ปลากัด เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีชื่อสกุลว่า Betta ในวงศ์ย่อย Macropodusinae ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae[1][2] ซึ่งคำว่า Betta เป็นภาษาละตินมาจากคำว่า "Bettah" มาจากเทพปกรณัมกรีก มีความหมายถึง "ชนชาติของผู้ที่เป็นนักรบ" [2]

ปลากัด
Betta albimarginata
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
อันดับ: Anabantiformes
วงศ์: วงศ์ปลากัด ปลากระดี่
วงศ์ย่อย: วงศ์ย่อยปลากัด
สกุล: ปลากัด (สกุล)
Bleeker, 1850
ชนิดต้นแบบ
Betta trifasciata
Bleeker, 1850
ชื่อพ้อง
  • Anostoma van Hasselt, 1859
  • Micracanthus Sauvage, 1879
  • Parophiocephalus Popta, 1905
  • Oshimia D. S. Jordan, 1919
  • Pseudobetta Richter, 1981

ลักษณะรูปร่างและพฤติกรรม แก้

 
Betta splendens (ปลากัด)

มีรูปร่างโดยทั่วไปลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก แต่ริมฝีปากหนาและมีขนาดใหญ่ ดวงตามีขนาดใหญ่ ครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม มีครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัสและเห็นได้ชัดเจนในปลาตัวผู้ เป็นปลาขนาดเล็กมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 6 เซนติเมตร โดยที่เป็นปลาที่ไม่มีเส้นข้างลำตัว แต่ในบางชนิดกลับมีเส้นข้างลำตัวแต่ไม่สมบูรณ์[2] เป็นปลาที่มีความแตกต่างระหว่างตัวผู้และตัวเมียอย่างมาก โดยที่ปลาตัวผู้จะมีสีสันที่สดสวยกว่า และมีลำตัวใหญ่กว่าอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและมีสีสันไม่สวยเท่า ที่สำคัญที่ใต้ท้องจะมีจุดสีขาวเด่นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเรียกว่า "ไข่นำ" เป็นอวัยวะที่ปล่อยไข่ออกมาจากช่องท้องเวลาผสมพันธุ์

เป็นปลาที่มีพฤติกรรมดุร้ายก้าวร้าว ในบางชนิดอาจจะมีการกัดกันถึงตายได้ เมื่อพบกัน พฤติกรรมเวลาผสมพันธุ์ ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายเกี้ยวพาปลาตัวเมีย และจะใช้ลำตัวพันรัดปลาตัวเมียให้ปล่อยไข่ออกมา พร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อออกมาเพื่อปฏิสนธิ โดยที่ปลาตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลไข่ โดยจะสร้างน้ำลายผสมกับอากาศเป็นฟองก่อเป็นกอบริเวณผิวน้ำ เรียกว่า "หวอด" เพื่อนำไข่ไปเกาะไว้กับหวอด เพื่อรอฟักเป็นตัว[3]

แต่ก็มีปลาในอีกหลายชนิดในสกุลนี้ ที่มีพฤติกรรมแตกต่างไปจากปลาที่ก่อหวอดนี้ โดยปลากัดจำพวกนี้ มักมีสีสันไม่สดสวยเท่า และมีพฤติกรรมไม่ดุร้ายก้าวร้าว ซ้ำยังชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มีส่วนหัวที่โต แต่มีครีบต่าง ๆ เล็ก เมื่อผสมพันธุ์และวางไข่จะไม่สร้างหวอด แต่จะใช้วิธีการฟักไข่ในปาก ซึ่งเรียกกันว่า "ปลากัดอมไข่"[4]

พบแพรกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในแหล่งน้ำจืดหลากหลายประเภท ไปจนถึง แหล่งน้ำที่เป็นลำธารจากน้ำตกบนภูเขาที่กระแสน้ำไหลเชี่ยว ไปจนถึงพรุที่มีสภาพความเป็นกรดของน้ำ (pH) ค่อนข้างสูงอีกด้วย

มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการเลี้ยงไว้เป็นปลาสวยงามในหลายชนิด ทั้งประเภทก่อหวอดและอมไข่ ในบางชนิดเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะของปลานักสู้ที่กัดกันจนตัวตาย จนเป็นการละเล่นการพนันในประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ต่าง ๆ ให้ออกมาสวยงามมากมาย คือ ชนิด B. spendens

การจำแนก แก้

ปลากัดที่พบในประเทศไทย แก้

กลุ่ม/สกุล ชื่อไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ การค้นพบ
B. picta ปลากัดอมไข่กระบี่ Betta simplex Kottelat, 1994
B. pugnax ปลากัดอมไข่ปีนัง Betta pugnax Cantor, 1849
ปลากัดหัวโม่งจันทบุรี Betta prima Kottelat, 1994
ปลากัดอมไข่ภาคใต้ 1 Betta pallida I. Schindler & J. Schmidt, 2004
ปลากัดอมไข่ภาคใต้ 2 Betta apollon I. Schindler & J. Schmidt, 2006
ปลากัดอมไข่สงขลา Betta ferox I. Schindler & J. Schmidt, 2006
B. splendens ปลากัดภาคกลาง Betta splendens Regan, 1910
ปลากัดอีสาน Betta smaragdina Ladiges, 1972
ปลากัดภาคใต้ Betta imbellis Ladiges, 1975
ปลากัดตะวันออก Betta siamorientalis Kowasupat, Panijpan, Ruenwongsa & Jeenthong, 2012
ปลากัดมหาชัย Betta mahachaiensis Kowasupat, Panijpan, Ruenwongsa & Sriwattanarothai, 2012
B. waseri ปลากัดช้าง Betta pi H. H. Tan, 1998

ปลากัดที่พบทั่วโลก แก้

 
คู่ Betta smaragdina
 
Betta tussyae เพศผู้

ปัจจุบันมีการค้นพบปลาในสกุลนี้แล้ว 75 ชนิด ซึ่งเป็นสกุลที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดของวงศ์นี้[5] โดยมีการแบ่งชนิดไปเป็นกลุ่มชนิด (species complex) ได้ดังนี้:[1][6][7][8]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2019). Species of Betta in FishBase. March 2019 version.
  2. 2.0 2.1 2.2 สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 257 หน้า. หน้า 190. ISBN 974-00-8738-8
  3. ความหมายของคำว่า หวอด ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  4. ปลากัดอมไข่
  5. หน้า 28, Betta smaragdina Ladiges 1972. "Mini Atlas" โดย สุริศา ซอมาดี. Aquarium Biz ฉบับที่ 47 ปีที่ 4: พฤษภาคม 2014
  6. "Species Complex Management". International Betta Congress Species Maintenance Program. สืบค้นเมื่อ 2006-07-01.
  7. "Betta". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 30 June 2006.
  8. Tan, H.H.; Ng, P.K.L. (2005). "The fighting fishes (Teleostei: Osphronemidae: genus Betta) of Singapore, Malaysia and Brunei". Raffles Bulletin of Zoology. 13: 43–99.
  9. Tan Heok Hui (2009). "Betta pardalotos, a new species of fighting fish (Teleostei: Osphronemidae) from Sumatra, Indonesia". The Raffles Bulletin of Zoology. 57 (2): 501–504.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้