ไผ่สีสุก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Monocots
ไม่ได้จัดลำดับ: Commelinids
อันดับ: Poales
วงศ์: Poaceae
สกุล: Bambusa
สปีชีส์: B.  blumeana
ชื่อทวินาม
Bambusa blumeana
Schult. & Schult.f.

ไผ่สีสุก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa blumeana) เป็นพืชในวงศ์หญ้า (Poaceae) กระจายพันธุ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไผ่ลำต้นสูง 10-18 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 8-12 ซม. ลำแข็ง ผิวเรียบเป็นมัน ข้อไม่พองออก มีกิ่งมากแตกตั้งฉากกับลำต้น หนามโค้งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 อัน อันกลางยาวกว่า ลำมีรูเล็กเนื้อหนา ใบมีจำนวน 5-6 ใบ ที่ปลายกิ่ง ปลายใบเรียวแหลม โคนเป็นรูปลิ่มกว้าง หรือตัดตรง แผ่นใบกว้าง 0.8-2 ซม. ยาว 10-20 ซม. ใต้ใบมีสีเขียวอมเหลือง เส้นลายใบมี 5-9 คู่ ก้านใบสั้น ขอบใบสาก ครีบใบเล็กมีขน ดอกเป็นช่อ ส่วนมากอายุราว 30 ปีจะออกดอกหนึ่งครั้ง หน่อมีขนาดใหญ่ มีกาบสีเหลืองห่อหุ้ม ขนที่หน่อเป็นสีน้ำตาล[1]

ไผ่สีสุกเป็นไม้มงคลนาม ในอดีตนิยมปลูกไว้เป็นรั้ว นอกจากหน่อไม้ที่รับประทานได้แล้ว ใบไผ่สีสุกยังใช้เป็นยาขับฟอกโลหิตระดู ตาของลำไผ่สุมไฟเป็นถ่านกินแก้ร้อนใน กระหายน้ำ รากมีรสกร่อยเฝื่อนเล็กน้อย ใช้เป็นยาขับปัสสาวะและขับระดูได้ ลำของไผ่สีสุกมีความเหนียวทนทาน ใช้ทำเครื่องจักสาน เครื่องเรือนและนั่งร้าน[2]

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้