ปลาทูน่า

(เปลี่ยนทางจาก ปลาโอ)

ทูน่า หรือ ปลาโอ[2] เป็นปลาทะเลในเผ่า Thunnini ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของวงศ์ปลาอินทรี (แมคเคอเรล) Thunnini ประกอบด้วย 15 สปีชีส์ใน 5 สกุล[3] โดยแต่ละชนิดมีขนาดและความยาวแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ ปลาทูน่าหัวกระสุน (ความยาวสูงสุด 50 ซม., น้ำหนัก 1.8 กก.) จนถึง ปลาทูน่าครีบน้ำเงินแอตแลนติก (ความยาวสูงสุด 4.6 ม., น้ำหนัก 684 กก.) ครีบน้ำเงินแอตแลนติกมีความยาวเฉลี่ย 2 เมตร และเชื่อกันว่ามีอายุยืนยาวถึง 50 ปี ทูน่าจัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ เพราะเนื้อของปลาทูน่ามีสีชมพูหรือแดงเข้ม ต่างจากปลาทั่วไปที่มักจะมีเนื้อสีขาว โดยนิยมนำมาทำเป็นปลากระป๋อง หรือปรุงสดต่าง ๆ เช่น ซาซิมิ

ปลาทูน่า
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อิเปรเซียน-ปัจจุบัน , 56.0–0Ma [1]
ปลาทูน่า (จากบน): อัลบาคอร์, ครีบน้ำเงินแอตแลนติก, ท้องแถบ, ครีบเหลือง, ตาโต
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: Scombriformes
Scombriformes
วงศ์: วงศ์ปลาอินทรี
Scombridae
วงศ์ย่อย: วงศ์ปลาอินทรี
Scombrinae
เผ่า: Thunnini
Thunnini
Starks, 1910
สกุล

ปลาทูน่า มีลักษณะรวม คือ อาศัยอยู่เป็นฝูงในทะเลหรือมหาสมุทรห่างจากชายฝั่ง มีรูปร่างเพรียวคล้ายกระสวย บริเวณฐานครีบหูมีกลุ่มเกล็ดเล็ก ๆ ครีบหางเว้าลึก[4] เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วว่องไวมาก[5]

ศัพทมูลวิทยา

แก้

คำว่า "ทูน่า" มาจากคำในภาษาสเปนว่า atún < ภาษอาหรับอันดาลูซีอา at-tūn แผลงจาก อัตตูน التون [อาหรับสมัยใหม่ التن] : 'ปลาทูน่า' < ภาษาละตินสมัยกลาง thunnus[6] Thunnus มาจาก กรีกโบราณ: θύννος, อักษรโรมัน: thýnnos ที่ใช้เรียกปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ[7] ซึ่งแปลงมาจากคำว่า θύνω thýnō หมายถึง "ที่พุ่ง; ที่โผ"[8][9]

ส่วนคำว่า "ปลาโอ" ซึ่งเป็นชื่อในภาษาไทย [4]จะหมายถึง ปลาทูน่าขนาดเล็ก ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 40-100 เซนติเมตร[2]

การจำแนก

แก้
  • วงศ์ Scombridae
    • เผ่า Thunnini: ปลาทูน่า
      • สกุล Allothunnus:
      • สกุล Auxis:
      • สกุล Euthynnus:
      • สกุล Katsuwonus: ปลาทูน่าท้องแถบ
      • สกุล Thunnus: ปลาอัลบาคอร์, ปลาทูน่าแท้
        • สกุลย่อย Thunnus (Thunnus): กลุ่มปลาทูน่าครีบน้ำเงิน
        • สกุลย่อย Thunnus (Neothunnus): กลุ่มปลาทูน่าครีบเหลือง[3]

ปลาทูน่า ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ มีความยาวตั้งแต่ปลายหัวจรดหาง 458 เซนติเมตร น้ำหนัก 684 กิโลกรัม โดยปลาทูน่าจัดเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วมาก เพราะมีรูปร่างเหมือนตอร์ปิโด สามารถว่ายน้ำได้เร็ว 70-74 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นรองเพียงปลากระโทงแทง ซึ่งเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลกเท่านั้น[5]

ปลาทูน่า: เผ่า Thunnini ในวงศ์ Scombridae
family Scombridae 
 subfamily
 subfamily
Scombrinae 
tribe Scombrini 

 Mackerels (two genera)  

tribe Scomberomorini 

 Spanish mackerels (three genera)  

tribe Sardini 

 Bonitos (four genera)  

 tribe Thunnini,
 Tunas 

 Allothunnus, slender tunas

 Auxis, frigate tunas  

 Euthynnus, little tunas  

 Katsuwonus, skipjack tunas  

 Thunnus, true tunas 
 subgenus Thunnus

 bluefin group  

 subgenus Neothunnus

 yellowfin group  

แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์: ปลาทูน่าจัดให้อยู่ในเผ่า Thunnini (ล่างกลางของแผนภาพ) – หนึ่งใน 4 เผ่าในวงศ์ Scombridae.[3]

อ้างอิง

แก้
  1. "Tribe Thunnini Starks 1910". The Paleobiology Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2019.
  2. 2.0 2.1 "คู่มือการจำแนกปลาโอและปลาทูน่าในภาคสนาม" (PDF). กรมประมง.
  3. 3.0 3.1 3.2 Graham, Jeffrey B.; Dickson, Kathryn A. (2004). "Tuna Comparative Physiology". The Journal of Experimental Biology. 207 (23): 4015–4024. doi:10.1242/jeb.01267. PMID 15498947.
  4. 4.0 4.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2539. 972 หน้า. หน้า 966. ISBN 974-8122-79-4
  5. 5.0 5.1 หน้า 125-126, เดินเที่ยว Tokyo Sea Life Park คอลัมน์ Blue Planet โดย ดร.วรเทพ มุธุวรรณ. นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 25 ปีที่ 2: กรกฎาคม ค.ศ. 2012
  6. "tuna". American Heritage Dictionary. Houghton Mifflin Harcourt Publishing Company. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2015.
  7. Lewis, Charlton T.; Short, Charles (1879). "thunnus". A Latin Dictionary. Perseus Digital Library.
  8. θύννοςin Liddell, Henry George; Scott, Robert; A Greek–English Lexicon, revised and augmented throughout by Jones, Sir Henry Stuart, with the assistance of McKenzie, Roderick; Oxford, Clarendon Press, 1940
  9. θύνω in Liddell and Scott.

ข้อมูล

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้