ธีรศักดิ์ กรรณสูต
ธีรศักดิ์ กรรณสูต (26 เมษายน พ.ศ. 2473 – 7 มกราคม พ.ศ. 2553) อดีตประธานกรรมการการเลือกตั้ง ชุดที่ 1[1] ตั้งแต่ 27 พฤศจิกายน 2540 – หมดวาระ 26 พฤษภาคม 2544 มีผลงานควบคุมการเลือกตั้งจนลบคำสบประมาทว่า "กกต. คือ เสือกระดาษ" โดยการประกาศแขวนรายชื่อ 78 ว่าที่ ส.ว.ไม่ให้ผ่านการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งแรก เมื่อปี 2543 และการตรวจสอบ-แจกใบแดงให้ผู้สมัครจำนวนมากในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อปี 2544
ธีรศักดิ์ กรรณสูต | |
---|---|
ประธานกรรมการการเลือกตั้ง | |
ดำรงตำแหน่ง 27 พฤศจิกายน 2540 – 26 พฤษภาคม 2544 | |
ถัดไป | พลเอก ศิรินทร์ ธูปกล่ำ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 เมษายน พ.ศ. 2473 อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 7 มกราคม พ.ศ. 2553 (79 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | งามเพ็ญ กรรณสูต |
ธีรศักดิ์ สมรสกับ งามเพ็ญ มีบุตรธิดา 3 คน คือ เพ็ญธิดา อินทรสุขศรี ธรานุช กรรณสูต-วงศ์ไวศยวรรณ และเธียรธำรง กรรณสูต ธีรศักดิ์ เสียชีวิตลงด้วยอาการหัวใจล้มเหลว ในเช้ามืดวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553 เวลาประมาณ 01.30 น.[2] รวมอายุ 79 ปี 8 เดือน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
การศึกษา
แก้- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- เตรียมอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (เตรียมปริญญา ม.ธ.ก. รุ่น 8)
- ปริญญาตรี ธรรมศาสตร์บัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- ปริญญาโท นิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ว.ป.อ. รุ่น 27
- นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
การทำงาน
แก้- ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสุโขทัย
- ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสมุทรสาคร
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดอุทัยธานี
- ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์
- รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
- ผู้พิพากษาศาลฎีกา
- อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาธนบุรี
- อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง จนเกษียณอายุราชการ
- กรรมการ ป.ป.ป.
- กรรมการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
- กรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
- กรรมการธนาคารดีบีเอสไทยทนุ
- กรรมการธนาคารกรุงไทย
- กรรมการเนติบัณฑิตยสภา
- กรรมการตุลาการ (ก.ต.)
- ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2544
- ที่ปรึกษาในศาลอุทธรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2522 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้งราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 113 ง วันที่ 3 ธันวาคม 2540 หน้า 3
- ↑ “ธีรศักดิ์ กรรณสูต” อดีตประธาน กกต.ลาโลก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕๙๑, ๒๑ เมษายน ๒๕๒๓
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ก่อนหน้า | ธีรศักดิ์ กรรณสูต | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ไม่มี | ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2544) |
พลเอก ศิรินทร์ ธูปกล่ำ |