ท่านหญิงไซหนับ
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
ไซหนับ เป็นบุตรคนที่สามของท่านหญิง ฟาติมะฮ์ (อ.) บุตรสาวของท่านศาสดามูฮัมมัด(ศ็อลฯ) และท่านอิมาม อาลี บิน อบีฏอลิบ(อ.) เธอเป็นหนึ่งในสตรีผู้มีเกรียรติในหมู่ ชีอะฮ์ และพวกเขาเรียกเธอว่า "ท่านหญิงไซนับ" ท่านหญิงเป็น น้องสาวของท่านอิมาม Hussein ibn Ali ผู้ที่ถูกสังหารในเหตการณ์กัรบาลา แต่ท่านหญิงภายหลังเหตุการกัรบาลาและหลังถูกจับเป็นเชลยและถูกจองจำ เธอมีบทบาทสำคัญในการปกป้องความชอบธรรมของพี่ชายของเธอ และปกป้องความชอบธรรมของบิดาของเธอ อาลี อิบนิ ฮุเซน (อิหม่ามท่านที่สี่ของ ชีอะห์ ) ก่อนการเดินทางไปกัรบาลาท่านหญิงแต่งงานกับ อับดุลลาห์ บิน ญะฟาร์ และท่านหญิงมีลูกชายสี่คนและลูกสาวอีกหนึ่งคน หลังจากที่พี่ชายถูกสังหารใน ในสงครามที่กัรบะลา ในปีคริสตศักราชที่ 680 (ปีฮิจเราะห์ศักราชที่ 61) ท่านหญิงไซหนับ มีบทบาทสำคัญในการปกป้องชีวิตของหลานชายของท่าน คืออาลี บิน ฮุเซน (อิมามซัยนุลอาบิดีน) และท่านหญิงถูกเรียกว่า "วีรสตรีแห่งกับบะลา " ด้วยเพราะความเสียสละและความกล้าหาญของเธอ ท่านหญิงไซหนับเสียชีวิตในปี ค.ศ. 681 เทียบเท่ากับปีฮิจเราะห์ศักราชที่ 63 [1]
การต้ังชื่อแก้ไข
ท่านหญิงซัยนับ เกิดเมื่อวันที่ 5 ของ ญะมาดิลเอาวัล ในปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่หก หรืออีกในทัศนะหนึ่งท่านหญิงเกิดในวันที่ 5 ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 6 ตรงกับปีคริสต์ศักราชที่ 628
ตามรางานฮะดิษของชีอะฮ์ ตอนที่ท่านหญิงไซหนับ ถือกำเนิด ท่านศาดา มูฮัมหมัด กำลังอยู่ในระหว่างการเดินทาง ท่านหญิงฟาติมะฮ์ขอให้ท่านอิมามอาลีผู้เป็นสามีตั้งชื่อให้ ท่านอิมามอาลีกล่าวตอบว่า : "ฉันจะไม่ทำสิ่งใดล้ำหน้าบิดาของท่านโอ้ฟาติมะฮ์ เราจะรอจนกว่าท่านนบีกลับมาจากการเดินทาง" เมื่อท่านศาสดามูฮัมหมัดกลับมาและได้ยินข่าวการคลอดบุตรของท่านหญิงซะฮ์รอจากท่านอิมามอาลี ท่านศาสดากล่าวว่า: "บุตรของฟาติมะฮ์คือบุตรของฉัน แต่อัลลอฮ์จะเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับพวกเขาเอง" (Naskh al- Tawarikh, vol. Zainabiya, p. 47) หลังจากนั้น ญิบรออีล ได้ลงมาและนำสลามและความสิริมงคลจากพระเจ้ามาส่งมอบให้ท่านศาสดาพร้อมกับกล่าวว่า : จงตั้งชื่อเด็กหญิงคนนี้ว่าไซหนับ ซึ่งชื่อนี้ได้ถูกเขียนไว้บนแผ่นจารึกที่ปลอดภัยแล้ว จากนั้นท่านศาสดามูฮัมหมัดได้รับท่านไซนับมาอุ้มและจูบพร้อมกับกล่าวว่า: ฉันขอให้ทุกคนเคารพเด็กผู้หญิงคนนี้ซึ่งนางจะเป็นเหมือน Khadijah ( Khasas al-Zainabiya, p. 15) คนต่อไป แต่บางรายงานกล่าวว่า ท่านหญิงฟาติมะฮ์ได้ตั้งชื่อท่านหญิงเหมือนกับชื่อลูกพี่ลูกของท่านหญิง (ไม่ทราบแหล่ง) ไซหนับ : คือชื่อต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม (ดาห์ร่า) เป็นไม้ยืนต้นที่สวยงามและมีกลิ่นหอม (Muntahi Al-Arb) (Anandraj) (จากหนังสืออักรอบุลมะวาริด) (หนังสือ Nazim Al-Atab) และในหนังสือซะคีเราะฮ์ของ Khwarazmshahi หมายถึงความบริสุทธิ์ของการแสดงออกของผู้คน: ในการแสดงความบริสุทธิ์และความงามของรูปลักษณ์ของผู้คนที่จะใช้คำว่า ซัยนับ (หนังสือ Khwarizmshahi) (แหล่งต้นฉบับ: Dehkhoda Dictionary) (แหล่งต้นฉบับ: dictionary.abadis.ir)
การแต่งงานแก้ไข
ท่านหญิงซัยนับได้แต่งงานกับหลานชาย (ลูกพี่ลูกน้อง) ของบิดาของเธอ อับดุลลาห์ บิน ญะฟัร อิบนิ อาบีตอลิบ ซึ่งมีอายุมากกว่าท่านหญิงห้าปี
นักประวัติศาสตร์นับจำนวนบุตรของท่านหญิงซัยนับและกล่าวถึงชื่อของบรรดาลูก ๆ ของท่านหหญิงแตกต่างกัน ฏอบาร์ซี รายงานจากนักวิชาการชีอะห์ว่า จำนวนบุตรของท่านหญิงมีสี่คนทีชื่อดังต่อไปนี้คือ อาลี,ญะอ์ฟัร,อูนุลอักบัรและอุมมุลกุลซูม
นักวิชาการบางท่านก็เขื่อว่าท่านหญิงซัยนับมีบุตรชายห้าคนกับอับดุลลาห์สามีของเธอ ได้แก่ อาลี,อูน,อัคบาร์,อับบาส,มูฮัมหมัด และเด็กหญิงชื่อ อุมมุลกุลซูม [2] อับบาส อูน และ มุฮัมมัด ถูกสังหารในเหตุการณ์กัรบะลา [3]
ชีวประวัติแก้ไข
ชีวิตของท่านหญิงประสบกับความทุกข์ยากมากมาย เมื่อท่านหญิงอายุได้ 5 ขวบ ท่านสูญเสียปู่ มูฮัมหมัด บิน อับดุลลาห์ และในไม่กี่เดือนต่อมา ท่านหญิงสูญเสียแม่ ท่านหญิง ฟาติมะฮ์ซะฮ์รอ จากเหตุการณ์อันน่าเศร้าใจ และอีก 9 ปีท่านหญิงสูญเสียบิดา ท่านอิมาม อาลี อิบัน อาบีตาลิบ (ถูกสังหารโดยน้ำมือของอิบนิมุลญัม มุรอดีย์) และท่านหญิงยังได้เห็นการถูกสังหารของพี่ชาย อิมามฮัสซัน อัลมุจตะบา จนกระทั่งท่านหญิงเดินทางมาที่ กันบะลา และเผชิญเหตุการณ์ในวัน อาชูรอ และการถูกจองจำใน ซีเรีย และความทุกข์ทรมานมากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการสูญเสียพี่น้องและญาติพี่น้องสิบแปดคน ในเวลาเพียงหนึ่งวัน ด้วยเหตุนี้เองท่านหญิงไซหนับจึงได้ฉายา "มารดาแห่งความทุกข์"
เนื่องจากความเจ็บป่วยของหลานชายของท่านหญิงคือท่านอิมาม อาลี บิน ฮุเซน ซึ่งในหมู่ชีอะฮ์เรียกว่า อิมามซัยนุลอาบิดีน ท่านหญิงกลายเป็นผู้นำกองคาราวานเชลย ท่านหญิงได้กล่าวคำเทศนาในวังของยะซีดเพือปกป้องพี่ชายของนางอิมามฮุเซน ท่านอิมาม อาลี บิน ฮุเซน ก็เช่นได้ขึ้น มิมบัร และกล่าวคำเทศเพื่อป้องกันตัวเองและบิดาของท่าน ยาซิดหลังจากได้ยินคำพูดเหล่านี้และได้รับความกดดันจากประชาชนและความสำนึกผิดของประชาชน จนพวกรู้สึกเสียใจกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไปและส่งคืนเชลยทั้งหลายกลับไปยัง มะดีนะฮ์ อย่างสมเกียรติ
สุนทรพจน์ในวังยะซีดแก้ไข
หลังจากเหตุการณ์กัรบะลาอ์ ท่านหญิงไซนับกล่าวสุนทรพจน์ที่โด่งดังและร้อนแรงต่อหน้า ยาซิด ซึ่งถือเป็นหนึ่งในบทสุนทรพจน์ที่สำคัญและมีอิทธิพลมากที่สุดในการปกป้องความชอบธรรมของอิมามฮุเซน บิน อาลี ไซนับบุตรสาวของ ท่านอิมาม อาลี บิน อบีฏอลิบ ยืนขึ้นยืนในที่ประชุมและกล่าวว่า: ... โอ้ ยาซิดเจ้าคิดหรือว่าเจ้าได้ปิดแผ่นดินและขอบฟ้าให้แคบลง และปิดทางท้ังหมดจนทำให้เราถูกจับไปเป็นเชลย เหมือนเป็นทาส และคิดพวกเราต่ำต้อยและเจ้าสูงส่ง ณ ที่อัลลอฮ์กระ และเจ้าคิดว่าเจ้ามีสถานะอันสูงส่ง ณ ที่อัลลอฮ์กระนั้นหรือ ... ในไม่ช้าเจ้าจะได้เข้าร่วมกับบรรพบุรุษของเจ้าแล้ว และหวังว่าเจ้า ถึงเวลานั้นเจ้าจะเสียใจจนได้แต่หวังว่าจะเป็นใบ้และเป็นบ้า จะเสียใจว่าไม่น่าพูดในสิ่งที่เคยพูดและไม่น่าทำในสิ่งที่เคยทำไว้เลย ... ขอสาบานต่ออัลลอฮ์จะไม่ถูกถลกเว้นแต่ผิวหนังของเจ้า จะไม่เฉือนนอกจากจะเฉือนเนื้อตัวเอง .. โอ้ยะซีด แสดงความเจ้าเล่ห์เพทุบายของเจ้าออกมาให้หมดเถิด ทำทุกอย่างที่อยากจะทำเถิด พยามเถิดในสิ่งที่อยากจะทำ ขอสาบานต่ออัลลอฮ์เจ้าจะไม่มีวันลบชื่อพวกเราได้หรอก ... เจ้าจะไม่มีวันลบความน่ารังเกียจที่ทำไว้ได้หรอก ... วันหนึ่งที่อำนาจและผู้คนรอบข้างเจ้าเหลือน้อยลง วันที่เสียงร้องไปสู่สัจธรรมดังขึ้น วันนั้นเจ้าจะพบกับความเลวร้าย ขอความเมตตาจากอัลลอฮ์จงห่างไกลจากผู้กดขี่ทั้งหลายเถิด [4]
การเสียชีวิตแก้ไข
หลุมฝังศพของท่านหญิงไซหนับ ในอยู่เขตชานเมืองของ ดามัสกัส ซีเรีย ตามรายงานที่เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการกล่าวว่า ท่านหญิงเสียชีวิตในวันที่ 15 เดือน Rajab ปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 62
นักวิชาการบางคนเชื่อว่าท่านเสียชีวิตจากการถูกวางยาพิษของยาซิด เพราะหลังจากกลับมาที่มะดีนะฮ์ ท่านหญิงร้องคร่ำครวญ และกล่าวสุนทรพจน์เพื่อปกป้องพี่ชายที่ถูกสังหาร สิ่งนี้ถือเป็นอันตรายต่อผู้ปกครองในสมัยนั้น[ต้องการอ้างอิง]
นอกจากนี้ยังมีความขัดแย้งเกี่ยวกับสถานที่ฝังศพของทานหญิง นักประวัติศาสตร์หลายคน รวมทั้ง Massoudi ได้เขียนว่าท่านหญิงเสียชีวิตในมะดีนะฮ์ และสถานที่ฝังศพของท่านญิงคือ บาเกียะอ์ ใน มะดีนะฮ์ บางคนยังเชื่อว่า หลังเเหตุการณ์ฮุรเราะฮ์ในปีฮิจเราะฮ์ที่ 62 ท่านหญิงได้อพยพไปยังดามัสกัสกับสามี อับดุลลาห์ อิบนิ ญะฟัร ซึ่งเขามีที่ดินใน ดามัสกัส และเสียชีวิตในวันที่ 15 ราญับ 1362 ในกรุงดามัสกัส
ท่านหญิงไซหนับ เสียชีวิตในช่วงอายุเดียวกันกับพี่ชายของท่าน อิมามฮุเซนคือเสียชีวิตเมื่ออายุ 56 ปี [5]
หลุมฝังศพของท่านหญิงซัยนับแก้ไข
หมู่บ้านหนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของสุสานของไซนับเป็นที่รู้จักในอดีตในชื่อรอวียะฮ์และปัจจุบันถูกเรียกว่าซัยนะบียะฮ์ ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านเชื่อมต่อกับเมืองดามัสกัสและตั้งอยู่ห่างจากสนามบิน ดามัสกัส ไปทางตะวันออกประมาณ 7 กิโลเมตร
ในถนนสายหลักของเมืองนี้ โดม และหอคอยสุเหร่าของหลุมฝังศพของท่านหญิงสามารถมองเห็นได้จากระยะไกล โดมเป็นอาคารสีทอง และด้านตะวันออกและตะวันตกมี หอคอย ประดับด้วยกระเบื้อง สองหลัง
ฮะรัมของท่านหญิงตกแต่งด้วย กระเบื้องโมเสก ในยุคร่วมสมัยของ ซึ่งการ ปูกระเบื้อง นี้ทำโดย Ali Panjehpour ศิลปินชาวอิสฟาฮานประมาณ 10 ปีที่แล้วในสไตล์ อิสฟาฮาน
ที่ทางเข้าประตูด้านตะวันตกของหลุมฝังศพของท่านหญิงไซหนับและทางด้านขวาภายในห้องเล็ก ๆ มีหลุมฝังศพอีกสามแห่ง หนึ่งในนั้นคือหลุมฝังศพของ Hussein Yousef Maki Ameli ซึ่งเสียชีวิตในปี 1397 และอีกแห่งคือ Mohsen Al- Amin Ameli นักเขียนชื่อดังผลงาน อะอ์ยานุชีอะฮ์ และคนที่สามคือลูกสาวของ Mirza Taghi Behbahani
พื้นที่ของ หลุมฝังศพ ของท่านหญิงไซหนับ และลานภายในเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มี ห้องโถง โดม และ หลุมฝังศพ อยู่ตรงกลาง และมีทางเข้าสี่ทาง เพดานและตัวหลุมฝังศพประกอบจากสามส่วนด้วยกันที่ถูกสร้างเป็นแบบไต่ระดับเป็นชั้นบันไดที่มีโดมอยู่ตรงกลาง บนโดมนี้มีการเขียนประโยคจาก อัลกุรอาน และปิดทองโดยสาธารณรัฐอิสลามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ทางด้านตะวันออกของอาคารนี้ ห้องละหมาด Zeinabia สร้างขึ้นโดย Fahri Zanjani ตัวแทนของ Seyyed Ali Khamenei ในซีเรีย ในห้องจะให้ในการนมาซวันศุกร์ อ่านดุอา และนมาซญะมาอะฮ์ ห้องโถงหลังนี้ใหญ่มาก พื้นที่ทั้งหมดของประมาณหนึ่งหมื่นตารางเมตร มีห้องทั้งหมด 114 ห้องในหลุมฝังศพ โดย 64 ห้องอยู่ในลานขนาดใหญ่ ส่วนที่เหลืออยู่ในลานที่สองและรอบ ๆ husseiniyahs
หลุมฝังศพของท่านหญิงไซหนับ อยู่ตรงกลางของหลุมฝังศพที่มีมะกอมเป็นสีเงินและรอบ ๆ นั้นมีเสากระเบื้องแปดเสาซึ่งเป็นที่ตั้งของโดม ผนังของหลุมฝังศพเป็นสีขาวครึ่งหนึ่ง ส่วนที่เหลือเป็นกระจกเงา และเป็นศิลปะและสถาปัตยกรรมอิสลามของอิหร่าน อาคารภายในและภายนอกอาคาร เช่นเดียวกับหออะซานและโดม มีอายุประมาณยี่สิบปี แต่การพัฒนารอบ ๆ ลานภายในและการตกแต่งทั้งหมดได้เสร็จสิ้นลงโดยความร่วมมือของสาธารณรัฐอิสลาม ตามคำกล่าวของ Hossein Emadzadeh ในหนังสือ ชีวประวัติของ 14 มะอ์ซูม การสร้างสุสานของท่านหญิงไซหนับ ได้รับการจัดระเบียบใหม่ ปิดทอง และตกแต่งใน สมัยของ Mohammad Reza Shah Pahlavi และตามคำสั่งของ Farah Pahlavi ราชินีแห่งอิหร่าน และค่าบำรุงรักษา ถูกส่งโดย Farah ทุกเดือน [6]
ฉายานามแก้ไข
- อุมมุลมะซออิบ
- อุมุรรอซายา
- อุมมุลนาวาอิบ [7]
ชื่อแก้ไข
- อัมมะตุสซาดาต
- Aqila Bani Hashem
- ศิดดีเกาะฮ์ ซุฆรอ
- เอาลิยามุค็อดดิเราะฮ์
- อาลิมะฮ์ ฆ็อยเราะ มุอัลลิมะฮ์
- ซิรุอาบีฮา
- มะอ์ซูมะฮ์
- อุมมุกุลซูม
- อิสมะตุซซุฆรอ
- ผู้พิทักษ์ของพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพ
- นามุซุลกุบรอ
- ชะรีกะตุลฮุเซน
- Arefeh
- กามีละฮ์
- อาลีมะฮ์
- มุคบิเราะฮ์
- มุฮัดดะซะฮ์
- มะฮ์บูบ อัลมุสตอฟา
- บากียะฮ์
- อัลบาลีเฆาะฮ์
- ฟาฎิละฮ์
บทความเกี่ยวข้องแก้ไข
- ฮุสเซน บิน อาลี
- เหตุการณ์กัรบะลา
- Ahl-e-Bayt
- สุสานประวัติศาสตร์ของดามัสกัส
แหล่งอ้างอิงแก้ไข
- ↑ Esposito, J.L., ed., The Oxford Dictionary of Islam, New York:2003
- ↑ ابن عساکر، اعلام النسا، ص۱۹۰؛ ریاحین الشریعه، ج۳، ص۴۱
- ↑ مفید، الارشاد فی معرفة حجج الله علی العباد، ۱۴۱۳ق، ج۲، ص۱۲۵
- ↑ متن سخنرانی حضرت زینب (س) در شام بر اساس نص لهوف
- ↑ رحلت حضرت زینب سلام الله علیها حوزه
- ↑ عمادزاده، حسین، ۱۳۳۹: زندگانی چهارده معصوم، تهران: نشر طلوع، ۱۳۶۰ صفحه.
- ↑ "کنیه و القاب حضرت زینب". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-03. สืบค้นเมื่อ 2022-03-30.
- سید احمد موسوی ( سید احمد موسوی ( سید احمد موسوی (คุณธรรมของ Zeinab, เตหะราน: Nik Maaref, p. سید احمد موسوی ( سید احمد موسوی (ชะบัก سید احمد موسوی (