พระราชพิธีเสกสมรสระหว่างเจ้าชายวิลเลียมกับแคเธอริน มิดเดิลตัน
พระราชพิธีเสกสมรสระหว่างเจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์กับแคเธอริน มิดเดิลตัน มีขึ้น ณ วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 ยังเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ในกรุงลอนดอน เจ้าชายวิลเลียม ผู้ทรงอยู่ในลำดับที่สองสำหรับการสืบราชย์ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 นั้นทรงพบแคเธอริน มิดเดิลตัน เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2544 ขณะที่ทั้งสองกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูวส์ มีประกาศในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ว่าทั้งคู่จะหมั้นกันในอีกสี่วันถัดมา
เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์และแคเธอริน เจ้าหญิงแห่งเวลส์ เสด็จออก ณ สีหบัญชรพระราชวังบักกิงแฮมภายหลังพระราชพิธี เด็กซ้ายขวาคือพระสหายรุ่นเยาว์ฝ่ายเจ้าสาว ซึ่งได้แก่ เกรซ ฟาน คัตเซม (Grace van Cutsem) และ มาร์การิทา อาร์มสตรอง-โจนส์ (Margarita Armstrong-Jones) ตามลำดับ | |
วันที่ | 29 เมษายน พ.ศ. 2554 |
---|---|
ที่ตั้ง | เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ กรุงลอนดอน |
ผู้เข้าร่วม | ดยุกและดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ |
ผล | การเสกสมรส |
การเตรียมพระราชพิธีเสกสมรสกับทั้งตัวงานพระราชพิธีเองนั้นเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนเป็นอันมาก มีการถ่ายทอดสดงานไปทั่วโลก มีผู้ชมทางโทรทัศน์มากกว่าสองพันล้านคน และหลายคนเปรียบเทียบเปรียบเปรยงานครั้งนี้กับพระราชพิธีเสกสมรสระหว่างเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ พระบิดา กับเลดีไดอานา สเปนเซอร์ พระมารดาของเจ้าชายวิลเลียม
มีผู้สนใจสถานะสามัญชนของมิดเดิลตันเป็นอันมาก กล่าวคือ มิดเดิลตัน ผู้ซึ่งหาใช่สายพระโลหิตหรืออภิชนไม่ ได้ครองรักกับพระราชวงศ์สูงศักดิ์ดุจดังเทพนิยายในอุดมคติ ทั้งนี้ หลายชั่วโมงก่อนพิธีสวด สมเด็จพระราชินีนาถได้พระราชทานฐานันดรศักดิ์ "ดยุกแห่งเคมบริดจ์ (Duke of Cambridge), "เอิร์ลแห่งสแตรธเอิร์น" (Earl of Strathearn) และ "บารอนแห่งแคร์ริกเฟอร์กัส" (Baron Carrickfergus) ให้แก่เจ้าชายวิลเลียม ฉะนั้น เมื่อได้สมรสกับเจ้าชายวิลเลียมแล้ว มิดเดิลตันจึงเป็น "เฮอร์รอยัลไฮเนสเจ้าหญิงวิลเลียม อาร์เธอร์ ฟิลิป ลูอิส ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ เคาน์เตสแห่งสแตรธเอิร์น บาเรอเนสแห่งแคร์ริกเฟอร์กัส" ("Her Royal Highness Princess William Arthur Philip Louis, Duchess of Cambridge, Countess of Strathearn, Baroness Carrickfergus") ไปโดยปริยาย แต่มิใช่ "เจ้าหญิงเคต" หรือ "เจ้าหญิงแคเธอริน"
ด้วยว่าเจ้าชายวิลเลียมมิใช่รัชทายาท พระราชพิธีครั้งนี้จึงเป็นแต่ชั้นรอง แต่รายละเอียดหลาย ๆ ส่วนนั้น คู่สมรสชอบจะเลือกและตัดสินใจกันเองได้ ซึ่งรวมถึงแขกกว่าหนึ่งพันเก้าร้อยคน ในวันพระราชพิธี ได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการในบริเตนใหญ่ และมากไปด้วยแง่มุมทางพิธีการหลายประการ เช่นว่า กระบวนพระราชยาน (Royal Mews) ตลอดจนแถวของทหารรักษาพระองค์เดินเท้า (Foot Guards) และอัศวินประจำพระราชวงศ์ (Household Cavalry) สมาชิกพระราชวงศ์อังกฤษส่วนใหญ่ กับทั้งพระราชวงศ์ต่างประเทศและผู้แทนทางทูตจำนวนมาก และแขกเหรื่อส่วนพระองค์และตัวของคู่สมรส ได้ทรงเป็นและเป็นสักขีพยานในการนี้โดยพร้อมกัน
มิดเดิลตันสวมชุดกระโปรงยาวสีขาว ชายกระโปรงยาว 270 เซนติเมตร (หนึ่งร้อยสิบนิ้ว) ซึ่ง ซาราห์ เบอร์เทิน นักออกแบบเครื่องแต่งกายชาวอังกฤษ ได้รจนาขึ้น มิดเดิลตันยังได้สวมเทริดที่สมเด็จพระราชินีนาถโปรดให้ยืมด้วย ส่วนเจ้าชายวิลเลียมนั้นทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารยศพันเอกประจำกองทหารไอริชรักษาพระองค์ (Irish Guards) เพื่อนเจ้าบ่าวนั้น ได้แก่ พระอนุชาของพระองค์ คือ เจ้าชายแฮร์รีแห่งเวลส์ ขณะที่เพื่อนเจ้าสาวนั้น ได้แก่ น้องสาวของมิดเดิลตัน คือ พิปพา มิดเดิลตัน พระราชพิธีเริ่มเมื่อเวลา 11:00 นาฬิกา (UTC+1) มีจอห์น รอเบิร์ต ฮอลล์ ดีนแห่งเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ประกอบพิธีสวด โรว์อัน วิลเลียมส์ อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ให้ศีลสมรส และริชาร์ด ชาร์เทรส บิชอปแห่งลอนดอน เทศนา สิ้นพิธีสวดแล้วเจ้าชายวิลเลียมและมิดเดิลตัน ซึ่งบัดนี้คือเจ้าหญิงวิลเลียม ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จโดยกระบวนพยุหยาตราไปยังพระราชวังบักกิงแฮมเพื่อเสด็จออก ณ มุขพระราชวังให้สาธารณชนเฝ้า ณ ลานเดอะมอล (The Mall) ตามธรรมเนียม เสร็จแล้วเจ้าชายวิลเลียมทรงขับรถพระที่นั่งแอสตันมาร์ตินโวลองต์ (Aston Martin Volante) ของพระบิดา พาเจ้าหญิงวิลเลียมไปยังพระตำหนักแคลเรินซ์ (Clarence House) โดยรถพระที่นั่งนั้น ทั้งสองพระองค์ได้ทรงติดป้ายทะเบียนมีข้อความว่า "เพิ่งแต่ง" ("JU5T WED")
ภายหลังพระราชพิธีเสกสมรส ทั้งเจ้าชายวิลเลียมและเจ้าหญิงพระชายาเสด็จไปพำนักยังเกาะแองเกิลซีย์ (Isle of Anglesey) ในนอร์ทเวลส์ ที่ซึ่งเจ้าชายวิลเลียมทรงประจำการเป็นนักบินแห่งหน่วยค้นหาและกู้ภัย กองทัพอากาศแห่งสหราชอาณาจักร (RAF Search and Rescue Force)
การหมั้น
แก้วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 พระตำหนักแคลเรินซ์ประกาศว่าเจ้าชายวิลเลียม พระโอรสพระองค์ใหญ่ในเจ้าชายชาลส์จะได้ทรงเสกสมรสกับแคเธอริน มิดเดิลตัน คู่รักของพระองค์ที่ทรงคบหามาเป็นเวลายาวนาน โดยการทรงเสกสมรสนั้นจะมี "ในหน้าใบไม้ผลิไม่ก็หน้าร้อนของปี พ.ศ. 2554 ในกรุงลอนดอน"[1] เจ้าชายวิลเลียมทรงหมั้นกับมิดเดิลตันในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ขณะทรงพักผ่อนเป็นการส่วนพระองค์ที่ประเทศเคนยา โดยทรงมอบพระธำมรงค์หมั้นองค์เดียวกับที่พระบิดาทรงเคยใช้หมั้นพระมารดา[2]—เป็นพระธำมรงค์ทองคำขาว หนักสิบแปดกะรัต หัวพระธำมรงค์เป็นพลอยมหานิลรูปไข่หนักสิบสองกะรัต อลงกตด้วยแก้วมณีสิบสี่ลูก[3] ในโอกาสเดียวกัน มีประกาศด้วยว่า หลังจากการทรงเสกสมรสแล้ว คู่สมรสจะได้ทรงพำนักยังเกาะแองเกิลซีย์ในแคว้นเวลส์ ที่ซึ่งเจ้าชายวิลเลียมทรงรับราชการในกองทัพอากาศแห่งสหราชอาณาจักร[1][4]
พระบิดาดำรัสว่า พระองค์ทรง "ตื่นเต้น...ทั้งสองคนได้ดูใจกันมานานมากพอแล้ว"[5] และสมเด็จพระราชินีนาถ พระอัยยิกาตรัสว่าในเรื่องคู่สมรสคู่นี้นั้น พระนางทรง "อิ่มใจเป็นที่สุด"[2] และในเช้าวันหมั้น พระนางได้เสด็จออก ณ องคมนตรีสภา เพื่อพระราชทานพระราชานุญาตให้มีการเสกสมรสได้อย่างเป็นทางการตามที่พระราชบัญญัติการสมรสของพระราชวงศ์ ค.ศ. 1772 (Royal Marriages Act 1772) บัญญัติไว้[6] อนึ่ง บรรดานายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรต่างก็แสดงความปรีดีทั่วกัน[7] [8] [9] ในจำนวนนี้ มี จูเลีย กิลลาร์ด นายกรัฐมนตรีแห่งออสเตรเลีย ผู้นิยมระบอบสาธารณรัฐ ด้วย[10] ฝ่าย พีต บรอดเบนต์ บิชอปแห่งวิลเลสเดน ผู้นิยมระบอบสาธารณรัฐ ลงข้อความต่อต้านในเฟซบุ๊กตำหนักแคลเรินซ์ ต่อมาเขาเห็นว่าถ้อยคำของตนนั้น "เป็นภัย" จึงกล่าวขอโทษ[11] ทว่า ริชาร์ด ชาร์เทรส บิชอปแห่งลอนดอน ผู้บังคับบัญชาของเขา ได้สั่งให้เขาพักราชการ "จนกว่าจะมีคำบอกกล่าวเพิ่มเติม"[12] [13]
หลังประกาศการทรงหมั้นแล้วเจ้าชายวิลเลียมและมิดเดิลตันได้ทรงให้และให้สัมภาษณ์แก่ ทอม แบรดบี บรรณาธิการข่าวการเมืองของไอทีวีนิวส์ เป็นการเฉพาะตัว[14] ให้ฉายพระฉายาลักษณ์และรูปที่พระราชวังเซนต์เจมส์[15] [16] วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553 พระราชวังบักกิงแฮมเผยแพร่พระฉายาลักษณ์และภาพถ่ายอย่างเป็นทางการของคู่หมั้นทั้งสองซึ่งฉายเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ณ ห้องชุดราชการที่พระตำหนักเซนต์เจมส์ เจ้าพนักงานผู้ฉาย คือ มาริโอ เทสทิโน[17] [18]
วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 มีประกาศยืนยันว่า พระราชพิธีเสกสมรสจะมีในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 และวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 สภาองคมนตรีแห่งพระราชินียืนยันกำหนดการข้างต้นซ้ำอีกครั้ง[19] [20] ต่อมามีประกาศของรัฐบาลว่า ให้วันดังกล่าวเป็นวันหยุดราชการทั่วสหราชอาณาจักร[21] [22] รวมตลอดทั้งเบอร์มิวดา หมู่เกาะเคย์แมน ไอล์ออฟแมน ยิบรอลตาร์ เกินซีย์ เจอร์ซีย์, หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ มอนต์เซอร์รัต และ เทิกส์และเคคอส[23] [24] [25]
พระราชพิธีเสกสมรส
แก้บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
การพระราชทานฐานันดรศักดิ์
แก้ในโอกาสเดียวกันกับพระราชพิธีนี้ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าชายวิลเลียมทรงเป็น "ดยุกแห่งเคมบริดจ์"[26] เมื่อเคต มิดเดลตัน สมรสกับดยุกแห่งเคมบริดจ์แล้ว ก็จึงเป็น "ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์" ไปโดยปริยาย[27] ทั้งนี้ ราชวงศ์อังกฤษมีธรรมเนียมที่จะให้ฐานันดรศักดิ์แก่เจ้าบ่าวที่เป็นเชื้อพระวงศ์อย่างน้อยหนึ่งตำแหน่งในวันอภิเษกสมรสหรือเสกสมรส และเจ้าสาวก็จะได้ตำแหน่งคู่กัน[ต้องการอ้างอิง]
พระราชพิธี
แก้พระราชพิธีเริ่มต้นขึ้นในช่วงบ่ายตามเวลาในประเทศไทยของวันที่ 29 เมษายน นำโดยขบวนรถพระที่นั่งของ เจ้าชายวิลเลียม และเจ้าชายแฮร์รี พระอนุชา วิ่งเข้าสู่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ โดยมีประชาชนต้อนรับเสด็จฯ รอบแอบบีย์ ซึ่งเจ้าชายวิลเลียมทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารของหน่วยไอริชการ์ดซึ่งเป็นชุดสีแดงสด ขณะที่เจ้าชายแฮร์รีที่เป็นเพื่อนเจ้าบ่าวทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารของเหล่าทหารม้า และเจ้าชายชาร์ลส์ ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ หลังจากนั้นเจ้าชายชาลส์ พร้อมด้วยคามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ เสด็จพระราชดำเนินถึงยังเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ตามด้วยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ที่เสด็จมาพร้อมกับเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ พระราชสวามี โดยทรงฉลองพระองค์และพระมาลาสีเหลือง
ทางด้านเคท มิดเดิลตัน ในชุดแต่งงานสีขาว พร้อมไมเคิล มิดเดิลตัน ผู้เป็นบิดา เดินทางออกจากโรงแรมกอริง โดยรถยนต์โรลส์รอยส์สีดำ และมีนักร้องประสานเสียงร้องต้อนรับ หลังจากนั้นก็เข้าสู่พิธีปฏิญาณตนในพิธีเสกสมรส โดยอาร์ชบิชอป โรว์อัน วิลเลียมส์ ประมุขแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ เป็นผู้ทำพิธี ต่อจากนั้น เจ้าชายวิลเลียมทรงสวมพระธำมรงค์ให้กับ เคท มิดเดิลตัน หลังจากนั้นได้ประกาศให้ทั้งคู่เป็นสามีภรรยาโดยถูกต้อง หลังจากนั้นก็มีการประทานโอวาทแก่ เจ้าชายวิลเลียม - เคท มิดเดิลตัน และนักร้องประสานเสียงบรรเลงเพลงประสานเสียงสรรเสริญพระเจ้า และปิดท้ายด้วยเพลงชาติอังกฤษ "God Save the Queen" หลังจากนั้น เจ้าชายวิลเลียมพร้อมด้วยเคท มิดเดิลตัน พระชายา ทรงพระดำเนินออกจากมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ ประทับรถม้าพระที่นั่งไปยังพระราชวังบักกิงแฮม พร้อมทรงโบกพระหัตถ์ทักทายประชาชนที่เฝ้ารอรับเสด็จ ก่อนจะเสด็จออก ณ สีหบัญชรพระราชวังบักกิงแฮม ตามแบบอย่างพระราชบิดาและพระราชมารดาเมื่อ 30 ปีก่อน โดยเจ้าชายวิลเลียม ได้จุมพิตพระชายาถึง 2 ครั้ง ท่ามกลางเสียงโห่ร้องยินดีของประชาชนนับแสนที่รอเฝ้าชมพระบารมี[28]
การแสดงความยินดีจากนานาชาติ
แก้นานาชาติได้ร่วมแสดงความยินดีในงานพระราชพิธีเสกสมรสครั้งนี้
- สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะและสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะแห่งญี่ปุ่นทรงส่งสาส์นแสดงความยินดีต่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งอังกฤษ เนื่องในพระราชพิธีเสกสมรสของเจ้าชายวิลเลียมและเคท มิดเดิลตัน สำนักพระราชวังอิมพีเรียลแถลงว่า สมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินีได้พระราชทานเครื่องเซรามิกเป็นของขวัญแก่คู่บ่าวสาว ขณะที่เจ้าชายนะรุฮิโตะและเจ้าหญิงมะซะโกะ พระราชทานเครื่องเขินเป็นของขวัญ[29]
- ทำเนียบขาวสหรัฐอเมริกาออกแถลงการณ์แสดงความยินดีต่อดยุกและดัชเชสส์แห่งเคมบริดจ์เนื่องในพระราชพิธีเสกสมรส โดยระบุว่าชาวอเมริกันขอแสดงความยินดีอย่างจริงใจต่อประชาชนชาวอังกฤษและประเทศในเครือจักรภพ และขอให้ทั้งสองพระองค์ทรงพระเกษมสำราญ และมีอนาคตที่สดใส[30]
- อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไทย ส่งสารกราบทูลแสดงความยินดีในนามรัฐบาลไทยและประชาชนไทย ในฐานะที่ราชอาณาจักรไทย-อังกฤษ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันยาวนาน รัฐบาลไทยและประชาชนไทย จะร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสเป็นมงคลยิ่งและขอให้พระองค์มีพระเกษมสำราญตลอดไป[31]
- องค์ทะไลลามะ ผู้นำด้านจิตวิญญาณแห่งทิเบต เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวขณะเดินทางมาร่วมสวดมนต์อุทิศให้กับญี่ปุ่นซึ่งได้รับความเสียหายอย่างหนักจากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิว่า พระองค์ได้ส่งจดหมายแสดงความยินดีไปถึงคู่บ่าวสาว เจ้าชายวิลเลียม กับน.ส.เคท มิดเดิลตัน เพื่อแสดงความยินดี และขออวยพรให้ทั้งคู่ประสบความสุขความเจริญในชีวิตแต่งงานด้วย
ด้านนักบินอวกาศประจำสถานีอวกาศนานาชาติในโครงการสำรวจอวกาศครั้งที่ 27 ได้ส่งสารแสดงความยินดีมาถึงเจ้าชายวิลเลียมกับเคท มิดเดิลตันในรูปแบบของวิดีโอ โดยระบุว่าพวกเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของคน 2 พันล้านคน หรือหนึ่งในสามของประชากรโลกที่ได้เฝ้าชมการถ่ายทอดสดราชพิธีเสกสมรสของราชวงศ์อังกฤษ[ต้องการอ้างอิง] และบรรดาลูกเรือของสถานีอวกาศนานาชาติขอแสดงความยินดีและมอบความปรารถนาดีให้คู่บ่าวสาวในงานราชพิธีเสกสมรสครั้งนี้
แขกในพระราชพิธี
แก้การเชิญพระราชวงศ์จากต่างประเทศเพื่อเข้าร่วมพระราชพิธี มีการเชิญพระราชวงศ์จาก 32 ราชวงศ์ โดยมีการตอบรับว่าจะเข้าร่วมพระราชพิธี 29 ราชวงศ์ สำหรับราชวงศ์ไทย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงร่วมพระราชพิธีเสกสมรส ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร โดยพระราชวงศ์ที่ไม่เข้าร่วมงานพระราชพิธี คือ เจ้าชายซัลมาน บิน ฮามัด อัล คาลิฟา มกุฎราชกุมารแห่งบาห์เรน ที่มีพระราชสาส์นแสดงความเสียพระทัยว่าไม่สามารถเข้าร่วมพระราชพิธีเนื่องจากความวุ่นวายในประเทศ พร้อมทั้งทรงอวยพรให้เจ้าชายวิลเลียมและเคต มิดเดิลตันให้มีความสุข[32] เจ้าชายนะรุฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่นและเจ้าฟ้าหญิงมะซะโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่น โดยสำนักพระราชวังญี่ปุ่นแถลงว่าทั้งสองพระองค์ไม่ประสงค์ร่วมพิธีดังกล่าวตามคำทูลเชิญ เนื่องจากต้องการไว้อาลัยให้กับบรรดาผู้เสียชีวิตและผู้ประสบภัยจากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ เมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา[33] และพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา[34]
นอกจากนี้ยังมีแขกรับเชิญอีกจำนวนมาก เช่น เดวิด เบคแคม เอลตัน จอห์น และโรวัน แอตคินสัน (ผู้แสดงเป็นมิสเตอร์บีน)
ในครั้งนี้ สำนักพระราชวังแห่งอังกฤษส่งบัตรเชิญแขกทั่วโลกรวม 1,900 คน ในจำนวนนี้กว่า 1,000 คน เป็นเพื่อนของเจ้าชายวิลเลียมและเคตจากมหาวิทยาลัยเซนต์ แอนดรูว์ สถานที่ซึ่งทั้งสองพบกันครั้งแรก ซึ่งหลังจากเสร็จพิธีในโบสถ์จะมีแขกเพียง 600 คน ที่ได้รับเชิญไปร่วมงานเลี้ยงอาหารกลางวัน จากนั้นจะเหลือ 300 คน ที่ได้เข้าร่วมพิธีรับประทานอาหารค่ำในพระราชวังบักกิงแฮม โดยเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ พระบิดาของเจ้าชายวิลเลี่ยม จะทรงเต้นรำเปิดฟลอร์[35]
ศีลสมรส
แก้ในพระราชพิธีเสกสมรส เจ้าชายวิลเลียมและแคเธอริน ได้ประกอบพิธีทางศาสนาคริสต์นิกายแองกลิคัน ณ เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ โดยมีดีนแห่งเวสต์มินสเตอร์เป็นผู้ดำเนินพิธี ส่วนอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี (ผู้นำของคริสตจักรแห่งอังกฤษ) เป็นผู้โปรดศีลสมรส และบิชอปแห่งลอนดอนผู้สนิทกับเจ้าชายชาลส์พระบิดาของเจ้าชายวิลเลียมเป็นผู้เทศน์ เสร็จพิธีแล้วเสด็จเพื่อเสวยพระกระยาหารกลางวัน ณ พระราชวังบักกิงแฮม
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Clarence House (16 November 2553). "His Royal Highness Prince William of Wales and Miss Catherine Middleton are engaged to be married". Queen's Printer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-29. สืบค้นเมื่อ 18 November 2553.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 "Royal wedding: Prince William to marry Kate Middleton". BBC. 16 November 2553. สืบค้นเมื่อ 16 November 2553.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Wilkes, David; Schlesinger, Fay (17 November 2553). "A ring fit for his mother... and his love: Prince William's sapphire and diamond engagement ring for Kate". The Daily Mail. UK. สืบค้นเมื่อ 28 November 2553
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ Horton, Nick (16 November 2553). "'Royal' Anglesey, William and Kate's island of love". BBC. สืบค้นเมื่อ 22 December 2553.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "They have been practising long enough: Charles and Camilla welcome 'wicked' news of engagement". Daily Mail. 16 November 2553. สืบค้นเมื่อ 28 November 2553
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ Gibson, William (2 December 2553). "One gives one's blessing". The Times Higher Education. Oxford: Oxford Brookes University. สืบค้นเมื่อ 16 December 2553.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Office of the Prime Minister of Canada (16 November 2553). "Statement by the Prime Minister of Canada on the engagement of HRH Prince William to Kate Middleton". Queen's Printer for Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-23. สืบค้นเมื่อ 5 January 2554.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "NZealand PM congratulates Prince William on engagement". Laredo Sun. 17 November 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-28. สืบค้นเมื่อ 5 January 2554.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Royal wedding: Prince William to marry Kate Middleton". BBC. 16 November 2553. สืบค้นเมื่อ 5 January 2554.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Royal wedding revives republic debate". News Limited. 17 November 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-25. สืบค้นเมื่อ 2 December 2553.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Thornton, Ed (26 November 2553). "Bishop Broadbent in purdah after criticising royals". The Church Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-04. สืบค้นเมื่อ 12 December 2553
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ "Royal wedding: Facebook row bishop suspended". BBC. 23 November 2553. สืบค้นเมื่อ 23 November 2553.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Chartres, Richard (23 November 2553). "A statement from the Bishop of London". The Diocese of London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-05. สืบค้นเมื่อ 12 December 2553.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ VIDEO – An interview with Prince William and Miss Catherine Middleton, ITV News & Office of the Prince of Wales, 16 November 2553, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-22, สืบค้นเมื่อ 6 March 2554
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Bradby, Tom (16 November 2553). "William & Kate interview". ITV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-18. สืบค้นเมื่อ 16 November 2553.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "As it happened: Royal engagement". BBC. 16 November 2553. สืบค้นเมื่อ 5 January 2554.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Royal wedding: William and Kate pose for Testino photos". BBC. 12 December 2553. สืบค้นเมื่อ 16 December 2553.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Clarence House. "The official engagement photographs of Prince William and Catherine Middleton". Queen's Printer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-23. สืบค้นเมื่อ 5 January 2554.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Royal wedding celebration as workers given public holiday". Herald Scotland. 24 November 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-25. สืบค้นเมื่อ 25 November 2553.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Orders Approved at the Privy Council held by the Queen at Buckingham Palace on 15th December 2553" (PDF). The Privy Council. สืบค้นเมื่อ 21 December 2553.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อbeeba
- ↑ "Royal wedding celebration as workers given public holiday". Herald Scotland. 24 November 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-25. สืบค้นเมื่อ 25 November 2553.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Turks and Caicos Declare Royal Wedding Public Holiday". Q++ Studio. 27 February 2554. สืบค้นเมื่อ 28 April 2554.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Montserrat's Chief Minister Invited to Royal Wedding and Public Holiday Declared". Montserrat Tourist Board. 26 April 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-23. สืบค้นเมื่อ 28 April 2554.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Royal wedding fever hits some in Caribbean countries". Jamaica Gleaner. 28 April 2554. สืบค้นเมื่อ 28 April 2554.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ Titles announced for Prince William and Catherine Middleton[ลิงก์เสีย]
- ↑ Royal wedding: Prince William and Kate Middleton become Duke and Duchess of Cambridge
- ↑ ชมภาพ เจ้าชายวิลเลี่ยม แต่งงาน เคท มิดเดิลตัน
- ↑ สมเด็จพระจักรพรรดิยินดีพิธีเสกสมรส เก็บถาวร 2011-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก เดลินิวส์ออนไลน์
- ↑ "โอบามา"ยินดีกับคู่สมรสใหม่แห่งราชวงศ์อังกฤษ จาก ไทยรัฐออนไลน์
- ↑ "สมเด็จพระจักรพรรดิยินดีพิธีเสกสมรส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 2011-04-30.
- ↑ มกุฎราชกุมารบาห์เรน ปฏิเสธคำเชิญร่วมพิธีเสกสมรสเจ้าชายวิลเลียม อ้างประเทศยังไม่สงบ[ลิงก์เสีย] จาก มติชนออนไลน์
- ↑ "มกุฎราชกุมารญี่ปุ่น "ไม่เสด็จ" พิธีเสกสมรสเจ้าชายวิลเลียม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-24. สืบค้นเมื่อ 2011-04-28.
- ↑ INN online - กษัตริย์เขมรไม่ร่วมพิธีฯเจ้าชายวิลเลี่ยม[ลิงก์เสีย]
- ↑ "นับถอยหลัง 10วัน !! พระราชพิธีอภิเษกสมรสเจ้าชายวิลเลี่ยม & เคท มิดเดิลตัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-26. สืบค้นเมื่อ 2011-04-26.