เทริด ([เซิด]; อังกฤษ: tiara) เป็นมงกุฎรูปแบบหนึ่ง โบราณเป็นรูปกรวยสูงปลายแคบ ทำจากผ้าหรือหนังสัตว์ อลงกตด้วยอัญมณีต่าง ๆ เป็นราชภัณฑ์สำหรับกษัตริย์หรือจักรพรรดิ โดยเฉพาะในยุคเมโสโปเตเมีย ต่อมาเปลี่ยนไปเป็นทรงเตี้ย ทำจากโลหะต่าง ๆ ประดับอัญมณี ในประเทศไทยเองก็มีหลักฐานการสวมเทริดมานาน เช่น ปูนปั้นรูปบุคคลหรือพระพุทธรูปสวมเทริดขนนก สมัยพุทธศตวรรษที่ 18 พบที่โบราณสถานเนินทางพระ จังหวัดสุพรรณบุรี[1][2]

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงเทริด

เทริดมโนราห์ แก้

 
นักแสดงมโนราห์สวมเทริด

ในภาคใต้ของประเทศไทย มีการใช้เทริดสำหรับการแสดงมโนราห์ เรียกว่า เทริดมโนราห์ หรือ เทริดโนรา เป็นเครื่องสวมศีรษะ มีรูปลักษณ์คล้ายกับชฎาแต่มีสัณฐานสั้นกว่า ทำจากโลหะหรือไม้ ประดับตกแต่งด้วยการปั้นรักติดเป็นลวดลาย ลงรักปิดทอง และประดับด้วยกระจกสีหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม เดิมเทริดเป็นเครื่องสวมศีรษะสำหรับนักแสดงชายเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีการออกแบบเทริดหน้านางสำหรับผู้หญิงด้วย[3]

ทั้งนี้ เทริดมโนราห์ มีองค์ประกอบคือ ยอดเทริด เพดานเทริด โครงรอบศีรษะ และใบหู โดยประกอบจากไม้มงคลหลายชนิด กล่าวคือ ยอดเทริดทำจากไม้ยอ เพื่อให้ผู้คนสรรเสริญเยินยอ เพดานเทริดทำจากไม้ทองหลาง เพื่อให้เงินทองไหลมาเทมา โครงรอบศีรษะทำจากไผ่สีสุก เพื่อให้ชีวิตและการงานมีแต่ความสุขความเจริญ และใบหูทำจากไม้รัก เพื่อให้คนรัก หลงใหล และเมตตาเอ็นดู เป็นต้น[4]

นอกจากนี้ในการแสดงมโนราห์แขก หรือโนราควน ซึ่งเป็นการแสดงลูกผสมระหว่างมโนราห์ของชาวไทยพุทธ กับมะโย่งของชาวไทยเชื้อสายมลายู ก็จะสวมเทริดเช่นเดียวกับมโนราห์ หากแต่นิยมห้อยอุบะด้วย ถือเป็นอัตลักษณ์สำคัญ[5]

อ้างอิง แก้

  1. "เศียรพระพุทธรูปสวมเทริดขนนก". พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุพรรณบุรี. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2565. {{cite web}}: ข้อความ "publisher" ถูกละเว้น (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "เศียรบุรุษสวมมงกุฎทรงเทริด". Digital Museum. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. "เทริด". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง. 8 กันยายน 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-23. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. จริยา รัตนพันธุ์ และภูมิ จิระเดชวงศ์ (8 มีนาคม 2565). "เทริดมโนราห์". คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. "การละเล่นพื้นบ้านภาคใต้ - โนราแขก". คลังเอกสารสาธารณะ. 9 ธันวาคม 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-23. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)