ผ่องศรี แซ่จึง
ผ่องศรี แซ่จึง (เกิด 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดศรีสะเกษ และเป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอราษีไศล[1]
ผ่องศรี แซ่จึง | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | ปวีณ แซ่จึง |
ประวัติ
แก้ผ่องศรี แซ่จึง เดิมชื่อ ผ่องศรี เย็นใจ เกิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี การศึกษบัณฑิต (กศ.บ.) สาขามัธยมศึกษา จากวิทยาลัยวิชาการศึกษา[2] เธอสมรสกับ ปวีณ แซ่จึง
การทำงาน
แก้ผ่องศรี แซ่จึง สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 เธอไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งโดยให้สามี (ปวีณ แซ่จึง) ลงรับสมัครแทน
ผ่องศรี แซ่จึง ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 และได้รับเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 1
ผ่องศรี แซ่จึง กลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ในสังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 2 ส่วนนายปวีณ ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ
ในปี 2565 นายปวีณเปิดตัวย้ายไปร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย[3] ส่งผลให้เธอถูกกล่าวถึงว่าจะย้ายไปร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทยในการเลือกตั้งครั้งต่อไป[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ สตรีราษีไศล พัฒนาผ้าทอศรีกุลา เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากมั่นคง[ลิงก์เสีย]
- ↑ สภาผู้แทนราษฎร
- ↑ “ปวีณ แซ่จึง” แฉสิ้นไส้อยู่กับ “ทักษิณ” มา 20 ปี เห็นส.ส.เป็นแค่เบ๊
- ↑ สส.ผ่องศรี 1 ใน 3 พรรค พท.โผล่รับอนุทิน ลั่นยังไม่ออก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๖๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖