ในมหากาพย์อินเดีย สุริยวงศ์, อิกษวากุ หรือ โอกกากะ เป็นราชวงศ์ที่พระเจ้าอิกษวากุ พระราชาในตำนาน ทรงก่อตั้งขึ้น[2] และประกอบเข้ากับจันทรวงศ์เป็นเชื้อสายหลักเชื้อสายหนึ่งแห่งวรรณะกษัตริย์ พระรามก็เป็นผู้หนึ่งที่มาจากราชวงศ์นี้[5] ตามเอกสารของศาสนาเชน พระฤษภเทพ ซึ่งเป็นตีรถังกรพระองค์แรกของเชนนั้น ก็คือพระเจ้าอิกษวากุและเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์นี้ ตีรถังกรพระองค์อื่น ๆ อีก 21 พระองค์นั้นก็กำเนิดในราชวงศ์นี้[6][4] ส่วนเอกสารและประเพณีของศาสนาพุทธถือว่า พระโคตมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์นี้ พระราชายุคหลัง ๆ อีกหลายพระองค์ในอนุทวีปอินเดียก็อ้างตนว่ามีพื้นเพมาจากราชวงศ์นี้ นอกจากนี้ ศาสนาพุทธถือยังว่า ผู้สถาปนาราชวงศ์นี้ คือ พระเจ้ามหาสมมติ บรรพบุรุษพระองค์หนึ่งของพระเจ้าอิกษวากุ ซึ่งมหาชนสมมุติขึ้นเป็นพระราชาพระองค์แรกแห่งยุคปัจจุบัน มิใช่พระเจ้าอิกษวากุเอง[7]

สุริยวงศ์

อาณาจักรโกศล
อาณาจักรโกศล
เมืองหลวงวินิตา (ปัจจุบันคือเมือง อโยธยา)[1]
ภาษาทั่วไปภาษาสันสกฤต
ศาสนา
ศาสนาฮินดู[2][3] ศาสนาเชน[4][5] ศาสนาพุทธ
การปกครองราชาธิปไตย
พระมหากษัตริย์ 
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย

บุคคลสำคัญของราชวงศ์นี้ เช่น พระเจ้าหริศจันทร์, พระเจ้าทิลีป, พระเจ้าสัคระ,[3] พระเจ้ารฆุ, พระราม, และพระเจ้าปเสนทิโกศล อนึ่ง นอกจากพระโคตมพุทธเจ้า ศาสนาพุทธยังถือว่า พระเจ้าสุทโธทนะ พระบิดาของพระโคตมพุทธเจ้า และพระราหุล พระโอรสของพระโคตมพุทธเจ้า ก็สืบสายพระโลหิตมาจากราชวงศ์นี้เช่นกัน

ต้นกำเนิด

แก้

ราชวงศ์นี้เป็นหนึ่งในสองราชวงศ์ใหญ่ที่พบในวรรณกรรมประเภทมหากาพย์และประเภทปุราณะของฮินดู อีกราชวงศ์ คือ จันทรวงศ์ เอกสาร หริวงศ์ ระบุว่า หลังจากที่ทรงรอดพ้นภัยน้ำท่วมใหญ่แล้ว พระมนูไววัสวัตทรงตั้งเมืองอโยธยาขึ้นที่ฝั่งแม่น้ำสรยูเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรอริยวรรต จากนั้น พระโอรส คือ พระเจ้าอิกษวากุ ซึ่งถือเป็นบรรพบุรุษของสุริยวงศ์ ได้ปกครองต่อมา และมีพระราชาอีกหลายพระองค์ขึ้นครองราชบัลลังก์สืบ ๆ มา เมืองอโยธยาดังกล่าวยังเป็นที่ประสูติของพระรามด้วย[8]

อ้างอิง

แก้
  1. https://books.google.co.in/books?id=vp_XAAAAMAAJ&q=vinita+now+Ayodhya&dq=vinita+now+Ayodhya&hl=en&sa=X&ved=2ahUKEwirnYKPg9zuAhVW7HMBHaIbBIkQ6AEwAHoECAAQAg
  2. 2.0 2.1 Geography of Rigvedic India, M.L. Bhargava, Lucknow 1964, pp. 15-18, 46-49, 92-98, 100-/1, 136
  3. 3.0 3.1 Ikshaku tribe The Mahabharata translated by Kisari Mohan Ganguli (1883 -1896), Book 3: Vana Parva: Tirtha-yatra Parva: Section CVI, p. 228 There was born in the family of the Ikshaku, a ruler of the earth named Sagara, endued with beauty, and strength..."
  4. 4.0 4.1 Zimmer 1952, p. 220
  5. 5.0 5.1 Zimmer 1952, p. 218
  6. https://books.google.co.in/books?id=OGsrAAAAIAAJ&printsec=frontcover&dq=Rishabhanatha+founder+of+Jainism&hl=en&sa=X&ved=2ahUKEwi4uq3ei9vuAhXf6XMBHWXKDnMQ6AEwAHoECAIQAg#v=onepage&q&f=false
  7. Malalasekera, G. P. (2007) [1937]. Dictionary of Pāli Proper Names: A-Dh. Delhi: Motilal Banarsidass. pp. 461–2. ISBN 978-81-208-3021-9.
  8. A.K.Mazumdar 2008, p. 161.