พระพรหมกวี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ)
พระพรหมกวี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ ป.ธ.8) เป็นอดีตเจ้าคณะภาค 10 อดีตเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร
พระพรหมกวี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | พระเดชพระคุณ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2476 (77 ปี 258 วัน ปี) |
มรณภาพ | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | เปรียญธรรม 8 ประโยค นักธรรมชั้นเอก |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | 23 กันยายน พ.ศ. 2500 |
พรรษา | 57 |
ตำแหน่ง | อดีตเจ้าคณะภาค10 อดีตเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร |
ประวัติ
แก้พระพรหมกวี มีนามเดิม วรวิทย์ ธรรมวรางกูร(เพียสีนุย) เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ปีระกา เป็นบุตรของนายคำมา ธรรมวรางกูร (เพียสีนุย) และนางคำ ธรรมวรางกูร ณ บ้านหนองบัว หมู่ที่ 9 ตำบลนนทรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี[1]
อุปสมบท
แก้อุปสมบทเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 ณ วัดอินทรแบก อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีพระวิสุทธิธรรมาจารย์ (ทรัพย์) วัดใหม่กรงทอง อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์[1]
ศาสนกิจ
แก้พระพรหมกวีได้ศึกษาพระปริยัติธรรมที่สำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์จนสอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยค ต่อมาได้รับอาราธนาให้ย้ายจากวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดโมลีโลกยาราม ได้ฟื้นฟูวัดและสำนักเรียนวัดโมลีโลกยารามจนกลายเป็นวัดที่มีชื่อเสียงในด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมจนถึงปัจจุบัน โดยมีพระลูกศิษย์สำคัญที่สานต่อปณิธานด้านการศึกษาต่อจากพระพรหมกวีคือ พระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์ วรทสฺสี ป.ธ.9),ดร. เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
ท่านมีความชำนาญด้านกฎหมายคณะสงฆ์ ด้านงานสารบรรณ ด้านสังฆกรรม และด้านกวีนิพนธ์ อาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นนักกวีที่เป็นพระสงฆ์ที่โดนเด่นที่สุดในยุคนั้น นอกจากนั้นท่านเป็นเลขานุการเจ้าคณะภาค 10 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เป็นรองเจ้าคณะภาค 10 เป็นพระอุปัชฌาย์วิสามัญ เป็นเจ้าคณะภาค 10 ถึง 5 สมัย เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 6 ถึง 4 สมัย เป็นเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม รูปที่ 12 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นต้น
ในด้านสาธารณูปการนั้น ท่านพลิกฟื้นเสนาสนะสงฆ์ในเขตพุทธาวาส และอาณาบริเวณของวัดโมลีโลกยารามที่ทรุดโทรมอย่างหนัก เมื่อมาเป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ. 2540 ในปีพ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2551 ได้เริ่มบูรณะเสนาสนะสงฆ์รวมทั้งเขตพุทธาวาสอย่างจริงจัง ทำให้มีเสนาสนะที่อยู่อาศัยสำหรับพระภิกษุสามเณรอย่างเพียงพอนอกจากนั้น ท่านได้สร้างศูนย์การคณะสงฆ์ภาค 10 ทั้งในส่วนอาณาบริเวณ อาคารหอประชุม เป็นต้น เพื่อใช้เป็นประโยชน์แก่การคณะสงฆ์และการพระศาสนาภาค 10 นับเป็นศูนย์การคณะสงฆ์ระดับภาคแห่งแรกอย่างเป็นทางการ
ในด้านการศาสนศึกษา ท่านได้พลิกฟื้นสำนักเรียนวัดโมลีโลกยารามจากการที่มีผู้สอบบาลีได้เพียง 2-3 รูป เท่านั้น ในปี พ.ศ. 2540 เมื่อได้รับการพัฒนาและบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้มีผู้สอบได้มากถึง 80-90 รูป ในแต่ละปี ทำให้สำนักเรียนที่ทรุดโทรมแห่งนี้โดดเด่นขึ้นเป็นสำนักเรียนดีเด่น มีผู้สอบบาลีได้มากที่สุดในกรุงเทพมหานครหลายสมัย มีพระภิกษุสามเณรได้รับทุนเล่าเรียนหลวงในโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทยมากกว่า 30 รูป นับได้ว่าท่านมีผลงานที่ยิ่งใหญ่ฝากไว้แก่อนุชน ทั้งด้านการศาสนศึกษา การปกครอง การสาธารณูปการ การเผยแผ่ รวมทั้งบทกวีนิพนธ์ที่เป็นอมตะอีกมากมาย[2]
สมณศักดิ์
แก้- สอบได้ เปรียญธรรม 8 ประโยค สำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
- พ.ศ. 2517 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีสุธรรมมุนี
- พ.ศ. 2523 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเมธี ศรีประสาธน์สุตาคม อุดมปฏิปกร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
- พ.ศ. 2539 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพปริยัติสุธี ศรีวรวุฒิกิจ ตรีปิฎกวิภูษิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
- พ.ศ. 2545 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปริยัติโสภณ วิมลศีลาจาร สุวิธานปริยัติกิจ ตรีปิฎกวิภูษิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
- พ.ศ. 2553 ได้รับสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระพรหมกวี ศีลาจารโสภณ วิมลศาสนกิจวิธาน ไพศาลปริยัตินายก ตรีปิฎกวิภูษิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
มรณภาพ
แก้ขณะที่พระพรหมกวีเดินทางไปงานพระราชทานเพลิงศพที่อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ถึงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ระหว่างเดินทางผ่านถนนเขตอำเภอตระการพืชผล เวลา 14.00 น. ได้เกิดอุบัติเหตุเพราะคนขับหลับใน ทำให้รถเสียหลักพุ่งตกคลอง ท่านได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ขาขวาหัก หมดสติ ถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลตระการพืชผล แล้วส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และมรณภาพจากภาวะเลือดคั่งในสมอง[5] เมื่อเวลา 17.45 น.[6] สิริอายุได้ 77 ปี 258 วัน พรรษา 57
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 พระพรหมกวี (วรวิทย์ คงฺคปยฺโญ) เก็บถาวร 2019-04-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร
- ↑ "วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร". www.watmoli.org.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 119, ตอนที่ 23 ข, 11 ธันวาคม 2545, หน้า 3
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 128, ตอนที่ 9 ข, 1 มิถุนายน 2554, หน้า 10-11
- ↑ "'พระพรหมกวี'รองสมเด็จฯอุบัติเหตุรถตู้ถึงมรณภาพ". ไทยรัฐ. 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระพรหมกวี เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม ถึงมรณภาพ" (PDF). มหาเถรสมาคม. 10 มีนาคม พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)[ลิงก์เสีย]
ก่อนหน้า | พระพรหมกวี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) | เจ้าคณะภาค 10 (พ.ศ. 2535 - 2554) |
พระธงชัย สุขญาโณ (อดีตพระพรหมสิทธิ) | ||
ไม่มี | ราชทินนาม "พระพรหมกวี" (พ.ศ. 2553 - 2554) |
พระพรหมกวี (ประกอบ ธมฺมเสฎฺโฐ) | ||
พระรัตนมุนี (โสม ปญฺญาวุฑฺโฒ) | เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม (พ.ศ. 2543 - 2554) |
พระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์ วรทสฺสี) |