หริวงศ์ (อักษรโรมัน: Harivamsa สันสกฤต: हरिवंश) แปลว่า "พงศาวดารแห่งพระหริ" นับเป็นงานเขียนชิ้นสำคัญในวรรณกรรมภาษาสันสกฤต มีความยาว 16,374 โศลก เอกสารนี้เป็นที่รู้จักอีกชื่อหนึ่งว่า หริวงศปุราณะ ซึ่งเชื่อกันว่าหริวงศ์เป็น ขิละ (ภาคผนวก หรือส่วนเสริม) ของมหาภารตะ[1] ซึ่งบทนี้เป็นบทที่ กฤษณะ ไทฺวปายนะ วยาส เขียนไว้เช่นกัน ซึ่งหริวงศ์นี้ประกอบด้วยบรรพย่อยทั้งหมด 3 บรรพ รวมโองการทั้งสิ้น 12,000 คำ[2] ซึ่งถึงแม้จะเป็นส่วนเสริม แต่ก็ยังรวมอยู่ในมหากาพย์มหาภารตะ[1]

ภาพวาดเมืองทวารกาของบทหริวงศ์ ถูกวาดขึ้นในสมัย จักรพรรดิอักบัร แห่งจักรวรรดิโมกุล

หริวงศบรรพ กล่าวถึงการสร้างจักรวาลและประวัติศาสตร์ในตำนานของกษัตริย์สุริยวงศ์และจันทรวงศ์ที่นำไปสู่การกำเนิดของกฤษณะ, วิษณุบรรพ จะเล่าประวัติของพระกฤษณะถึงเหตุการณ์ก่อนมหาภารตะ[3], ภาวิสยุค บรรพที่สามรวมถึงทฤษฎีการสร้างทางเลือกทั้งสองทาง, เพลงสวดของพระศิวะและพระวิษณุ และให้คำอธิบายเกี่ยวกับกลียุค[4]

เนื้อเรื่อง และบรรพย่อย แก้

  1. หริวงศบรรพ มีเนื้อหา 55 ตอน กล่าวถึงลำดับวงศ์ตระกูลของพระเจ้าชเนมชยะ, การกำเนิดต้นตระกูลของพระกฤษณะ ต้นราชวงศ์กุรุ ไปจนถึงการอวตารของพระผู้เป็นเจ้า
  2. วิษณุบรรพ มีเนื้อหา 115 ตอน กล่าวถึงการอวตารของพระนารายณ์ลงมาเป็นพระกฤษณะ เพื่อมาปราบพญากังสะผู้ชั่วร้าย ไปจนถึงการปราบท้าวชราสันธ์ และการวิวาห์ระหว่างเจ้าหญิงอุษา กับอนิรุทธ์[3]
  3. ภาวิสยบรรพ มีเนื้อหา 135 ตอน กล่าวถึงลำดับวงศ์ตระกูลของพระเจ้าชเนมชยะ และการทำพิธีอัศวเมธ ไปจนถึงการบรรยายความดีงามทางศาสนาที่ผู้อ่านจะได้รับจากการฟังปุราณะนี้[5]

การแปลในภาษาอื่น แก้

หริวงศ์ แปลจากภาษาอินเดีย (ฮินดี) ไปหลากหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ (Manmatha Nath Dutt, 1897) ภาษาฝรั่งเศส (M. A. Langlois, 1834–35) และภาษาอื่น ๆ อีกมากมาย[6]

อ้างอิง แก้

  • Bowker, John, The Oxford Dictionary of World Religions, New York, Oxford University Press, 1997, p. 410
  • Winternitz, Maurice (1981) History of Indian Literature Vol. I. Delhi: Motilal Banarsidass.
  • Ruben, Walter (1941) "The Krsnacarita in the Harivamsa and Certain Puranas.” Journal of the American Oriental Society. Vol. 61, No.3. pp. 115–127.
  • Lorenz, Ekkehard (2007) The Harivamsa: The Dynasty of Krishna, in Edwin F. Bryant (ed.), Krishna, A Source Book, Oxford University Press.
  • Shastri, Rajendra Muni, Jaina Sahitya mein Sri Krishna Charita, Jaipur, Prakrit Bharati Akademi, 1991.
  1. 1.0 1.1 The Mahabharata in Sanskrit: Book I: Chapter 2 in sacred-texts.com website
  2. Mahabharata 1.2.377-378 (Bombay edition) ; M.N. Dutt (trans.) Adi Parva, p 21.
  3. 3.0 3.1 Maurice Winternitz (1981), History of Indian Literature, Vol. 1, Delhi, Motilal Banarsidass, ISBN 978-0836408010, pages 426-431
  4. Maurice Winternitz (1981), History of Indian Literature, Vol. 1, Delhi, Motilal Banarsidass, ISBN 978-0836408010, pages 432-435
  5. Maurice Winternitz (1981), History of Indian Literature, Vol. 1, Delhi, Motilal Banarsidass, ISBN 978-0836408010, pages 432-435
  6. Translations of the Harivamsa

แหล่งข้อมูลอื่น แก้