ปลากัดอมไข่กระบี่
ปลากัดอมไข่กระบี่ หรือ ปลากัดหัวโม่งกระบี่[2] เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta simplex อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae เป็นปลากัดประเภทอมไข่ (Mouthbrooder) ชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย ปลาตัวผู้มีสีสันสวยงาม ครีบหลัง ครีบท้อง และครีบหางสีแดง ครีบท้องจะมีริมสีน้ำเงิน ปลาตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า หัวแหลมกว่า และสีสันไม่สวยงามเท่าตัวผู้ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 8 เซนติเมตร
ปลากัดอมไข่กระบี่ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | Anabantiformes Anabantiformes |
วงศ์: | วงศ์ปลากัด ปลากระดี่ Osphronemidae |
สกุล: | ปลากัด (สกุล) Betta Kottelat, 1994 |
สปีชีส์: | Betta simplex |
ชื่อทวินาม | |
Betta simplex Kottelat, 1994 |
ปลากัดอมไข่กระบี่ เป็นปลาที่พบเฉพาะกอหญ้าริมลำธารที่น้ำไหลเอื่อย ๆ ซึ่งเป็นลำธารที่ไหลมาจากภูเขาหินปูนที่น้ำมีความกระด้างและมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 7.5–8.5 มีแคลเซียมคาร์บอเนตละลายสูง ในเขตจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียงเท่านั้น จัดเป็นปลาที่พบได้น้อยและถูกคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัย แต่ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยงโดยมนุษย์[2]
ปลากัดที่พบในประเทศไทย
แก้กลุ่ม B. picta:
แก้- ปลากัดอมไข่กระบี่ Betta simplex Kottelat, 1994
กลุ่ม B. pugnax:
แก้- ปลากัดปีนัง Betta pugnax Cantor, 1849
- ปลากัดหัวโม่งจันทบุรี Betta prima Kottelat, 1994
- ปลากัดอมไข่สงขลา Betta ferox I. Schindler & J. Schmidt, 2006
กลุ่ม B. splendens:
แก้- ปลากัดภาคกลาง (Siamese fighting fish) Betta splendens Regan, 1910
- ปลากัดอีสาน Betta smaragdina Ladiges, 1972
- ปลากัดภาคใต้ Betta imbellis Ladiges, 1975
- ปลากัดตะวันออก Betta siamorientalis Kowasupat, Panijpan, Ruenwongsa & Jeenthong, 2012
- ปลากัดมหาชัย Betta mahachaiensis Kowasupat, Panijpan, Ruenwongsa & Sriwattanarothai, 2012
กลุ่ม B. waseri:
แก้- ปลากัดช้าง Betta pi H. H. Tan, 1998
อ้างอิง
แก้- ↑ Vidthayanon, C. (2011). "Betta simplex". IUCN Red List of Threatened Species. 2011: e.T2777A9479973. doi:10.2305/IUCN.UK.2011-1.RLTS.T2777A9479973.en. สืบค้นเมื่อ 17 November 2021.
- ↑ 2.0 2.1 ชมปลากัดอมไข่ประบี่กับขุนเคย่ามเหลือง, คอลัมน์ Aqua Surveyโดย ธีรวัฒน์ อุทาพงษ์ หน้า 48-52. นิตยสาร Aquarium Biz Vol.2 issue 28: ตุลาคม 2012