พระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2476

ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ขณะที่ประเทศไทยกำลังปรับตัวเข้าสู่การปกครองระบอบใหม่นั้น มีผู้ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกับรัฐบาลหรือไม่ตรงกับระบบใหม่จำนวนมาก และการจะปราบปรามบุคคลเหล่านี้รัฐบาลก็ได้อาศัยวิธีการออกกฎหมายต่างๆ ขึ้นมาจัดการกับพฤติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์และกำหนดให้เป็นความผิดตามกฎหมาย ผู้ใดฝ่าฝืนกฎหมายกระทำการที่ได้บัญญัติไว้ก็ถือเป็นความผิดและต้องรับโทษ ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการออกกฎหมายเช่นนี้มาก่อนหน้านี้แล้วได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ 2476 โดยรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ส่วนพระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญนั้นออกมาโดยรัฐบาลพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เมื่อ 4 พฤศจิกายน 2476[1] หลังการรัฐประหารครั้งแรกในประเทศไทย มีจำนวนทั้งสิ้น 6 มาตรา

พระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2476
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ตราสภาผู้แทนราษฎร
วันตรา5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476
ผู้ลงนามพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้ลงนามรับรองพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
วันประกาศ12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476
วันเริ่มใช้12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476
ท้องที่ใช้ประเทศสยาม
การยกเลิก
พระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2481

เนื่องจากก่อนการรัฐประหารมีการปิดสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา พระราชบัญญัตินี้จึงอาจเป็นการตอบโต้กับการการะทำของฝ่ายพระยามโนปกรณ์นิติธาดา อย่างไรก็ตามในพระราชบัญญัตินี้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐในการกักบริเวณผู้ต้องสงสัยได้เป็นเวลาถึงสิบปี และยังได้กำหนดระวางโทษการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญไว้สามปีถึงยี่สิบปีหรือปรับตั้งแต่ 500 บาทจนถึง 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

พระราชบัญญัตินี้ยังถูกใช้ในการตัดสินคดีกบฏนายสิบในปี พ.ศ. 2478 อีกด้วย ปรากฏตามคำพิพากษาของศาลพิเศษ

จัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญนี้ถูกยกเลิกไปในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติจัดการป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ เมื่อ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2481[2] จากนั้นต่อมาอีก 9 ปีจึงเกิดเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งยกเลิกรัฐธรรมนูญในขณะนั้นและนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 หรือที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญ "ฉบับใต้ตุ่ม" หรือ "ฉบับตุ่มแดง" มาใช้แทน

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 หน้า 638 วันที่ 12 พฤศจิกายน 2476
  2. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 55 หน้า 288 วันที่ 22 สิงหาคม 2481