บุญเพ็งหีบเหล็ก

บุญเพ็งหีบเหล็ก (พ.ศ. 2433 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2462) เป็นฉายาของบุญเพ็ง ซึ่งเป็นฆาตกรต่อเนื่องในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เขามีรูปแบบการฆาตกรรมด้วยการใช้ของมีคมสังหารเหยื่อ แล้วหั่นศพ ก่อนนำศพใส่หีบเหล็กถ่วงน้ำ ภายหลังเขาถูกประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะ และปลงศพที่วัดภาษี ซึ่งปัจจุบันมีศาลบูชาบุญเพ็งตั้งอยู่ภายในวัดนั้น

บุญเพ็ง
ภาพบุญเพ็ง เจ้าของฉายาบุญเพ็งหีบเหล็ก
เกิดบุญเพ็ง
พ.ศ. 2433
ท่าอุเทน ประเทศสยาม
เสียชีวิต19 สิงหาคม พ.ศ. 2462 (29 ปี)
วัดพลับพลาไชย พระนคร ประเทศสยาม
สาเหตุเสียชีวิตประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะ
สุสานวัดภาษี เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
สัญชาติจีน-ลาว
อาชีพพระสงฆ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านไสยศาสตร์
มีชื่อเสียงจากถูกกล่าวหาว่าเป็นฆาตกรต่อเนื่องหั่นศพแล้วใส่หีบเหล็ก
พิพากษาลงโทษฐานฆาตกรรมต่อเนื่อง
บทลงโทษถูกตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะ
รายละเอียด
วันที่19 สิงหาคม พ.ศ. 2462
ตาย2-7 คน
อาวุธมีดและดาบ
วันที่ถูกจับ
14 มกราคม พ.ศ. 2461

ประวัติ

แก้

บุญเพ็งเกิดในปีขาล ช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงในปี พ.ศ. 2433 [1] ที่เมืองท่าอุเทน มณฑลอุดร (ปัจจุบันเป็นอำเภอ ขึ้นกับจังหวัดนครพนม) บิดาเป็นจีน ส่วนมารดาเป็นลาว (อดีตไทยภาคกลางยังเรียกคนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่า ลาว) บุญเพ็งได้เข้ามาอยู่ในกรุงเทพมหานครตั้งแต่อายุ 5 ขวบ โดยอาศัยอยู่กับตาชื่อสุก และยายชื่อเพียร[2]

บุญเพ็งบวชเป็นภิกษุจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในเมืองนนทบุรี พระบุญเพ็งมีลูกศิษย์ส่วนมากเป็นผู้หญิงมีฐานะ พระบุญเพ็งจึงมีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้หญิงเหล่านี้ ต่อมาเกิดโลภมากในทรัพย์จึงได้ฆ่าสีกาที่เป็นเศรษฐินีเจ็ดคน แล้วนำศพยัดใส่หีบเหล็กแล้วถ่วงน้ำทุกครั้ง ผู้คนจึงเรียกเขาว่า "บุญเพ็งหีบเหล็ก" ต่อมาเขาถูกจับกุม เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2461 กำหนดวันประหาร เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2462 โดยบุญเพ็งเป็นนักโทษชายที่ถูกตัดสินโทษประหารชีวิตคนสุดท้าย ที่ถูกปลิดชีพด้วยการบั่นคอ (โดยเล่าลือว่าในตอนแรกขณะที่ประหารเพชฌฆาตไม่สามารถตัดคอบุญเพ็งได้เนื่องจากความแก่กล้าในคาถาอาคม) กรมหลวงชุมพรฯ ทรงเดินออกไปตรัสว่า ให้คลาย "ของขลัง" ออกจากปากเพราะเอ็งได้สร้างบาปกรรมไว้มากนะ จน บุญเพ็ง ได้ทำตามรับสั่ง และได้ประหารชีวิตที่วัดพลับพลาไชยในที่สุด[3] ต่อมา ศพฝังอยู่ที่ป่าช้า และทำพิธีกรรมทางศาสนาที่วัดภาษี เขตวัฒนา ริมคลองแสนแสบ ปัจจุบัน มีศาลบูชาบุญเพ็ง ซึ่งบุคคลในวัดจะเรียกบุญเพ็งว่า "ลุงบุญเพ็ง" และยังเชื่อว่าหีบเหล็กทั้ง 7 ใบนั้นถูกฝังอยู่ใต้ศาลของบุญเพ็งที่วัด[4]

สิ่งสืบเนื่อง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้