รักใหญ่ ฮักหลวง (คำเมือง) หรือ รักพม่า[2] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gluta usitata) เป็นพืชในวงศ์มะม่วง มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคอินโดจีน[3]

รักใหญ่
ภาพประกอบจาก Plantae Asiaticae Rariores
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: เงาะ
วงศ์: วงศ์มะม่วง
วงศ์ย่อย: Anacardioideae
สกุล: Gluta
(Wall.) Ding Hou.
สปีชีส์: Gluta usitata
ชื่อทวินาม
Gluta usitata
(Wall.) Ding Hou.
ชื่อพ้อง[1]

Melanorrhoea usitata Wall.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

รักใหญ่เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-25 เมตร มีขนสั้นหนานุ่มตามกิ่งอ่อน ช่อดอก กลีบเลี้ยงด้านในและกลีบดอกทั้งสองด้าน ใบเรียงเวียนรูปรี ขอบขนานหรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 12-36 เซนติเมตร ปลายใบมน กลมหรือแหลม แผ่นใบหนา มีขนประปราย ก้านใบยาว 1.5-3 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อแบบแยกแขนง ยาวได้ถึง 35 เซนติเมตร มีดอกจำนวนมาก กลีบเลี้ยงคล้ายหมวกแฉกลึกด้านเดียว ยาวได้ถึง 7 มิลลิเมตร ร่วงเร็ว ดอกสีขาวอมชมพูมี 5-7 กลีบ รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ติดบนฐานดอกนูน (torus) ยาวเท่า ๆ กลีบดอก รังไข่มีช่องเดียว มีก้านสั้น ๆ ก้านเกสรเพศเมียสั้น ยอดเกสรมีขนยาว ผลเป็นแบบผนังชั้นในแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-3 เซนติเมตร มีปีกที่ขยายมาจากกลีบดอกรูปขอบขนาน ยาว 5-10 เซนติเมตร ปลายปีกมน มีเส้นกลีบ ก้านผลยาว 1.5-2 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดเดียว[4]

สรรพคุณและการใช้ประโยชน์ แก้

เปลือกต้นรักใหญ่มีรสเมา ใช้ต้มดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้กามโรค บิดและโรคเรื้อน เปลือกรากมีรสเมาเบื่อ แก้พยาธิลำไส้ รักษาโรคผิวหนัง เมล็ดใช้แก้ปากคอเปื่อย แก้ปวดฟัน น้ำยางจากรักใหญ่ใช้เป็นน้ำยาเคลือบเงาธรรมชาติ น้ำยางมีสารอูรูชิออล[5] และสารอนุพันธ์ของแคทีชอล (C6H4(OH)2)[6] ในรูปของทิตซิออลซึ่งเป็นสารสำคัญในยางรักชนิดนี้ มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อผิวหนัง[5] นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาถ่ายอย่างรุนแรง น้ำยางรักใหญ่ผสมน้ำผึ้งใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง[7][8]

อ้างอิง แก้

  1. Ding Hou (1978) in: Blumea, 24(1): 14
  2. Melanorrhoea usitata เก็บถาวร 2012-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at ZipcodeZoo.com
  3. Wiersema, John H.; León, Blanca. "World Economic Plants: A Standard Reference, Second Edition". Google Books. สืบค้นเมื่อ July 14, 2017.
  4. สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ), ราชันย์ ภู่มา และคณะ, หน้า 373, พ.ศ. 2559, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรุงเทพฯ
  5. 5.0 5.1 "Economically Important Plant Families". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-27. สืบค้นเมื่อ 13 June 2010.
  6. Boonjaeng, Somsak. "Characterization of Gluta UsitataSap and Adhesion on Ceramic Surfac". Industrial Technology Lampang Rajabhat University Journal. 11 (2): 92.
  7. "รักใหญ่ - Gluta usitata (Wall.) Ding Hou". ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ July 14, 2017.
  8. "รักใหญ่ - Gluta usitata (Wall.) Ding Hou". ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. สืบค้นเมื่อ July 14, 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้