ธงชาติปาปัวนิวกินี
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ธงชาติปาปัวนิวกินี เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 3 ส่วน ยาว 4 ส่วน ภายในธงแบ่งครึ่งธงตามแนวทแยง จากมุมบนด้านคันธงไปยังมุมล่างด้านปลายธง ครึ่งบนเป็นพื้นสีแดง มีภาพเงาสีทองของนกปักษาสวรรค์ ครึ่งล่างเป็นพื้นสีดำ มีดาวห้าแฉกสีขาวดวงใหญ่ 4 ดวง ดวงเล็ก 1 ดวง เรียงกันเป็นรูปกลุ่มดาวกางเขนใต้ ธงนี้เป็นแบบธงที่ชนะเลิศการประกวดแบบธงชาติในปี พ.ศ. 2514 ออกแบบโดยนางสาวซูซาน ฮูฮูม (Susan Huhume) นักเรียนหญิงวัย 15 ปี และได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2514
![]() | |
การใช้ | ธงชาติ , ธงเรือราษฎร์ |
---|---|
สัดส่วนธง | 3:4 |
ประกาศใช้ | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 |
ออกแบบโดย | ซูซาน การิเก ฮูฮูเม |
![]() | |
การใช้ | ธงนาวี |
สัดส่วนธง | 3:4 |
ประกาศใช้ | พ.ศ. 2514 |
สีดำและสีแดงในธงชาตินี้ มีที่มาจากสีที่ใช้ในเผ่าต่างๆ ของปาปัวนิวกินีหลายเผ่า ทั้งสีดำ-ขาว-แดง ก็เป็นสีของธงชาติจักรวรรดิเยอรมนี ซึ่งเคยเป็นเจ้าอาณานิคมของปาปัวนิวกินีจนถึงปี พ.ศ. 2462 ส่วนรูปนก Raggiana Bird of Paradise เป็นรูปสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ในตราแผ่นดินของปาปัวนิวกินี
แหล่งอ้างอิง
แก้- ธงชาติปาปัวนิวกินี ที่ Flags of the World (อังกฤษ)
วิวัฒนาการของธงชาติ
แก้ก่อนหน้าที่ปาปัวนิวกินีจะมีธงชาติแบบปัจจุบันนั้น ประเทศนี้มีฐานะเป็นดินแดนในภาวะทรัสตีปาปัวและนิวกินีของออสเตรเลีย ธงชาติสำหรับใช้ในการแข่งขันกีฬาต่าง ของปาปัวนิวกินีนั้นมีลักษณะเป็นธงรูปนก Raggiana Bird of Paradise บนพื้นสีเขียว ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ประเทศออสเตรเลียได้กำหนดให้ใช้ธงอย่างใหม่ ลักษณะเป็นธงสามสี แบ่งแถบตามแนวตั้ง ความกว้างเท่ากัน แต่ละแถบเป็นสีน้ำเงิน สีเหลือง และสีเขียว เรียงจากด้านคันธงไปด้านปลายธง ในแถบสีน้ำเงินมีรูปกลุ่มดาวกางเขนใต้ ส่วนแถบสีเขียวมีรูปนก Raggiana Bird of Paradise
-
ธงของเยอรมันนิวกินี พ.ศ.2427 - 2457
-
ธงชาติที่เสนอของเยอรมันนิวกินีในพ.ศ.2457 แต่ไม่เคยนำมาใช้
-
ธงประจำดินแดนปาปัว พ.ศ.2449 – 2492
-
ธงชาติดินแดนนิวกินี พ.ศ.2457 – 2492
-
ธงชาติออสเตรเลียในดินแดนปาปัวและนิวกินี พ.ศ.2492 – 2514
-
ธงประจำดินแดนปาปัวและนิวกินี พ.ศ. 2514-2518 และปาปัวนิวกินี 2518 - ปัจจุบัน