พระที่นั่งราเชนทรยาน
พระที่นั่งราเชนทรยาน เป็นพระราชยานที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นโดยช่างหลวง เป็นทรงบุษบกย่อมุมไม้สิบสอง หลังคาซ้อน 5 ชั้น สร้างจากไม้แกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจก พนักพิงและกระจังปฏิญาณแกะสลักเป็นภาพเทพพนมไว้ตรงกลาง ครุฑยุดนาคซึ่งประดับที่ฐานที่ 14 ตัว มีคานสำหรับหาม 4 คาน แต่เวลาปกติจะคงคานประจำไว้ 2 คาน การประทับจะต้องนั่งห้อยพระบาท ความสูงจากฐานถึงยอดสูง ราว 4.15 เมตร กว้าง 103 ซม. ยาว 191 ซม. พระที่นั่งราเชนทรยานนี้สร้างคู่กับพระราชยานกงและพระวอสีวิกากาญจน์
พระที่นั่งราเชนทรยาน | |
---|---|
พระที่นั่งราเชนทรยาน (2 องค์ตรงกลาง) พระยานมาศสามลำคาน (ขวาหน้า) และพระมหาพิชัยราชรถ (ซ้ายเบื้องหลัง) | |
ภาพรวม | |
เริ่มผลิตเมื่อ | ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (จำนวน 2 องค์) |
ผู้ออกแบบ | ช่างสิบหมู่ ภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร |
ตัวถังและช่วงล่าง | |
ประเภท | ราชยาน[1] |
โครงสร้าง | ทรงบุษบก ย่อมุมไม้สิบสอง หลังคาซ้อน 5 ชั้น |
มิติ | |
ความยาว | 1.91 เมตร[2] |
ความกว้าง | 1.03 เมตร[2] |
ความสูง | 4.15 เมตร (จากฐานถึงยอด)[2] |
พระที่นั่งราเชนทรยานใช้เวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนแห่ อย่างใหญ่ที่เรียกว่า ขบวนสี่สาย เช่น ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จะเสด็จพระราชดำเนินจากพระราชมณเฑียร ไปถวายสักการะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนั้นแล้วยังใช้ในการเชิญพระบรมโกศพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระบรมราชินีจากพระเมรุมาศท้องสนามหลวง เข้าสู่พระบรมมหาราชวังด้วย
ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พระที่นั่งภิมุขมณเฑียร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในความดูแลของกรมศิลปากร ในปี พ.ศ. 2527 ได้เชิญออกมาซ่อมบูรณะ และต่อมาปี พ.ศ. 2539 เชิญมาใช้ในการเชิญพระโกศพระบรมอัฐิสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี[3] ในปี พ.ศ. 2551 พระที่นั่งราเชนทรยานได้นำออกมาเชิญพระโกศพระอัฐิสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์[4] ในปี พ.ศ. 2555 ใช้เชิญพระโกศพระอัฐิสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีจากพระเมรุท้องสนามหลวงกลับเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง และครั้งล่าสุด ในปี พ.ศ. 2560 เพื่อใช้ในการอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
อนึ่ง ในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์นั้น จะมีการจัดสร้าง "พระที่นั่งราเชนทรยานน้อย" เพิ่มอีกองค์หนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายพระที่นั่งราเชนทรยานแต่ขนาดเล็กกว่า ใช้อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารของพระมหากษัตริย์แทนพระวอสีวิกากาญจน์ ส่วนองค์ที่ใช้อัญเชิญพระบรมอัฐิจะยังคงเรียกว่า "พระที่นั่งราเชนทรยาน" ตามเดิม
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของพระที่นั่งราเชนทรยาน
แก้ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ‘ราชรถ ราชยาน’ เครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ ร.9, เว็บไซด์:www.matichon.co.th .วันที่ 24 ตุลาคม 2560
- ↑ 2.0 2.1 2.2 พระที่นั่งราเชนทรยาน ศิลปกรรมชิ้นเอกแห่งยุครัตนโกสินทร์ เก็บถาวร 2017-08-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซด์:www.posttoday.com .วันที่ 16 สิงหาคม 2560
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-29. สืบค้นเมื่อ 2009-01-05.
- ↑ http://thainews.prd.go.th/hrhprince/index.php?option=com_content&task=view&id=10&Itemid=8[ลิงก์เสีย]