ธงอาทิตย์อุทัย
ธงอาทิตย์อุทัย หรือ เคียวกูจิตสึกิ (ญี่ปุ่น: 旭日旗; โรมาจิ: Kyokujitsu-ki; อังกฤษ: Rising Sun Flag) เป็นธงญี่ปุ่นที่ประกอบด้วยแผ่นกลมสีแดงและแถบสีแดง 16 เส้นแผ่ออกมาจากแผ่นนั้น[1] ธงอาทิตย์อุทัยเป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์เหมือนกับธงชาติญี่ปุ่น
เดิมทีธงนี้ใช้งานโดยกลุ่มขุนศึกช่วงยุคเอโดะ (ค.ศ. 1603–1868)[2] ต่อมาเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1870 มีการนำธงนี้มาใช้เป็นธงทหารของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นตามนโยบายของรัฐบาลเมจิ และในวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1889 จึงนำมาใช้เป็นธงนาวีของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น[3][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
ปัจจุบันมีการชูธงนี้ในกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น และธงแบบลำแสง 8 แห่งชูธงโดยกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นและกองกำลังป้องกันตนเองภาคพื้นดินญี่ปุ่น[2] ธงอาทิตย์อุทัยยังปรากฏให้เห็นตามฉากต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันที่ประเทศญี่ปุ่น เช่น ธงของชาวประมงที่ชักขึ้นเพื่อแสดงถึงการจับปลาจำนวนมาก ธงเพื่อเฉลิมฉลองการคลอดบุตร และธงสำหรับเทศกาลตามฤดูกาล[4]
ธงนี้เป็นข้อพิพาทในชาติเอเชียแปซิฟิกส่วนใหญ่ โดยหลักในเกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ จีน สิงคโปร์ รัสเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และทหารผ่านศึกฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง (โดยหลักในออสเตรเลีย) ที่มีการเชื่อมโยงธงนี้กับอาชญากรรมสงครามญี่ปุ่น ฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่สอง และแสนยนิยมกับจักรวรรดินิยมญี่ปุ่น[5][6][7]
การออกแบบ
แก้ธงทหาร โดยมากออกแบบเพิ่มเติมจากลักษณะของธงชาติญี่ปุ่น, ลักษณะคล้ายธงชาติ มีรูปพระอาทิตย์สีแดงรัศมี 16 แฉก อยู่ตรงกลางธง และ ธงจักรพรรดินาวีญี่ปุ่น ลักษณะอย่างเดียวกันกับธงกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น แต่ดวงกลมพระอาทิตย์นั้นค่อนมาทางต้นธง และเปล่งรัศมีสีแดง 16 แฉก ปลายรัศมีนั้นจดปลายธงทุกด้าน (อันมีที่มาจากชื่อประเทศของญี่ปุ่นว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย")[8] ธงชัยเฉลิมพลสำหรับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น มีลักษณะเดียวกับธงศึก ด้านอื่นมีแถบจีบสีเหลือง อัตราส่วน 2:3 ส่วนธงชัยเฉลิมพลทหารม้า และทหารปืนใหญ่, ผืนธงสี่เหลี่ยมจตุรัส อัตราส่วน 1:1 มุมล่างธงมีตราเครื่องหมายของหน่วยทหารดังกล่าว ในส่วนของธงนาวีนั้นยังคงลักษณะดั้งเดิม เฉดสีแดงของดวงอาทิตย์มีระดับเฉดสีที่แตกต่างกัน ธงกองกำลังป้องกันตนเองทางภาคพื้นดิน ธงนี้มีชื่อในภาษาญี่ปุ่นว่า "ธงฮาจิโจเคียวกูจิตสึกิ" (Hachijō-Kyokujitsuki - 八条旭日旗) ลักษณะเป็นธงพื้นสีขาว มีรูปพระอาทิตย์เปล่งรัศมี 8 แฉกอยู่กลาง ขอบธงเป็นสีทอง[9]
ภาพธง
แก้- ธงทหารบก
|
- ธงทหารเรือ
|
อ้างอิง
แก้- ↑ "Japan to skip South Korea fleet event over 'rising sun' flag". AP NEWS. 2018-10-05. สืบค้นเมื่อ 2021-04-13.
- ↑ 2.0 2.1 "Japanese Symbols". Japan Visitor/Japan Tourist Info. สืบค้นเมื่อ October 9, 2014.
- ↑ "船舶旗について" (PDF). Kobe University Repository:Kernel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-04-18. สืบค้นเมื่อ October 18, 2014.
- ↑ "The Rising Sun Flag As Part Of Japanese Culture" (PDF). Ministry of Foreign Affairs of Japan. November 8, 2019. สืบค้นเมื่อ September 10, 2020.
- ↑ "South Korea compares Japan's 'rising sun' flag to swastika as Olympic row deepens". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2019-10-29. สืบค้นเมื่อ 2021-01-20.
- ↑ "Tokyo 2020: Why some people want the rising sun flag banned". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-01-03. สืบค้นเมื่อ 2022-01-09.
- ↑ Kim, Hyung-Jin; Yamaguchi, Mari (2021-07-23). "Why Japan's 'rising sun' flag is provoking anger among some at the Olympics". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-01-09.
- ↑ "海軍旗の由来". kwn.ne.jp. สืบค้นเมื่อ 6 October 2011.
- ↑ Phil Nelson; various. "Japanese military flags". Flags Of The World. Flagspot.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Rising Sun Flag of Japan
- "Rising Sun Flag", MOFA, Japan, 27 July 2021.
- MOFA, Japan (6 September 2021), "Rising Sun Flag as Japanese Longstanding Culture", YouTube.