ปรีชา เรืองจันทร์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
รองศาสตราจารย์พิเศษ ปรีชา เรืองจันทร์ (เกิด 4 มิถุนายน พ.ศ. 2498) เป็นข้าราชการชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดพิษณุโลกตามลำดับ ปัจจุบันเขาประกอบอาชีพเกษตรกรรมและทำหน้าที่เป็นอาจารย์พิเศษและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ปรีชา เรืองจันทร์ | |
---|---|
ปรีชาใน พ.ศ. 2566 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2498[1] จังหวัดพิจิตร ประเทศไทย |
คู่สมรส | ปิยธิดา เรืองจันทร์ |
บุตร | ประภัสสนันทน์ เรืองจันทร์ นนทนันทน์ เรืองจันทร์ |
ศิษย์เก่า | Cebu Doctors' University |
อาชีพ | ข้าราชการ |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้ปรีชาเกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ที่ตำบลวังสำโรง อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ในครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม[2] เขาเริ่มศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดหนองกอไผ่ ด้วยความที่เขาเป็นคนเรียนหนังสือดี จึงทำให้ครูไว้วางใจให้เขาเป็นผู้ช่วยครู จนกระทั่งเขาจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เขาจึงกลับมาทำเกษตรกรรม จนกระทั่งวันหนึ่งเขามีโอกาสเข้าสู่กรุงเทพมหานครและทำการสอบเทียบจนจบการศึกษาในระดับเทียบเท่า มศ. 5
เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากCebu Doctors' University ประเทศฟิลิปปินส์[3]
การรับราชการ
แก้ปรีชาบรรจุรับราชการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2519 ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนระดับ 3 สำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์ จากนั้นเขาได้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ ปลัดอำเภอในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ นายอำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ นายอำเภอวังทรายพูน และนายอำเภอเมืองพิจิตร ปลัดจังหวัดพิจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งระหว่างที่เขารับราชการนั้นเขาต้องเผชิญปัญหากับผู้มีอิทธิพลในแต่ละท้องที่ รวมถึงการบุกรุกที่ดินสาธารณะในขณะที่เขารับราชการอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์[2] และเนื่องด้วยการบริหารราชการที่ตรงไปตรงมาส่งผลให้เขามีปัญหากับผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นหลายครั้ง[2] โดยเขามักกล่าวกับพนักงานราชการภายใต้บังคับบัญชาของเขาเสมอว่า "หากล้มก็ขอให้ล้มคาหลัก หากตายก็ขอให้ตายคาหลัก"[2]
ต่อมาเขาได้รับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตใน พ.ศ. 2551[4][5] จากนั้นเขาได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดพิษณุโลก จนกระทั่งเกษียณอายุราชการใน พ.ศ. 2557 หลังเกษียณอายุราชการเขาได้รับการแต่งตั้งให้รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร[1] โดยดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560 จนถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 หลังจากนั้นเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรองศาสตราจารย์พิเศษ ทำหน้าที่เป็นอาจารย์พิเศษและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยนเรศวร[6][1]
ภาพลักษณ์
แก้ปัจจุบันหลังจากเกษียณอายุราชการเขาได้ใช้เวลาว่างไปกับการทำเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมของครอบครัวของเขา[7][8] และเขาเป็นที่จดจำจากการเป็นหนึ่งในผู้เป็นต้นแบบของการปฏิบัติตามหลักแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง[9][10]
ชีวิตส่วนตัว
แก้ปรีชาสมรสกับปิยธิดา เรืองจันทร์[11] (นามสกุลเดิม : นรารักษ์) มีบุตรและธิดารวม 2 คน ได้แก่ ป. ประภัสสนันทน์ เรืองจันทร์ (ชื่อเล่น : นุ่น) [11] และ ป. นนทนันทน์ เรืองจันทร์ (ชื่อเล่น : นาย) [11] นอกจากนี้เขายังสามารถร้องเพลงลูกทุ่งและตีกลองได้ โดยใช้ชื่อในวงการว่า รุ่ง พระลอ[2] โดยชื่อ "รุ่ง" เพื่อนของเขาได้ตั้งให้เป็นชื่อเล่นเนื่องจากเขาไม่ได้มีชื่อเล่นมาก่อน[2] ส่วน "พระลอ" มาจากการที่เขาชื่นชอบชินกร ไกรลาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเพลง ยอยศพระลอ[2]
ผลงานหนังสือ
แก้- ฉากชนบท (พ.ศ. 2542)
- คนกินอุดมการณ์ (พ.ศ. 2542)
- ลูกล่อลูกชนคนทำงาน (พ.ศ. 2542)
- ก็อดอามี่มณีลอยปลุกราชบุรีเขย่าโลก (พ.ศ. 2543)
- ขวัญใจชาวบ้าน (พ.ศ. 2544)
- น้ำฝนน้ำฟ้า น้ำตาน้ำก้อ (พ.ศ. 2544)
- คนแบกเสบียง (พ.ศ. 2545)
- สอนให้จำ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น (พ.ศ. 2549)
- ชีวิตต่าง วางหัวโขน (พ.ศ. 2560)
ผลงานทางวิชาการ
แก้- หนังสือเสริมการอ่าน “แม่ค้าขายผัก” (พ.ศ. 2528)
- จอมพล ป. พิบูลสงคราม : นายพลผู้สร้างนครบาลเพชรบูรณ์ (พ.ศ. 2549)
- การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม (พ.ศ. 2559)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้ปรีชาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ดังรายการต่อไปนี้
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2522 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[14]
- พ.ศ. 2544 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[15]
- พ.ศ. 2551 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[16]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 ตั้ง ดร.ปรีชา เรืองจันทร์ อดีตผวจ.ลูกชาวนา รรท.อธิการบดี ม.นเรศวร
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 จากเด็กเลี้ยงควายไถนา สู่ผู้ว่าฯ ตงฉิน ‘ปรีชา เรืองจันทร์’
- ↑ ปรีชา เรืองจันทร์ อดีตผู้ว่าฯ ดีกรีด็อกเตอร์ ใช้ชีวิตหลังเกษียณ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง "ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก"
- ↑ Preecha Ruangjan installed as new governor
- ↑ Gov Preecha transferred out in civil service reshuffle
- ↑ "รองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ปรีชา เรืองจันทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-19. สืบค้นเมื่อ 2023-01-31.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ แห่ชื่นชม!อดีตผู้ว่าฯติดดินหลังเกษียณทำนา
- ↑ ชื่นชมบุคคลตัวอย่าง! ดร.ปรีชา เรืองจันทร์ อดีตผู้ว่าฯพิษณุโลก เหชีวิตมาทำไร่ทำนา
- ↑ ร.10 ทรงมอบกระเช้า "ปรีชา เรืองจันทร์" บุคคลตัวอย่างด้านเศรษฐกิจพอเพียง
- ↑ "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชกระแสชมเชยและกระเช้าพระราชทาน แก่นายปรีชา เรืองจันทร์ อดีตผู้ว่าฯ พิจิตร ในฐานะบุคคลต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-02. สืบค้นเมื่อ 2023-02-02.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ 11.0 11.1 11.2 ตั้งอดีตผู้ว่าฯพอเพียงนั่งรรท.อธิการบดีม.นเรศวร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑๔, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๕๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑๗ กันยายน ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๕๙, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๑, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๗, ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒