นารี ตัณฑเสถียร
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
นารี ตัณฑเสถียร ชื่อเล่น เปี้ยก เป็นอัยการสูงสุดของไทยคนที่ 17 นับเป็นหญิงคนแรกที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
นารี ตัณฑเสถียร | |
---|---|
อัยการสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | สิงห์ชัย ทนินซ้อน |
ถัดไป | อำนาจ เจตน์เจริญรักษ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 |
ศิษย์เก่า | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
อาชีพ | อัยการ |
ตลอดชีวิตการทำงาน เธอมีบทบาทและความเชี่ยวชาญโดดเด่นทางกฎหมายในด้านสัญญาจ้างและสัญญาร่วมลงทุน พลังงาน และการค้าระหว่างประเทศ[1]
ประวัติ
แก้นารีสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 19 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2] และเนติบัณฑิตไทย พร้อมปริญญาโทด้านกฎหมายเปรียบเทียบ Howard University, Washington DC, USA ปริญญาโทด้านกฎหมายระหว่างประเทศ American University, Washington DC, USA และปริญญาโทด้านกฎหมายการให้ความร่วมมือทางอาญาระหว่างประเทศ Vrije Unversity of Brussel, Belgium (ทุนรัฐบาลเบลเยียม)[3]
การทำงาน
แก้เธอเริ่มทำงานปี พ.ศ. 2528 ในสำนักงานคดีอาญาธนบุรี สำนักงานคดีอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย โดยทำหน้าที่ให้คำปรึกษากฎหมายแก่หน่วยงานภาครัฐ และเจรจา ตรวจร่างสัญญาภาครัฐ นอกจากนี้ นางสาวนารียังเคยดำรงตำแหน่งเลขานุการอัยการสูงสุด ในช่วงการดำรงตำแหน่งของตระกูล วินิจนัยภาค อดีตอัยการสูงสุด และได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการข้าราชการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิติดกันถึง 2 สมัย[4]
เธอยังได้รับผิดชอบคดีสำคัญและมีผลงานโดดเด่นเรื่อยมา เช่น คดีเพชรซาอุฯ คดีฆ่าเจ้าหน้าที่การทูตซาอุฯ สัญญาเกี่ยวกับพลังงาน สัญญาเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ สัญญาร่วมลงทุน และ สัญญาการจัดหาวัคซีนและยารักษาโรคระบาดโควิด-19[3] ซึ่งนางสาวนารีและคณะทำงานได้ใช้เวลาสองวันเท่านั้นในการตรวจสอบร่างสัญญาซื้อวัคซีนโมเดอร์นา[5]
เธอยังเป็นหนึ่งในคณาจารย์พิเศษให้กับคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยรับผิดชอบในการบรรยายวิชาสัญญาของรัฐ พร้อมกันกับ ศาสตราจารย์พิเศษ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อดีตอัยการสูงสุด ตั้งแต่ พ.ศ. 2553[6] พร้อมวิชาการเจรจาต่อรองและการร่างสัญญา ใน พ.ศ. 2563[7] วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เธอสั่งฟ้อง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ปิยบุตร แสงกนกกุล พรรณิการ์ วานิช โดยกล่าวหาว่าทำผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา83 และมาตรา 116
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2553 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ "นางสาวนารี ตัณฑเสถียร". สถาบันอนุญาโตตุลาการ (THAC).[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://lawchulaalumni.oldlaw.net/default/profile.html?id=119065
- ↑ 3.0 3.1 matichon (2022-06-08). "มติเอกฉันท์! ที่ประชุม ก.อ. เห็นชอบ "นารี ตัณฑเสถียร" นั่งอัยการสูงสุดผู้หญิงคนแรกของประเทศ". มติชนออนไลน์.
- ↑ matichon (2022-06-08). "มติเอกฉันท์! ที่ประชุม ก.อ. เห็นชอบ "นารี ตัณฑเสถียร" นั่งอัยการสูงสุดผู้หญิงคนแรกของประเทศ". มติชนออนไลน์.
- ↑ https://www.pptvhd36.com. ""อัยการ" เผยปมสัญญาซื้อวัคซีน เร่งตรวจสัญญา "โมเดอร์นา" ผ่านแล้วสัญญาวัคซีน "ไฟเซอร์"". pptvhd36.com.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|last=
- ↑ matichon (2022-06-08). "มติเอกฉันท์! ที่ประชุม ก.อ. เห็นชอบ "นารี ตัณฑเสถียร" นั่งอัยการสูงสุดผู้หญิงคนแรกของประเทศ". มติชนออนไลน์.
- ↑ "ศูนย์ "เพชรรัตน์" นิติทรัพยากร คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". www.library.law.chula.ac.th.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๘, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๓[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๓๖, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๔