในครั้งนั้นทั้งสองก็ได้เรียนรู้เรื่องราวของพระรามด้วย

 
พระมงกุฎและพระลบสวดมนต์รามเกียรติ์ต่อหน้าพระรามและผู้ชมจำนวนมาก

ในการเสี่ยงทาย ม้าอัศวเมธ ของ พระราม ฤๅษีวาลมีกิ นางสีดา พระมงกุฎและพระลบได้ปลอมตัวไปร่วมพิธี

พระมงกุฎและพระลบสวดมนต์รามเกียรติ์ต่อหน้าพระรามและผู้ชมจำนวนมาก เมื่อพระมงกุฎและพระลบท่องมนต์เกี่ยวกับการเนรเทศของนางสีดา พระรามก็เศร้าสลด และฤๅษีวาลมีกิก็เปผิดเผยความจริงเรื่องนางสีดา นางสีดารู้สึกอับอายและเศร้าโศกมากจึงเรียก (พระแม่ธรณี ให้รับเธอไปเพื่อหกนีความอับอาย และเมื่อพื้นดินเปิดขึ้นเธอก็หายตัวไปในนั้น พระรามจึงรู้ว่าพระมงกุฎและพระลบเป็นลูกของเขา

ในวรรณกรรมรามายณะเวอร์ชั่นอื่นบอกว่า พระมงกุฎและพระลบได้จับม้าอัศวเมธได้ และไปปราบพี่น้องของพระราม (พระลักษมณ์, พระพรต และ พระสัตรุด) และกองทัพของพวกเขา เมื่อพระรามทราบข่าวจึงออกมารบกับทั้งสองพระกุมาร นางสีดาจึงเข้าแทรกแซงและบอกความจริงในภายหลังเพื่อให้พ่อลูกเข้าใจกัน

อ้างอิง แก้

  1. "Lohana History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2013. สืบค้นเมื่อ 14 November 2010.
  2. Chandra Mauli Mani (2009). Memorable Characters from the Rāmāyaṇa and the Mahābhārata. Northern Book Centre. pp. 77–. ISBN 978-81-7211-257-8.
  3. ~ พระมงกุฎ,พระลบ ~ - ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ - จากเว็บ บ้านจอมพระ.com
  4. "Uttara Kanda of Ramayana was edited during 5th century BCE - Puranas". BooksFact - Ancient Knowledge & Wisdom (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-04-26. สืบค้นเมื่อ 2020-07-07.
  5. Rao, T. S. Sha ma; Litent (2014-01-01). Lava Kusha (ภาษาอังกฤษ). Litent.
  6. Vishvanath Limaye (1984). Historic Rama of Valmiki. Gyan Ganga Prakashan.