ธงชาติเอกวาดอร์
ธงชาติเอกวาดอร์เป็นธงแถบสีแนวนอนซึ่งประกอบด้วยสีเหลือง สีน้ำเงิน และสีแดง (แถบสีเหลืองนั้นกว้างเป็นสองเท่าของแถบสีอื่น) อันได้รับการยอมรับฐานะอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1860 ลักษณะของธงดังกล่าวคล้ายคลึงกับธงชาติของโคลอมเบียและเวเนซุเอลา ซึ่งล้วนเคยเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของแกรนโคลอมเบียในอดีต ธงของทั้งสามชาตินี้ล้วนมีต้นแบบมาจากธงซึ่งออกแบบโดยฟรันซิสโก เด มิรันดา นายพลทหารชาวเอกวาดอร์ ซึ่งธงดังกล่าวนี้ได้เริ่มใช้ก่อนที่ประเทศเวเนซุเอลาในปี ค.ศ. 1811 และ แกรนโคลอมเบียในช่วงเวลาต่อมาโดยมีการดัดแปลงลักษณะบางประการ
![]() | |
ชื่อธงอื่น ๆ | สเปน: "La Tricolor" (ธงไตรรงค์) |
---|---|
การใช้ | ธงราชการและธงกองทัพ |
สัดส่วนธง | 1:2 |
ประกาศใช้ | 26 กันยายน พ.ศ. 2403 สัดส่วนปัจจุบัน พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 |
ลักษณะ | ธงสามสีสามแถบแนวนอนสีเหลือง-น้ำเงิน-แดง มีรูปตราแผ่นดินที่กลางธง แถบเหลืองกว้างเป็นสองเท่าของแถบสีอื่น |
![]() | |
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น | |
การใช้ | ธงพลเรือนและธงเรือราษฎร์ |
สัดส่วนธง | 2:3 |
ลักษณะ | ธงชาติเอกวาดอร์ ไม่มีรูปตราแผ่นดิน |
![]() | |
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น | |
การใช้ | ธงเรือรัฐบาลและธงนาวี |
สัดส่วนธง | 2:3 |
ลักษณะ | ใช้ธงชาติเอกวาดอร์ในขนาดที่สั้นกว่า |
![]() | |
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น | |
การใช้ | ธงกองทัพ |
สัดส่วนธง | 1:1 |
ลักษณะ | ใช้ธงชาติเอกวาดอร์แบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส |
รายละเอียด แก้
การออกแบบ แก้
มิรันดาได้ระบุเหตุผลที่เขาเลือกสีทั้งสามลงในธงของเขาว่ามีที่มาจากทฤษฎีแม่สีของโยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเธอ ในจดหมายฉบับหนึ่งที่เขามีไปยังเคาท์ ซีโมน โรมาโนวิช โวรอนซอฟฟ์ (Count Simon Romanovich Woronzoff) ในปี ค.ศ. 1792 เขาได้บรรยายถึงบทสนทนากลางดึกคืนหนึ่งของตนเองเกับเกอเธอในงานเลี้ยงที่เมื่องไวมาร์ ประเทศเยอรมนี ระหว่างฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1785 ด้วยความจับใจถึงการบรรยายของมิรันดาถึงเรื่องราวความกล้าของเขาในสงครามการปฏิวัติอเมริกา และการเดินทางไปทั่วทวีปอเมริกาและยุโรป เกอเธอจึงเอ่ยกับมิรันดาว่า "โชคชะตาของท่านคือการสร้างสถานที่ซึ่งแม่สีทั้งหลายจะไม่ถูกบิดเบือนในแผ่นดินของท่านเอง" ("Your destiny is to create in your land a place where primary colours are not distorted.”) จากนั้นเกอเธอจึงได้อธิบายเพิ่มเติมแก่มิรันดา ดังความที่เขาได้เล่าไว้ในจดหมายดังนี้
“ | เริ่มแรกเขาได้อธิบายถึงวิธีการที่ม่านตาแปรสภาพแสงให้กลายเป็นแม่สีสามสี...จากนั้นเขาจึงพิสูจน์ให้ข้าพเจ้าทราบว่า เพราะเหตุใดสีเหลืองจึงเป็นสีที่อบอุ่น สง่างาม และใกล้เคียงกับสีขาวมากที่สุด เพราะเหตุใดสีฟ้า (สีน้ำเงิน) จึงให้ความรู้สึกที่ผสมผสานระหว่างความตื่นเต้นและความสงบ และก่อระยะห่างที่ทำให้เงาปรากฏเด่นชัด และเพราะเหตุใดสีแดงจึงเป็นการยกระดับขึ้นมาจากสีเหลืองกับสีน้ำเงิน การสังเคราะห์สี และการที่แสงจางหายไปในเงามืด[1] | ” |
สีธง แก้
สีของธงชาติเอกวาดอร์ในยุคใหม่มีพัฒนาการสืบเนื่องมาจากสีของธงชาติกรันโคลอมเบีย ซึ่งครอบคลุมดินแดนของประเทศเอกวาดอร์ โคลอมเบีย และเวเนซุเอลาในปัจจุบัน แต่ละสีมีนัยความหมายดังนี้
- สีเหลือง: ความมั่งคั่งในทรัพยากรแร่ธาตุใต้แผ่นดินและการเกษตร และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ที่มีอยู่อย่างมหาศาล.
- สีน้ำเงิน: มหาสมุทร และ ท้องฟ้าอันใสกระจ่างของเอกวาดอร์.
- สีแดง: เลือดของเหล่าวีรบุรุษผู้ยอมพลีชีพเพื่อแผ่นดินปิตุภูมิและอิสรภาพ.
โทนสี |
เหลือง | น้ำเงิน | แดง |
---|---|---|---|
RGB | 255-221-0 | 3-78-162 | 237-28-36 |
HEX | #ffdd00ff | #034ea2ff | #ed1c24ff |
CMYK | 0-13-100-0 | 98-52-0-36 | 0-88-85-7 |
ตราแผ่นดิน แก้
ที่ใจกลางธงชาติของเอกวาดอร์มีรูปตราแผ่นดินประดับอยู่ ซึ่งมีความหมายโดยย่อดังนี้
- นกแร้ง : อำนาจและความกล้าหาญ
- ภูมิประเทศ : แสดงภาพภูมิประเทศของภูเขาไฟชิมโบราโซ (Chimborazo) และ แม่น้ำกวายาส (Guayas River)
- เรือ : สัญลักษณ์แทนเรือรบกวายาส (Guayas) ซึ่งเป็นเรือรบลำสำคัญในประวัติศาสตร์แห่งกองทัพเรือเอกวาดอร์
- ดวงอาทิตย์ : มรดกแห่งวัฒนธรรมเอกกวาดอร์ในยุคก่อนโคลอมบัส (Pre-Columbian era)
- ผังจักรราศี : เหตุการณ์การปฏิวัติเดือนมีนาคมของเอกวาดอร์ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1845
- ใบปาล์มและใบรอเรล : สันติภาพและความสง่างาม
คำปฏิญาณ และ เพลงสรรเสริญธง แก้
นักเรียน และ นักเรียนนายร้อย จะมีพิธีการสำคัญในการ"กล่าวคำปฏิญาณสาบานธง" ("Juramento a la Bandera"). พิธีดังกล่าวจัดในวันหยุดสำคัญของชาติ หรือ พิธีสำเร็จการศึกษา.[2] โดยมีการร้อง"เพลงสรรเสริญธงชาติ" ("Himno a la Bandera") ภายหลังจากการ"กล่าวคำปฏิญาณสาบานธง" หรือ ก่อนการปลดระวางธงผืนเดิมที่อายุการใช้งานยาวนาน.[3]
ประวัติ แก้
หลังจากดินแดนเอกวาดอร์ถูกพิชิตโดยเซบาสเตียน เดอ เบนัลกาซาร์ (Sebastián de Benalcázar) สัญลักษณ์ของจักรวรรดิสเปนได้โบกสะบัดเหนือเมืองกีโตที่เพิ่งก่อตั้งใหม่[4]
การเรียกร้องเอกราชครั้งแรกจากราชอาณาจักรสเปนเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2352 ธงสีแดงล้วนถูกชูขึ้นโดยผู้ก่อการ[5] ขบวนการเอกราชพ่ายแพ้ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2355 โดยการปราบปรามของนายทหารชาวสเปน ฆวน ซามาโน (Juan Sámano) ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2363 ธงใหม่สีน้ำเงินและสีขาว ห้าแถบแนวนอนสลับลายและดาวสีขาวสามดวงในแถบกลางถูกเชิญขึ้นเป็นครั้งแรก[4] ดาวทั้งสามเป็นตัวแทนของสามเมืองในเอกวาดอร์ กัวยากิล (Guayaquil), ปอร์โตบิเอโฆ (Portoviejo) และ มาชาลา (Machala)[5] ธงนี้ถูกนำมาใช้ในภายหลังโดยจังหวัด กัวยัส (Guayas)
กาเบรียล การ์เซีย โมเรโน (Gabriel García Moreno) ขณะอยู่ในอำนาจหลังการต่อสู้ที่กัวยากิลเป็นเวลาสองวัน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2403 ได้นำธงสามแถบ สีเหลือง, น้ำเงิน และแดงกลับมาใช้ ทำให้ทุกวันที่ 26 กันยายนกำหนดให้เป็นวัน ดีอา เดอ ลา บันเดรา หรือวันแห่งธงชาติ[4][6] ก่อนหน้านี้มีการใช้ธงสีขาวน้ำเงินและขาวในแนวตั้ง ในแถบกลางสีฟ้ามีดาวสีขาววางเพื่อแสดงจำนวนจังหวัดในเอกวาดอร์ ยอดรวมดาวสูงสุดคือเจ็ดดวงก่อนที่ธงนี้จะถูกยกเลิก[5] ในพ.ศ. 2443 มีการประกาศธงที่เป็นมาตรฐานแห่งชาติ ได้มีการนำตราแผ่นดินเพิ่มลงบนธงชาติสำหรับธงของหน่วยงานราชการ ส่วนธงสีพื้นสงวนไว้สำหรับใช้ในกิจการค้าทางทะเล[7]
วิวัฒนาการของธงชาติเอกวาดอร์ | ||
เขตอุปราชแห่งนิวสเปน ค.ศ. 1534 - 1820 |
ธงกางเขนแห่งเบอร์กันดี. | |
ธงแห่งการปฏิวัติควินาน ค.ศ. 1809 - 1812 |
ธงผืนนี้ใช้ในการลุกฮือต่อต้านการปกครองขอสเปน เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2352 เป็นธงกากบาทเบอร์กันดีกางเขนสีขาวบนธงพื้นแดง. | |
ธงชาติผืนแรก ค.ศ. 1820 - 1822 |
ธงแถบแนวนอนขนาดเท่ากัน 5แถม สีฟ้า-ขาว ที่กลางแถบมีดาวสีขาวห้าแฉกสามดวง. ต่อมาได้ใช้เป็นธงประจำจังหวัดกวายา, ธงผืนนี้โบกสะบัดครั้งแรกในการประกาศอิสรภาพเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม, พ.ศ. 2363. | |
ธงชาติผืนที่ 2 ค.ศ. 1822 |
เปลี่ยนแบบธงอย่างเป็นทางการวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1822: "ธงประจำกวายากิล มีลักษณะเป็นธงพื้นสีขาว มีดาวสีขาว5แฉกตรงกลางสี่เหลี่ยมสีฟ้าที่ด้านคันธง." | |
ธงชาติผืนที่ 3 ค.ศ. 1822 - 1830 |
เอกวาดอร์ได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของแกรนโคลอมเบีย, และได้ใช้ธงของสหภาพมหาโคลอมเบีย. หลังจากนั้นอีก8ปี ในปี พ.ศ. 2373 เอกวาดอร์ได้แยกตัวออกจากสหภาพมหาโคลอมเบีย, โดยธงสามสีของเอกวาดอร์ ใช้มาจนถึง พ.ศ. 2388. | |
ธงชาติผืนที่ 4 ค.ศ. 1830 - 1835 |
ธงรัฐเอกวาดอร์, ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน, พ.ศ. 2373. | |
ธงชาติผืนที่ 5 ค.ศ. 1835 - 1845 |
ธงชาติเอกวาดอร์ผืนแรก อย่างเป็นทางการ หลังแยกตัวออกจากสหภาพมหาโคลอมเบีย. | |
ธงชาติผืนที่ 6 ค.ศ. 1845 |
ระหว่างปี พ.ศ. 2388 ได้เกิดเหตุการณ์ ปฏิวัติมาร์คริสต์ ได้เปลี่ยนแบบธงชาติเป็นธงแถบแนวตั้งสามแถบ สีฟ้า-ขาว-ฟ้า, ตรงกลางธงมีดาวสีขาว5แฉกสามดวง เรียงเป็นสามเหลี่ยม. | |
ธงชาติผืนที่ 7 ค.ศ. 1845 - 1860 |
ข้อตกลงแห่งเควนซาได้รับการรับรอง, เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน, พ.ศ. 2388 ซึ่งได้มีการแก้ไขแบบธงชาติ, โดยเพิ่มดาวสีขาว5แฉกบนธง จากสามดาวเป็นเจ็ดดาว "ซึ่งดาวบนธงทั้งเจ็ด หมายถึง เจ็ดจังหวัดที่รวมเป็นสาธารณรัฐเอกวาดอร์".[8] | |
ธงชาติผืนที่ 8 ค.ศ. 1860 - 1900 |
Gabriel García Moreno, เป็นผู้ทรงอำนาจในช่วง2วัน หลังจากศึกกวายากิล, ได้นำธงสามสีของกรันโคลัมเบียกลับมาใช้อีกครั้งเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2403. | |
ธงชาติผืนที่ 9 ค.ศ. 1900 - 2009 |
ธงตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2443 ธงถูกทำให้เป็นมาตรฐานแห่งชาติที่ชัดเจน เมื่อปี พ.ศ. 2443, ได้มีการนำตราแผ่นดินเพิ่มลงบนธงชาติ, ซึ่งธงชาติที่มีตราแผ่นดิน ใช้สำหรับหน่วยงานราชการ และ กองทัพ. ส่วนธงพลเรือนใช้ธงสามสีพื้นเกลี้ยงไม่มีตราแผ่นดิน. | |
ธงชาติผืนที่ 10 ตั้งแต่ ค.ศ. 2009 - ปัจจุบัน |
ธงชาติปัจจุบัน เริ่มใช้พฤศจิกายน พ.ศ. 2552. |
ดูเพิ่ม แก้
อ้างอิง แก้
- ↑ Ricardo Silva Romero (2004-07-30). "1". ใน Serpa Erazo, Jorge (บ.ก.). La Bandera del Mundo. Pañol de la Historia, Part 1. ISSN 1900-3447. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-12. สืบค้นเมื่อ 2008-12-02.
- ↑ "Tradiciones Militares — Juramento a la Bandera" (ภาษาสเปน). กระทรวงกลาโหมเอกวาดอร์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-15. สืบค้นเมื่อ 2010-07-28.
- ↑ "Tradiciones Militares — Incineración de la Bandera" (ภาษาสเปน). Ministry of National Defense of Ecuador. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2009. สืบค้นเมื่อ 28 July 2010.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Alfredo Andaluz Prado, José (26 September 2007). "Historia de nuestra bandera". Diario Correo (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2008. สืบค้นเมื่อ 28 July 2010.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Regulations of Protocol and Military Ceremonies (ภาษาสเปน). Ministry of National Defense, Armed Forces of Ecuador. 2006. p. 28.
- ↑ "Ecuadorian community in New York celebrates the National Flag Day". Ministry of Foreign Affairs and Human Mobility. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-14. สืบค้นเมื่อ 24 September 2018.
- ↑ Decree of 5 December 1900
- ↑ Volker Preuß. "Flaggen del Ekuador 1845–1860" (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2003-04-28.