ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: อัลติเมตออล-สตาร์ส

(เปลี่ยนทางจาก ทัทสึโนโกะ vs แคปคอม)

ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: อัลติเมตออล-สตาร์ส (ญี่ปุ่น: タツノコ VS. CAPCOM ULTIMATE ALL-STARS; อังกฤษ: Tatsunoko vs. Capcom: Ultimate All-Stars) เป็นเกมต่อสู้ข้ามฝั่งของระบบวี กำหนดวางจำหน่ายวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2010 ในอเมริกาเหนือ, 28 มกราคมในญี่ปุ่น, 29 มกราคมในยุโรป และ 4 กุมภาพันธ์ของปีเดียวกันที่ออสเตรเลีย ทัตสึโนโกะ vs แคปคอม ถือเป็นเกมลำดับที่เจ็ดในเกมต่อสู้ซีรีส์ vs ข้ามฝั่ง ที่แคปคอมได้สร้างขึ้น (โดยนับตั้งแต่เกมตระกูลมาร์เวล vs. แคปคอม กับ แคปคอม vs. เอสเอ็นเค เป็นต้นมา) เกมนี้ได้วางจำหน่ายในญี่ปุ่นในครั้งแรกโดยใช้ชื่อว่า ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: ครอสเจนเนอเรชันออฟฮีโร่ส์ (ญี่ปุ่น: タツノコ VS. CAPCOM CROSS GENERATION OF HEROES) สำหรับอาเขตเซ็นเตอร์ และเครื่องเล่นเกมระบบวี (Wii) โดยในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 ที่ผ่านมานั้น เป็นช่วงที่แฟนเกมทั้งหลายต่างเฝ้ารอเวอร์ชันใหม่อย่าง อัลติเมตออล-สตาร์ส ในการนำลิขสิทธิ์ตัวละครใหม่จากทัตสึโนโกะโปรดัคชั่นให้เข้ามาร่วมมีบทบาทในเกม

ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม:
อัลติเมตออล-สตาร์ส
ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: อัลติเมตออล-สตาร์ส
สำหรับเครื่องเล่นเกมระบบวี
ผู้พัฒนาEighting[1]
ผู้จัดจำหน่ายแคปคอม
กำกับฮิเคโตชิ อิชิซาวะ[2]
อำนวยการผลิตเรียวตะ นิตสุมะ[3]
ชุดVs.
เครื่องเล่นวี
วางจำหน่ายในชื่อของ ครอสเจนเนอเรชั่นออฟฮีโร่ส์:
อาเขต:
  • JP: ธันวาคม ค.ศ. 2008[4]
วี:
  • JP: 11 ธันวาคม ค.ศ. 2008[5]
ในชื่อของ อัลติเมตออล-สตาร์ส:
  • NA: 26 มกราคม ค.ศ. 2010
  • JP: 28 มกราคม ค.ศ. 2010
  • EU: 29 มกราคม ค.ศ. 2010
  • AU: 4 ธันวาคม ค.ศ. 2010[5]
แนวเกมต่อสู้
รูปแบบผู้เล่นคนเดียว, มัลติเพลย์เยอร์, ออนไลน์ มัลติเพลย์เยอร์[6]
ระบบอาร์เคดอาเขตบอร์ดฐานระบบวี[7][8]

ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม เป็นเกมที่นำเอาซูเปอร์ฮีโร่ของญี่ปุ่นจากบริษัททัตสึโนโกะโปรดัคชั่น กับตัวละครเกมจากบริษัทแคปคอมมาสู้กัน โดยผู้เล่นจะต้องพยายามน็อคคู่ต่อสู้ลงในการต่อสู้แบบตัวต่อตัวซึ่งมีสมาชิกในทีมสองราย และเกมนี้ยังถือเป็นเกมแบบ 2.5D (กึ่งสามมิติ) เกมแรกของซีรีส์ Vs. โดยตัวละครและฉากหลังมาจากการเรนเดอร์ของภาพสามมิติ ในการต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามในฉากการต่อสู้อิงรูปแบบเกมสองมิติ[9] การควบคุมเกมเป็นการผสมคุณลักษณะของระบบวี กับซีรีส์ Vs. ในการใช้ระบบสามปุ่มโจมตี ซึ่งรองรับการควบคุมที่ต่างกันได้ถึงห้าทางเลือก โดยมีสองรูปแบบที่เสนอการควบคุมแบบง่ายขึ้น โดย อัลติเมตออล-สตาร์ส ถือเป็นเกมได้รับคำวิจารณ์โดยทั่วไปในเชิงบวก

รูปแบบการเล่น

แก้
 
ภาพการต่อสู้จากเกม : โจ เดอะคอนดอร์ จากกัชช่าแมน เข้าปะทะ บัตสึ จากลีเจี้ยนออฟฮีโร่ส์

ทัตสึโนโกะ vs แคปคอม: อัลติเมตออล-สตาร์ส เป็นเกมต่อสู้ระบบ 2.5D ที่สามารถแข่งขันกันได้โดยเป็นการทำศึกเผชิญหน้าจากการใช้ตัวละครที่หลากหลายซึ่งต่างก็มีรูปแบบการต่อสู้ในสไตล์ของตัวเอง[10] แม้ว่าตัวละครถูกสร้างขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติ แต่จะเป็นการทำศึกแบบสองมิติในฉากการต่อสู้ในขณะที่เดินหน้ากับถอยหลัง หรือพุ่งขึ้นไปในอากาศ ผู้เล่นสามารถเลือกตัวละครหลักได้สองราย และจะเป็นการส่งตัวแทนออกมาต่อสู้แบบหนึ่งต่อหนึ่งเพื่อทำลายไลฟ์เกจ (พลังชีวิต) ของอีกฝ่ายให้หมดสิ้น[11] หากตัวละครที่ใช้อยู่ถูกทำร้าย ไลฟ์เกจจะกลายเป็นสีแดง ในช่วงนี้ผู้เล่นสามารถจะเปลี่ยนตัวละครที่ใช้อยู่ออกจากจอไปพักฟื้นได้แทบทุกเวลา เพื่อให้พาร์ทเนอร์ (ตัวละครหลักอีกตัวที่เลือกไว้) เข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งจะเป็นการพักฟื้นพลังไลฟ์เกจให้แก่ตัวละครที่ออกไปนี้ได้ทีละน้อย และสามารถเปลี่ยนตัวกลับเข้ามาแทนที่ใหม่ได้ตามต้องการ[12] การแข่งขันจะสิ้นสุดลงเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มีสมาชิกในทีมเหลืออยู่[11]

ตัวละครที่ปรากฏใน ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม ต่างมีรูปแบบการต่อสู้แบบพื้นฐาน, ท่าไม้ตาย และสุดยอดท่าไม้ตายไฮเปอร์มูฟที่หลากหลาย[13] ผู้เล่นสามารถบังคับได้โดยการกดหนึ่งในสามปุ่มเพื่อโจมตีในระดับเบา, กลาง, หนัก ได้ตามต้องการ และสามารถเปลี่ยนรูปแบบการโจมตีในลักษณะต่าง ๆได้โดยอาศัยจอยสติ๊กหรือคอนโทรลแพดในการควบคุม ตัวอย่างเช่น การกดปุ่มต่อยหนักของตัวละครบางรายจะทำการต่อยอัปเปอร์คัท แต่หากทำพร้อมกับการก้มลงจะเป็นการเตะตัดกวาดแทน[13][14] และยังมีรูปการใช้ปุ่มเพื่อปฏิบัติการร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลายรูปแบบ โดยสามารถใช้ขณะเปลี่ยนตัวกับพาร์ทเนอร์มาเป็นผู้ช่วยในการโจมตี หรือใช้การโจมตีที่เรียกว่าเทคนิค "บาโรกคอมโบ" ที่เกิดขึ้นภายหลังจากการกดปุ่มโจมตีแบบต่อเนื่องได้อีกด้วย[10][15] เมื่อผู้เล่นทำการโจมตีหรือถูกโจมตี เกจไฮเปอร์คอมโบจะสะสมเพิ่มขึ้นทีละน้อย โดยเกจนี้จะสามารถเพิ่มระดับไปจนถึงระดับห้า และเป็นสิ่งสำคัญในการใช้เทคนิคพิเศษของเกมนี้[11]

ระบบการเล่นเป็นอย่างเดียวกับเกม มาร์เวล vs. แคปคอม โดยตัวละครจะสามารถเรียกพาร์ทเนอร์ให้มาเป็นผู้ช่วยในขณะที่เปลี่ยนตัวได้ ตัวละครที่มีอยู่สามารถทำแท็คทีมกับตัวละครอื่นได้ การเรียกผู้ช่วยให้เข้ามาจู่โจมเรียกว่า "วาริเอเบิลแอทแทค" ส่วนการเรียกพาร์ทเนอร์ออกมาช่วยโจมตีขณะที่ตัวละครเดิมกำลังทำการบล็อกก่อนเปลี่ยนตัวออกเรียกว่า "วาริเอเบิลเคาท์เตอร์"[16] สำหรับ "สแนปแบ็ค" คือการโจมตีที่รุนแรง ในขณะฝ่ายตรงข้ามกำลังควบคุมตัวละครอยู่ (แต่สามารถใช้วิธีนี้ได้เพียงสามตัวละครเท่านั้น) ส่วน "ไฮเปอร์ วาริเอเบิล คอมบิเนชั่น" จะเป็นการให้เพื่อนในทีมของเราออกมาใช้ไฮเปอร์คอมโบพร้อมกันได้ โดยอาศัยเกจไฮเปอร์คอมโบที่สะสมตั้งแต่ระดับสามขึ้นไปจึงจะใช้ได้ ขณะเดียวกัน "ดีเลย์ ไฮเปอร์ แคนเซิลเลชั่น" จะเป็นการยกเลิกการใช้ไฮเปอร์คอมโบของพาร์ทเนอร์ดังที่กล่าวมา[16] และเมื่อส่งคู่ต่อสู้ให้ลอยขึ้นไปบนอากาศแล้วเราสามารถใช้ "แอร์คอมโบ" จู่โจมต่อเนื่องกลางอากาศได้เช่นกัน[17] เมื่อการตั้งการ์ดในขณะโจมตีจากฝ่ายตรงข้าม ผู้เล่นสามารถบังคับให้ทำการ"ครอสโอเวอร์ เคาน์เตอร์"ได้ ซึ่งจะเป็นการให้พาร์ทเนอร์เข้ามาต้านทานคู่ต่อสู้ให้กับเรา และสามารถทำให้เขาหรือเธอสับเปลี่ยนให้พาร์ทเนอร์เข้ามาสู้แทนได้[15] เมื่อพาร์ทเนอร์สามารถเข้ามาช่วย สมาชิกในทีมก็สามารถใช้ตัดจังหวะได้ตามต้องการ ซึ่งจะให้ตัวละครใช้ท่า"ครอสโอเวอร์แอทแท็ค"ขณะเข้ามาได้[12] ผู้เล่นสามารถนำพาร์ทเนอร์ออกชั่วขณะในช่วงของการทำ"ครอสโอเวอร์แอสซิสท์"โจมตีแบบย่อย หรือ"ครอสโอเวอร์คอมบิเนชั่น"เมื่อสมาชิกคนหนึ่งในทีมกำลังใช้ท่าไฮเปอร์มูฟโดยเกิดขึ้นพร้อมกันได้อีกด้วย

ยังมีเทคนิคสากลรายการใหม่ที่ถูกพบในเกม[18][19] อย่าง"ครอสโอเวอร์ แอร์เรด" ที่สามารถเปลี่ยนให้ตัวละครพาร์ทเนอร์ขณะอยู่กลางอากาศและเข้ามาร่วมโจมตีทางอากาศได้ ส่วน"เมก้าแครช" เป็นกลยุทธในการระเบิดพลังเพื่อต้านการโจมตีต่อเนื่องจากฝ่ายตรงข้าม โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อใช้เทคนิคนี้แล้วจะลดเกจสะสมไปสองแถบและไลฟ์เกจบางส่วน[16] ในช่วงแรกของการสร้างเกมนี้ มีเทคนิคการโจมตีที่เรียกว่า"แอสเซาส์" ซึ่งเป็นส่วนแทนของเทคนิคเมก้าแครช[7] สำหรับ"บาโรกแคนเซิล"นั้น เป็นรูปแบบที่ตัวละครเปล่งแสงในขณะที่ฟื้นพลังชีวิตบางส่วนของตัวละคร โดยจะกระตุ้นให้ยกเลิกโหมดเคลื่อนไหวจู่โจม แบ่งไปให้ผู้เล่นได้โจมตีต่อเนื่องมากกว่าความเกี่ยวพันถึงความรุนแรง เพื่อให้จำนวนรวมของแถบพลังชีวิตสีแดงได้ฟื้นพลังต่อไป[10][20] ทั้งนี้ บาโรกจะหยุดลงต่อเมื่อตัวละครหยุดหรือกำลังใช้ไฮเปอร์มูฟอยู่

ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: ครอสเจนเนอเรชันออฟฮีโร่ส์ สำหรับระบบวี จะมีโหมด"อาเขต" ที่ผู้เล่นต้องทำศึกกับคอมพิวเตอร์ซึ่งควบคุมอยู่ฝ่ายตรงข้ามอยู่หลายด่านกระทั่งถึงบอสซึ่งคือ ยามิ จาก โอกามิ, ส่วนโหมด"ไทม์แอทแทค" กับโหมด"เซอร์ไววอล" จะเป็นการบังคับให้ผู้เล่นต้องกำจัดตัวละครทุกตัวในเกม โดย"เซอร์ไววอลโหมด"นั้น จะมีพลังชีวิตที่จำกัด ส่วน"ไทม์แอทแทค" จะเป็นการเล่นแบบทำสถิติเวลา นอกจากนี้ยังมีการปลดล็อกตัวละครลับ, ปรับแต่งรูปแบบเครื่องแต่งกาย, ข้อมูลเกี่ยวกับตัวละครในเกม, ภาพยนตร์, ภาพวาดประกอบ, เพลงประกอบสำหรับใช้ในโหมดแกลเลอรี่ กับมินิเกมต่าง ๆที่สามารถใช้เงินในเกมซื้อได้ และยังมีโหมดที่สามารถเล่นได้หลายคน โดยโหมด Vs. จะเป็นการเล่นแบบสองคนพร้อมกัน และมีเกมแบบดั้งเดิมไปจนถึงแบบเล่นสี่คนแข่งกันในมินิเกม[21] มันเป็นโหมดเกมที่ทดแทนโหมดอาเขตสำหรับผู้เล่นที่ต้องการเลือกรูปแบบให้ต่างไปจากเดิม[7]

อัลติเมตออล-สตาร์ส เป็นเวอร์ชันที่มีโหมดเกมมากที่สุด หากมองเทียบกับครอสเจนเนอเรชั่นออฟฮีโร่ส์สำหรับระบบวี ซึ่งยกเว้นออริจินอลเกม ส่วนอัลติเมตออล-สตาร์ส มีมินิเกมยานยิงเกมใหม่เรียกว่า "อัลติเมต ออล-ชูตเตอร์"[22][23] และยังมีมุมมองพิเศษแบบใหม่ที่เห็นใน ครอสเจนเนอเรชั่นออฟฮีโร่ส์ สำหรับระบบวี ประกอบด้วยการเล่นแบบออนไลน์หลายคนที่เรียกว่า วีไอเอ นินเทนโด ไว-ไฟ คอนเนคชั่น[6] ที่ผู้เล่นหลายคนสามารถแข่งขันกันได้ร่วมกันกับเพื่อนที่ลงทะเบียนแล้ว, ผู้มีส่วนร่วมแบบเลือกสุ่มหรือฝ่ายตรงข้ามที่ได้ลงทะเบียนแล้ว และในส่วนที่เพิ่มขึ้น ผู้เล่นสามารถเลือกสุ่มคู่ต่อสู้ให้มาอยู่ในตำแหน่งเดียวกันได้ด้วยตัวเอง โดยจะเห็นได้ในการแข่งขันแต่ละครั้ง ซึ่งจะผันผวนไปตามผลของแพ้-ชนะ และฝ่ายตรงข้ามสามารถเพิ่มบัญชีรายชื่อคู่ต่อสู้สำหรับการแข่งขันในช่วงต่อไปได้[24]

สำหรับตัวเกมจะมีการเลือกการบังคับได้ถึงห้ารูปแบบ ซึ่งประกอบด้วย การใช้คลาสสิกคอนโทรลเลอร์, นินเทนโดเกมคิวบ์คอนโทรลเลอร์, เทิร์ธปาร์ตี้เกมสติ๊ก กับอีกสองการควบคุมที่ทำให้ง่ายขึ้นคือ การใช้วีรีโมทกับนุนชะคุ และการใช้วีรีโมทโดยลำพัง[6][10] โดยสองรายการหลังได้อนุญาตให้เกมเมอร์ที่ยังไม่มีประสบการณ์สามารถหยิบมาเล่นแบบ พิก-อัป-แอนด์-เพลย์ได้ แต่ระดับการควบคุมบางอย่างจะลดลงไป[10] เกมประกอบทางเลือกการใช้ปุ่มสำหรับผู้เล่น โดยอิงความนิยมตามรูปแบบของเกมแพดชนิดต่าง ๆ

ตัวละคร

แก้

ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: อัลติเมตออล-สตาร์ส มีตัวละครทั้งสิ้น 26 ตัว ซึ่งใน ครอสเจนเนอเรชั่นออฟฮีโร่ส์ ของระบบอาเขตเดิมนั้น จะมีตัวละครต้นฉบับอยู่ 18 ราย และเพิ่มขึ้นมาเป็น 22 รายในการวางจำหน่ายสำหรับระบบวี และบัญชีรายชื่อของอัลติเมตออล-สตาร์ส ยังมีส่วนคล้ายกับของเดิมที่จัดแบ่งตัวละครอย่างลงตัวระหว่างทัตสึโนโกะกับแคปคอม โดยในการสัมภาษณ์ เรียวตะ นิตสุมะ ได้อธิบายว่าตัวละครดังกล่าวได้ถูกเลือกจากบัญชีรายชื่อโดยอิงกระแสความนิยมเป็นหลัก[25]

ภายในเกมยังมีตัวละครพิเศษที่มีขนาดใหญ่โตและมีพลังในการโจมตีที่รุนแรงอีกสองราย ซึ่งได้แก่โกลด์ไลตัน จากฝั่งทัตสึโนโกะ กับPTX-40A จากฝั่งแคปคอมเท่านั้นที่ต่อสู้ตามลำพังโดยลักษณะฉายเดี่ยว[10] ทั้งยังมีตัวละครเสริมที่ไม่สามารถเลือกเล่นเป็นตัวละครหลัก เข้ามาเป็นผู้ช่วยอีกหลายรายในส่วนของการจู่โจมบางรูปแบบ อย่างเช่นแคชเชิร์น จะมี"เฟรนเดอร์" เข้ามาเป็นผู้ช่วยขณะใช้ท่าไม้ตาย และไฮเปอร์คอมโบ ส่วนโดรอนโจจะมี"โบยัคกี้" (ให้เสียงพากย์โดยโจจิ ยานามิ) กับ"ทอนซูระ" (ให้เสียงพากย์โดยคาซูยะ ทาเตะคาเบะ) เข้ามาเป็นผู้ช่วย[10][26]

ตัวละครฝั่งทัตสึโนโกะ ต้นกำเนิด[27] ผู้ให้เสียงพากย์[26][28] ตัวละครฝั่งแคปคอม ต้นกำเนิด[27] ผู้ให้เสียงพากย์[26][28]
เคน เดอะอีเกิ้ล กัชช่าแมน คัทสุจิ โมริ ริว สตรีทไฟท์เตอร์ ฮิโรกิ ทากาฮาชิ
จุน เดอะสวอน กัชช่าแมน คาสุโกะ ซุกิยามะ ชุนลี สตรีทไฟท์เตอร์ II ฟูมิโกะ โอริกาสะ
แคชเชิร์น แคชเชิร์น ไดสุเกะ โอโนะ อเล็กซ์ สตรีทไฟท์เตอร์ III ฮิโรกิ ยาสุโมโต้
เทคก้าแมน เทคก้าแมน คัทสุจิ โมริ มอริแกน ไอน์สแลนด์ ดาร์คสทอล์คเกอร์ ยาโยอิ จินกูจิ
พอลิเมอร์ เฮอร์ริเคน พอลิเมอร์ คุนิฮิโกะ ยาสุอิ บัตสึ ลีเจี้ยน ออฟ ฮีโร่ส์ โนบุยูกิ ฮิยามะ
ยัตต้าแมน-1 ยัตต้าแมน เอริ คิตามูระ ร็อก วอลนัท ร็อคแมน DASH ซีรีส์ มายูมิ ทานากะ
คาราส คาราส เอ็นโด้ ไดจิ ไคจิน โน โซกิ โอนิมูฉะ ดาวน์ออฟดรีม โทชิยูกิ คุซูดะ
โดรอนโจ ยัตต้าแมน โนริโกะ โอฮาระ โรล ร็อคแมนซีรีส์ ฮิโรมิ อิการาชิ
ฮาคุชอน ไดเมียว12 จินนี่ แฟมิลี่ โทรุ โอฮิระ ซากิ โอโมกาเนะ1 ควิซ นานาริโอ้ ดรีมส์ โยโกะ ฮอนนะ
อิปปาสุแมน1 กาคุเทน! อิปปาสุแมน มิยาสุกิ คาโต้ วิวติฟูล โจ1 วิวติฟูล โจ ชินจิ คาวาดะ
โกลด์ไลตัน โกลด์ไลตัน อิเซอิ ฟุตามาตะ PTX-40A ลอสท์ พลาเน็ต: เอกซ์ตรีม คอนดิชั่น
เทคก้าแมนเบลด13 เทคก้าแมนเบลด โทชิยูกิ โมริกาว่า แฟรงค์ เวสท์13 เดธ ไรซิ่ง ปีเตอร์ วอง กอม
โจ เดอะคอนดอร์13 กัชช่าแมน อิซาโอะ ซาซากิ ซีโร่13 ร็อคแมน X ซีรีส์ เรียวทาโร โอกิอะยุ
ยัตต้าแมน-213 ยัตต้าแมน เอมิริ คาโต้
หมายเหตุ:

^1 ฮาคุชอน ไดเมียว, อิปปาสุแมน, เทคก้าแมนเบลด, โจ เดอะคอนดอร์, ยัตต้าแมน-2, ซากิ โอโมกาเนะ, วิวฟูล โจ, แฟรงค์ เวสท์ และ ซีโร่ เป็นตัวละครที่ปรากฏในระบบวี[29]

^2 ฮาคุชอน ไดเมียว สามารถเล่นได้เฉพาะภาค ครอสเจนเนอเรชั่นออฟฮีโร่ส์ เท่านั้น[30]

^3 เทคก้าแมนเบลด, โจ เดอะคอนดอร์, ยัตต้าแมน-2, แฟรงค์ เวสท์ และ ซีโร่ สามารถเล่นได้เฉพาะภาค อัลติเมตออล-สตาร์ส เท่านั้น[6][31][32]

การพัฒนา

แก้

การออกแบบ

แก้
 
ครอสเจนเนอเรชันออฟฮีโร่ส์

แนวคิด ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม เริ่มขึ้นเมื่อ ทางบริษัททัตสึโนโกะได้เข้าเชิญให้แคปคอมร่วมพัฒนาเกมโดยให้ตัวละครที่มีอยู่ เรียวตะ นิตสุมะถึงกับรู้สึกตื่นเต้นกับการผลิตเกมต่อสู้นี้ขึ้นมา ในขณะที่ผู้จัดทำเองก็คิดว่ามันเหมาะสมมากกว่าด้วยซ้ำที่ตัวละครของทัตสึโนโกะจะกลายเป็นเกม Vs. ที่น่าสนใจยิ่งกว่าสตรีทไฟท์เตอร์[33] แคปคอมประกาศว่านี่เป็นเกมลำดับที่เจ็ดของเกมต่อสู้ซีรีส์ Vs. โดยให้ชื่อว่า ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: ครอสเจนเนอเรชั่นออฟฮีโร่ส์ (Tatsunoko vs. Capcom: Cross Generation of Heroes) สำหรับระบบอาเขตของญี่ปุ่น โดยในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 เกมได้สร้างเสร็จไปแล้วประมาณ 70% และได้ประกาศว่าจะใช้สำหรับเครื่องวี ในญี่ปุ่น[34] การเลือกตัวละครโดยทีมพัฒนาเป็นไปอย่างรอบคอบจนเป็นที่น่าพอใจสำหรับเกมต่อสู้ โดยการเลือกตัวละครในฝั่งทัตสึโนโกะได้มาจากกลุ่มคนหนุ่มสาวที่อยู่ในแต่ละสังกัด[35] ซึ่งทางแคปคอมได้ปิดไว้เป็นความลับเกี่ยวกับการเลือกตัวละครนี้ก่อนถึงเวลาวางจำหน่าย[36][37]

เกมมีระบบการควบคุมที่แตกต่างจากซีรีส์สตรีทไฟท์เตอร์กับเกมต่อสู้ทั้งหลายที่มีอยู่แต่ก่อน การควบคุมอาศัยสามปุ่มควบคุมการโจมตี (เบา, กลาง, หนัก) ซึ่งมีตั้งแต่การพัฒนาสำหรับระบบวีโดยคำนึงถึงความเป็นเกมต่อสู้ รวมถึงความสามารถในการใช้ท่าไม้ตาย และการควบคุมแบบทั่วไปเป็นสำคัญ[38] ในช่วงต้นของการสร้างเกมได้ประกอบเทคนิคการต้าน "แอสเซาส์", โดยบางส่วนได้รวมตัวกันกลายเป็นเทคนิคเมก้าแครชเข้ามาแทนที่[7] ซึ่งการใช้เมก้าแครชนี้อาจนับได้ว่าเป็นการใช้เทคนิคแอสเซาส์รูปแบบหนึ่ง[6]

ความที่ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม มีกราฟิกลักษณะพิเศษที่เหมาะกับเครื่องวีโดยเฉพาะ อาจทำให้การผลิตเกมนี้สำหรับเครื่องคอนโซลอื่นจำเป็นต้องสร้างเกมนี้ขึ้นมาใหม่อย่างละเอียดสำหรับคอนโซลนั้น ๆ ตามที่ทางผู้ผลิตได้วางแผนไว้ในเบื้องต้น และแคปคอมจะเพิ่มการวัดผลสำรวจถึงกระแสตอบรับที่มีต่อตัวเกมสำหรับระบบวีนี้ด้วย[39] พวกเขาคิดว่าเหล่าเกมเมอร์คงจะลงทุนซื้อ อาเขตจอยสติ๊ก (จอยโยก) มาใช้เล่นในเกมนี้[30]

เมื่อได้ทำการคัดเลือกตัวละคร ทีมพัฒนาต่างมีอิสระที่จะเลือกรูปแบบที่ต้องการเห็นในเกมต่อสู้ ตัวอย่างเช่น การเลือกตัวละครในช่วงท้ายก็ให้กลุ่มเยาวชนในสังกัดของพวกเขาได้ช่วยดู[35] อย่างไรก็ตาม ทีมงานก็ได้พบกับข้อจำกัดในการคัดเลือกจากรายชื่อของฝั่งทัตสึโนโกะ โดยระบุว่าได้พิจารณาถึงเรื่องการมอบสิทธิ์ ซึ่งเรียวตะ นิตสุมะได้อธิบายไว้ว่า "ครั้งหนึ่งเรามีรายชื่อที่ทีมงานต้องคิดให้ออกว่าจะทำให้เกิดความสมดุลกับลักษณะของเกมต่อสู้ได้อย่างไร ในเบื้องต้นเราต้องการความสมดุลที่เหมาะสมระหว่างตัวละครชายกับหญิง" และยังได้เน้นไปยังตัวละครหลักไม่น้อยไปกว่าเหล่าวายร้าย บางตัวละครไม่ได้รับการอนุมัติจากทัตสึโนโกะโปรดักชัน ด้วยเหตุผลที่ไม่เคยอธิบายให้ทางแคปคอมได้รับรู้ โดยเรียวตะ นิตสุมะ กล่าวว่า"เราไม่ล้วงถึงความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับการตัดสินใจดำเนินการของพวกเขา พวกเขาไม่ได้ให้เหตุผลกับพวกเรามากนัก เมื่อพวกเขากล่าวว่าไม่ และเราถามว่าทำไม พวกเขาก็ไม่บอกเราอยู่ดี แต่เขาก็ให้เราเสนอข้อแนะนำอื่นได้" โดยตัวละครจากการ์ตูนชุดเจเนซิสคลิมเบอร์ มอสปีดา และสามเหมียวยอดนินจา ซึ่งเป็นการ์ตูนที่ได้รับการเรียกร้องมากที่สุดจากแฟน ๆ ได้ขาดหายไป[40]

ฉาก

แก้

ฉากที่ปรากฏในทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม มีการจำลองรูปฉากที่ปรากฏในวิดีโอเกมของแคปคอม รวมทั้งมีการจำลองรูปแบบฉากที่ปรากฏในการ์ตูนของทัตสึโนโกะ เช่น เมืองลับแลจีน เป็นฉากหมู่บ้านที่อยู่หลังหุบเขาซึ่งจำลองมาจากฉากเกมสตรีทไฟท์เตอร์, เรือบิน เป็นฉากภายในเรือบินลอยฟ้าลำใหญ่จากเกมร็อคแมนแดช, โบราณสถานพินาศ เป็นฉากซากอาคารแบบตะวันตกที่ถูกทำลายจากซีรีส์แคชเชิร์นโรบอท เป็นต้น

การรองรับในภาษาอื่น

แก้

เดิมที ทางแคปคอมไม่ได้ตั้งใจที่จะวางจำหน่าย ทัตสึโกะ vs. แคปคอม: ครอสเจนเนอเรชันออฟฮีโร่ส์ ออกนอกประเทศญี่ปุ่น แต่จากการตอบรับของแฟนเกมส่งผลให้ทางแคปคอมต้องพยายามร้องขอนำลิขสิทธิ์ตัวละครของทัตสึโนโกะไปทำเป็นเวอร์ชันต่างประเทศ ทว่า จากการคำนวณหลายประการของทัตสึโนโกะคิดว่าคงไม่เหมาะที่จะไปปรากฏอยู่ในฝั่งอเมริกาเหนือ อย่างเช่น ไทม์ วอร์เนอร์[35][41] เรียวตะ นิตสุมะ ได้อ้างถึงการดำเนินสิทธิในการครอบครองตัวละครค่อนข้างยากลำบากและซับซ้อน สำหรับแต่ละตัวละครในช่วงเวลาต่าง ๆ นอกจากนี้ ได้มีกระบวนการจัดทำแยกในแต่ละส่วนภูมิภาคโดยเฉพาะ โดยสิ่งที่ได้ปรับแก้ในอเมริกาก็มีการตรวจจัดทำในยุโรปเช่นกัน[30] และในส่วนอื่นก็มีความเป็นไปได้ของ Eighting ซึ่งเป็นนักพัฒนาที่ทางแคปคอมได้ว่าจ้างไว้ว่ายุ่งกับโครงการอื่นอยู่หรือไม่[1] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2009 คริสเตียน สเวนสัน รองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจและแผนกลยุทธ์ของแคปคอมได้กล่าวเน้นว่า "จะไม่มีการออกกฎตายตัว" และทางบริษัทได้พยายามดำเนินการด้านลิขสิทธิ์และทรัพยากรที่มีอยู่ในขณะนี้อย่างเต็มที่[1] และฉากจบของตัวละครได้ถูกวาดใหม่โดย UDON ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สร้างหนังสือคอมิกส์ในสหรัฐอเมริกา โดยใช้แทนที่ฉากจบอนิเมทที่มีอยู่เดิม[42]

ทีมพัฒนาได้ค้นหาตัวละครอย่าง ฟีนิกซ์ ไวร์ท กับ ฟรานซิสก้า วอง การ์ม่า จากเกม แอซ แอททอร์นนี่ (หรือที่รู้จักกันในชื่อของ "เกมทนาย") ให้มาอยู่ในเกม ซึ่ง ฟรานซิสก้า วอง การ์ม่า นั้นทำได้ง่ายเพราะเธอใช้แส้ สำหรับ ฟีนิกซ์ พวกเขาได้หาท่าทางการต่อสู้ที่นอกเหนือไปจากท่าชี้นิ้วสั่งการ อย่างไรก็ตาม แม้พวกเขาจะได้ท่าโจมตีด้วยวลีเด็ดที่ว่า"อิกิอาริ!"(ซึ่งหมายถึง "คัดค้าน!") โดยใช้ถ้อยอักษรในการโจมตีฝ่ายตรงข้าม เขาพบว่าต้องเปลี่ยนตัวอักษรคันจิสี่ตัว มาเป็นตัวอักษรสิบตัวในภาษาอื่น ซึ่งแลดูไม่ค่อยสมดุลในเกมเท่าใดนัก[43]

การโฆษณาประชาสัมพันธ์

แก้
 
เรียวตะ นิตสุมะ ผู้เคยร่วมงานในสตรีทไฟท์เตอร์ IV กำลังให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อในฐานะของเกมโปรดิวเซอร์[44]

ทางแคปคอมได้ลงรายการ "เกมลับ" 2 เกมในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน อิเล็คทรอนิกส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ เอกซ์โป 2009 (E3 2009) [45] "เกมลับแคปคอม #1" ได้เปิดเผยในนิตยสาร นินเทนโดพาวเวอร์ ว่าจะให้ชื่อซับไตเติลของ ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม ในโซนอเมริกาเหนือกับยุโรปว่า "อัลติเมตออล-สตาร์ส" ซึ่งสามารถเล่นได้ที่บูธของบริษัท[46] ส่วนการวางจำหน่ายในโซนยุโรปและออสเตรเลียได้มีประกาศในภายหลัง[47] ทางแคปคอมได้เน้นย้ำว่าจะวางจำหน่ายเกมเวอร์ชันนี้ในวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 2009 ในอเมริกาเหนือ โดยมีมินิเกมที่หลากหลาย, การเสริมระดับของสตอรี่โหมด และระบบไว-ไฟที่รองรับการเล่นเกมแบบออนไลน์ได้ นอกจากนี้ รายชื่อตัวละครได้เพิ่มมาอีกห้าตัว แต่ตัวละครจากทัตสึโนโกะหนึ่งตัวซึ่งได้แก่ ฮาคุชอน ไดเมียว จะหายไป[48] อย่างไรก็ตาม ทางแคปคอมได้เข้ามาแก้ไขข่าวประชาสัมพันธ์ในภายหลัง เนื่องจากไม่ถูกต้องและได้กล่าวว่าพวกเขาต่าง "เฝ้ามองการเพิ่มคุณสมบัติใหม่ในเกม รวมทั้งเป็นไปได้ที่จะเพิ่มอีกหลายตัวละครจากทั้งฝั่งแคปคอมและทัตสึโนโกะ และมีการสำรวจหาทางเลือกสำหรับการเล่นเกมออนไลน์"[49][50]

ฮิเดโตชิ อิชิซาว่า ซึ่งเป็นผู้กำกับได้ยอมรับว่า เช่นเดียวกับที่ ครอสเจนเนอเรชันออฟฮีโร่ส์ ซึ่งไม่ได้วางแผนไว้ในขั้นแรกว่าจะวางจำหน่ายในต่างประเทศ และฉบับ อัลติเมตออล-สตาร์ส ก็ได้ไม่ได้วางแผนไว้สำหรับจำหน่ายในญี่ปุ่น จากการเรียกร้องของแฟนเกมและทีมวิจัยและพัฒนาในท้ายที่สุดผลก็ได้ดังหวัง มีการประกาศว่าเกมฉบับดังกล่าวได้ปรับปรุงให้สามารถวางขายในฝั่งญี่ปุ่นได้[2] ในช่วงต้นของงาน 2009 โตเกียวเกมโชว์ ทางแคปคอมได้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเป็นระยะๆเกี่ยวกับสิ่งใหม่ แม้ว่าจะมีข่าวรั่วไหลจากสำนักงานของญี่ปุ่นในโค้ดจาวาสคริปต์ออกมาให้เห็นอยู่ก่อนก็ตาม[32][51] ตัวละครแทบทุกตัวที่สามารถเล่นได้ในระบบวีฉบับดั้งเดิม ก็สามารถเลือกเล่นได้ในเกมชุดใหม่นี้ด้วย โดยยกเว้นเพียงฮาคุชอน ไดเมียว รายเดียวเท่านั้น[30]

ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับระบบวี โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะของกราฟิกที่เป็นตัวยับยั้งการแปลงเกมสู่ระบบอื่นโดยปราศจากการสร้างเกมขึ้นมาใหม่[52] เกมได้รับการพัฒนาสำหรับระบบวีตั้งแต่ทางผู้ผลิตต้องการให้แต่ละระบบคอนโซลได้มีเกมต่อสู้[40] ทางผู้ผลิตได้แนะนำถึงผลสืบเนื่องที่มีความเหมาะสมมากกว่าเดิม และแคปคอมได้วัดกระแสตอบรับที่มีต่อตัวเกมสำหรับระบบวีนี้เป็นครั้งแรก[52] พวกเขาคิดว่าถ้าเหล่าเกมเมอร์ลงทุนซื้ออาเขตสติ๊กสำหรับใช้กับเกมนี้ ซึ่งมันอาจถือได้ว่าเป็น "การสร้างความเสียหายสำหรับแฟนเกม" ที่จะไม่ผลิตเกมเพิ่มเติม[30] เซธ คิลเลี่ยน ซึ่งเป็นผู้จัดการชุมชนของแคปคอมได้เน้นย้ำว่าหากเกมได้รับการต้อนรับจากแฟนเกมเช่นเดียวกันนั้น ก็จะมีการแปลงเกมเป็นภาษาท้องถิ่นสำหรับเกมในโครงการอื่นด้วยเช่นกัน[53]

การตลาด

แก้

ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: อัลติเมตออล-สตาร์ส จำหน่ายพร้อมกับคันบังคับแบบอาเขตของแมดแคทส์ หรือแบบแผ่นเกมเพียงอย่างเดียว สำหรับคันบังคับแบบอาเขตนี้เป็นผลงานออกแบบของนักออกแบบชื่อดังอย่าง ชินคิโร่ ซึ่งเป็นนามปากกาของ "โทชิอากิ โมริ" ผู้เป็นเจ้าของผลงานการออกแบบตัวละครจากเกมของบริษัท SNK ในอดีตปรากฏอยู่ด้วย[54] โดยได้รับการสั่งจัดทำล่วงหน้าโดยเกมสตอป ผู้เป็นบริษัทค้าปลีกของสหรัฐอเมริกา โดยมีการ์ดสะสมแปดลายจากสิบสองแบบ ด้วยการจัดพิมพ์แบบภาพสามมิติประกอบด้วย[55] และทางแคปคอมเจแปนออนไลน์สโตร์เองก็ได้เสนอซีดีเพลงที่มีสี่แทร็คเสียงจากเกมและเกมเวอร์ชันก่อนหน้า ตลอดจนมีสมุดส่งเสริมการขายไฟล์ลับฉบับที่ยี่สิบเจ็ดมาสร้างแรงจูงใจในการซื้ออีกด้วย[56] สำหรับในเวอร์ชัน ครอสเจนเนอเรชั่นออฟฮีโร่ส์ มีเพลงโอเพนนิ่งชื่อ "อะครอสเดอะบอร์เดอร์" ที่ขับร้องโดยอาซามิ อาเบะ[57] ในขณะที่เวอร์ชันภาษาอังกฤษอย่าง อัลติเมตออล-สตาร์ส มีการให้เสียงร้องโดยแอนนา โกลสตอน พร้อมด้วยเจมส์ ซี.วิลสันขับร้องจังหวะแร็ปในฉากเปิดเกม รวมทั้งธีมซองของโรลจังในเวอร์ชันญี่ปุ่นและอังกฤษที่เป็นธีมซองของโรลจัง[56][58] สมุดคู่มือไฟล์ลับ ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ช่วงปีค.ศ. 1996 ถึง 1999 ที่มีอยู่ 26 เล่ม ได้มีการรวบรวมแนวคิดของงานอาร์ทเวิร์ก และได้บันทึกถึงการออกแบบสำหรับเกมที่พวกเขาได้ออกจำหน่ายด้วย[59]

การเปิดตัวอย่างเป็นทางการจัดขึ้นที่นินเทนโดเวิลด์สโตร์ในร็อกกีเฟลเลอร์เซ็นเตอร์ เมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 2010 โดยจุดเด่นภายในงานคือการแจกลายเซ็นของเรียวตะ นิตสุมะ, การแจกของรางวัลและการแข่งขัน แฟนเกมหลายร้อยรายที่เฝ้าคอยได้เข้าร่วมกิจกรรมในเวลา 11:00 - 15:00 น. โดยพวกเขาสามารถทดลองเล่นเกมก่อนการวางจำหน่ายจริงได้[60]

เซธ คิลเลียน ได้แสดงความพึงพอใจความพึงพอใจสำหรับการวางจำหน่ายในอเมริกาเหนือของเวอร์ชัน อัลติเมตออล-สตาร์ส จึงคาดได้ว่า ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม น่าจะเป็นเกมที่ได้รับความนิยมอยู่ในอันดับต้น ๆ ได้อย่างแน่นอน แม้ว่าเกมนี้จะมิได้รับการบันทึกความสำเร็จอย่างรวดเร็วในพื้นที่ใด ๆ อย่างเป็นทางการก็ตาม แต่ก็นับว่าประสบความสำเร็จ" นั่นเป็นสิ่งที่คิลเลี่ยนกล่าวไว้ "และสามารถบอกได้จริง ๆ ถึงการพิจารณาบางสิ่ง ว่าเรากำลังพูดคุยเกี่ยวกับเกมนี้ ที่ไม่เพียงแต่เป็นเกมที่ไม่เคยมีมา หากแต่จะเป็นรายการที่มีผู้คนส่วนใหญ่ถึงกับอ้าปากค้าง"[61] โดยเวอร์ชันอัลติเมตออล-สตาร์ส ที่ประเทศญี่ปุ่นได้สร้างยอดจำหน่าย 10,583 ชุดในสัปดาห์แรก และในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 2008 ครอสเจนเนอเรชันออฟฮีโร่ส์ ก็ได้สร้างยอดจำหน่ายสูงถึง 62,805 ชุด[62]

การตอบรับ

แก้
ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: อัลติเมตออล-สตาร์ส
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เกมแรงกิงส์85.89%[63]
เมทาคริติก85/100[64]
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
ยูโรเกมเมอร์8/10[65]
เกมอินฟอร์เมอร์8/10[66]
เกมสปอต8.5/10[13]
เกมเทรเลอส์9.0/10[67]
ไอจีเอ็น9/10[23]
นินเท็นโดเพาเวอร์9/10
เอ็กซ์-เพลย์     

ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: อัลติเมตออล-สตาร์ส ได้รับการวิจารณ์ในแง่บวกเป็นส่วนใหญ่ โดยได้รับคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 86 จากการรวบรวมเว็บไซต์เมตาคริทิคและเกมแรงกิงส์[63][64]

เว็บไซต์เกมเทรเลอร์ส ได้ยกย่องถึงรูปแบบเกมที่เข้าถึงได้ง่ายรวมไปถึงเนื้อหาสาระในส่วนเพิ่มเติม[67] นิตยสารทางการของนินเทนโด ได้กล่าวยกย่องกราฟิกเซล-เชดด์และรายชื่อตัวละครที่มีจำนวนมาก[68] นิตยสารนินเทนโดพาวเวอร์ ได้กล่าวยกย่องชื่อของเกม แต่ทางนิตยสารเองรู้สึกเสียดายอยู่บ้างที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดบางส่วนจากฉบับครอสเจนเนอเรชันออฟฮีโรส์ รายการโทรทัศน์เอกซ์-เพลย์ ได้ให้รางวัลแก่อัลติเมตออล-สตาร์ส ด้วยคะแนนเต็ม 5 และกล่าวว่าเป็นหนึ่งในเกมที่สามารถเข้าถึงได้มากที่สุดสำหรับนักเล่นเกมต่อสู้ในวันนี้ เอ็นเกมเมอร์ให้คะแนน 85 จาก 100 คะแนนและกล่าวยกย่องในความหลากหลาย ตลอดจนภาพที่สวยงามกับระบบการควบคุมที่ง่ายต่อการเข้าถึงทั้งผู้เล่นใหม่และแฟนเกมชุดเดิมของเกมประเภทนี้[69]

ส่วนนิตยสารเกมอินฟอร์เมอร์ของสหรัฐอเมริกาให้คะแนนเกมนี้ 8 จาก 10 คะแนน และไอจีเอ็นให้คะแนน 9.0 จาก 10 คะแนน[70] ดาโกตา กราบาวสกี จากเกมโซนส์ให้เรตติงเกมนี้ 8.5 จาก 10 และกล่าวว่า "แฟนเกมแนวต่อสู้จะต้องหยิบเกมนี้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เพราะมีตัวละครเพิ่มเติมสำหรับระบบนินเทนโดวี"[71]

นิตยสารแฟมิซือของญี่ปุ่น ให้คะแนนเกม ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: ครอสเจนเนอเรชันออฟฮีโร่ 32 คะแนน จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน โดยกล่าวว่าแม้รูปแบบการเล่นของเกมอาจราบเรียบไปบ้าง เนื่องจากผู้มีทักษะด้านเกมรู้สึกราวกับว่ากลับไปเล่นในเกมต่อสู้แบบเก่า อย่างไรก็ดีนักวิจารณ์ได้ระบุด้านดีของความหลากหลายของตัวละครและระบบการต่อสู้ของเกมที่เป็นจุดแข็ง[72] เมื่ออัลติเมตออล-สตาร์ส ได้เปิดตัวครั้งแรกในงาน อีทรี 2009 (E3 2009) ก็สามารถคว้ารางวัลเกมประเภทต่าง ๆ ได้หลายรางวัล[73] และได้รับรางวัลเกมคริทิกส์ในสาขา"เกมต่อสู้ยอดเยี่ยม" ด้วยเช่นกัน[74]

เพลงประกอบ

แก้

บริษัทแคปคอมยังได้จัดทำเพลงประกอบสำหรับเกม อัลติเมตออล-สตาร์ส โดยให้ชื่อชุดเพลงประกอบนี้ว่า ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: อัลติเมตออล-สตาร์ส โวคอลแทรกส์ (Tatsunoko vs. Capcom Ultimates All-Stars Vocal Tracks) ซึ่งผลิตขึ้นมาในจำนวนจำกัดในประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยเพลงหลักจากเกมจำนวนสี่เพลง ได้แก่:[75]

  • Across the Border 2010 - เพลงเปิดเกม "อัลติเมตออล-สตาร์ส"
  • Where The Wind Blows - ธีมหลักของเกม "อัลติเมตออล-สตาร์ส" โดยเพลงนี้เป็นฉบับภาษาอังกฤษของเพลง คาเซะโยะสึตาเอเตะ เพลงเปิดเกม "ครอสเจนเนอเรชันออฟฮีโรส์"

โบนัสแทรค

แก้
  • Across the Border - เพลงเปิดเกม "ครอสเจนเนอเรชันออฟฮีโรส์"
  • คาเซะโยะสึตาเอเตะ' 08 (ญี่ปุ่น: 風よ 伝えて…'08โรมาจิKaze Yo Tsutaete...'08) - เพลงเปิดเกม "ครอสเจนเนอเรชันออฟฮีโรส์"

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Orry, Tom (2008-11-03). "'Do not rule out' Tatsunoko vs. Capcom western release". VideoGamer.com. Pro-G. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-10. สืบค้นเมื่อ 2009-05-25.
  2. 2.0 2.1 Killian, Seth (2009-09-17). "Introducing Tatsunoko Vs Capcom Game Director Ishizawa-san". Capcom-Unity. Capcom. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
  3. Hoffman, Chris (2009). "When Heroes Collide". Nintendo Power. United States: Future US. 243: 47. ISSN 1041-9551.
  4. "Release Summary: Tatsunoko vs. Capcom". GameSpot. CBS Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-25. สืบค้นเมื่อ 2009-05-25.
  5. 5.0 5.1 "Related Games: Release Summary". GameSpot. CBS Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-16. สืบค้นเมื่อ 2010-01-18.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 "TGS 2009: Tatsunoko VS. Capcom: Ultimate All-Stars, It's Frank West, Baby!" (Press release). Capcom. 2009-09-23. สืบค้นเมื่อ 2009-12-05.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Grabowski, Dakota (2010-01-28). "Seth Killian speaks on DLC for Tatsunoko vs. Capcom". GameZone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-31. สืบค้นเมื่อ 2010-03-01.
  8. Killian, Seth (2009-05-27). "Tatsunoko vs. Capcom Interview With Seth Killian" (Interview). สัมภาษณ์โดย Ricardo Torres. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Video)เมื่อ 2009-06-01. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
  9. Niizumi, Hirohiko (2008-07-10). "Tatsunoko vs. Capcom Beta Test Hands-On". GameSpot. CBS Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-17. สืบค้นเมื่อ 2009-06-04.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 Hoffman, Chris (2009). "When Heroes Collide". Nintendo Power. United States: Future US. 243: 49–50. ISSN 1041-9551.
  11. 11.0 11.1 11.2 Eighting/Capcom (2010), p. 7.
  12. 12.0 12.1 Eighting/Capcom (2010), p. 18.
  13. 13.0 13.1 13.2 Ramsay, Randolph (2010-01-27). "Tatsunoko vs. Capcom Review". Gamespot. p. 1–2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-24. สืบค้นเมื่อ 2010-05-01.
  14. Eighting/Capcom (2010), pp. 19, 21.
  15. 15.0 15.1 Eighting/Capcom (2010), p. 20.
  16. 16.0 16.1 16.2 "Wii Hands-On Preview: Tatsunoko vs Capcom". neurope.com.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-11. สืบค้นเมื่อ 2010-06-26.
  17. Eighting/Capcom (2010), p. 19.
  18. Eighting/Capcom (2010), pp. 16-17.
  19. "Game Design". tatsunoko.vscapcom.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-29. สืบค้นเมื่อ 2010-06-26.
  20. "Combo System". tatsunoko.vscapcom.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-12. สืบค้นเมื่อ 2010-06-26.
  21. "Tatsunoko VS Capcom Playtest". IGN Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-15. สืบค้นเมื่อ 2010-06-26.
  22. "First Look: Tatsunoko VS Capcom Ultimate All Shooters". andriasang.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-15. สืบค้นเมื่อ 2010-06-26.
  23. 23.0 23.1 Bozon, Mark (2010-01-22). "Tatsunoko vs. Capcom: Ultimate All Stars; Here comes a new challenger!". IGN. Fox Interactive Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-25. สืบค้นเมื่อ 2010-01-22.
  24. Eighting/Capcom (2010), pp. 12-13.
  25. Jonathan Holmes (2010-01-25). "Phoenix and Ingrid may still come to Tatsunoko Vs Capcom". Destructoid. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-24. สืบค้นเมื่อ 2010-02-25.
  26. 26.0 26.1 26.2 "Tatsunoko vs. Capcom (UAS) Tech Info". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-26. สืบค้นเมื่อ 2009-09-24.
  27. 27.0 27.1 Eighting/Capcom (2010), pp. 24-35.
  28. 28.0 28.1 "Tatsunoko vs. Capcom (CGOH) Tech Info". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2010-07-05.[ลิงก์เสีย]
  29. Tanaka, John (2008-11-03). "Viewtiful Joe Coming to Tatsunoko VS Capcom". IGN. Fox Interactive Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-03. สืบค้นเมื่อ 2010-05-26.
  30. 30.0 30.1 30.2 30.3 30.4 Niitsuma, Ryota (2009). "Tatsunoko vs. Capcom Producer Answers Questions About Online Play, Sequel Possibilities" (Transcript) (Interview). สัมภาษณ์โดย Spencer. สืบค้นเมื่อ 2009-08-01.
  31. "Tatsunoko vs. Capcom: Ultimate All-Stars Update- New character reveal". Gamespot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-28. สืบค้นเมื่อ 2009-09-09.
  32. 32.0 32.1 Bozon, Mark (2009-10-13). "Character Unveil: Tatsunoko vs. Capcom". IGN. Fox Interactive Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-17. สืบค้นเมื่อ 2009-10-13.
  33. Niitsuma, Ryota (2009-11-09). "Gamasutra Versus Capcom: The Tatsunoko Interview" (Transcipt) (Interview). สัมภาษณ์โดย Christian Nutt. สืบค้นเมื่อ 2009-11-21.
  34. IGN Staff (2008-09-17). "Tatsunoko VS Capcom Set for Wii". IGN. Fox Interactive Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-14. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
  35. 35.0 35.1 35.2 Killian, Seth (2009-06-11). "E3 09: Tatsunoko vs Capcom - Interview" (Audio) (Interview). สัมภาษณ์โดย Games Radar. สืบค้นเมื่อ 2009-06-16.
  36. Tanaka, John (2008-07-25). "New Tatsunoko VS Capcom Characters". IGN. Fox Interactive Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-29. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
  37. Tanaka, John (2008-11-03). "Viewtiful Joe Coming to Tatsunoko VS Capcom". IGN. Fox Interactive Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-03. สืบค้นเมื่อ 2010-05-26.
  38. Hoffman, Chris (2009). "When Heroes Collide". Nintendo Power. United States: Future US. 243: 49. ISSN 1041-9551.
  39. Yin-Poole, Wesley (2009-10-07). "Capcom: No plans for Tatsunoko vs. Capcom XBLA/PSN port". VideoGamer.com. Pro-G. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-31. สืบค้นเมื่อ 2010-01-09.
  40. 40.0 40.1 Crecente, Brian (2010-01-22). "The Lost Characters of Tatsunoko Vs. Capcom". Kotaku. Gawker Media. สืบค้นเมื่อ 2010-07-27.
  41. Killian, Seth (2008-12-19). "Capcom's Seth Killian" (Interview). สัมภาษณ์โดย Ben PerLee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Transcript)เมื่อ 2009-05-28. สืบค้นเมื่อ 2009-05-21.
  42. "All-New Endings in Tatsunoko Vs. Capcom: Ultimate All-Stars, Courtesy of Udon". Capcom-Unity.com. สืบค้นเมื่อ 2010-06-26.
  43. "Fighting Talk with Ryota Niitsuma, Tatsunoko vs. Capcom's Producer". NGamer. October 2009. p. 35.
  44. "Street Fighter IV Tech Info". GameSpot. CBS Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-01. สืบค้นเมื่อ 2010-06-18.
  45. Kramer, Chris (2008-05-06). "Capcom (and you!) At E3 2009". Capcom-Unity. Capcom. สืบค้นเมื่อ 2009-05-31.
  46. Kramer, Chris (2008-05-18). "Capcom E3 Mystery Game #1 revealed in July Nintendo Power". Capcom-Unity. Capcom. สืบค้นเมื่อ 2009-05-18.
  47. Tom Bramwell (2009-03-06). "Tatsunoko vs. Capcom heading West". Eurogamer. Eurogamer Network. สืบค้นเมื่อ 2009-05-19.
  48. "E3 09: Five new characters coming to the US Tatsunoko" (Press release). Capcom. 2009-06-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-05. สืบค้นเมื่อ 2009-06-04.
  49. Bozon, Mark (2009-06-03). "E3 2009: Tatsunoku vs. Capcom Hands-on". IGN. Fox Interactive Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2009-06-04.
  50. Sinclair, Brendan (2009-06-03). "Tatsunoko vs. Capcom might go online, add new fighters". GameSpot. CBS Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-21. สืบค้นเมื่อ 2009-06-04.
  51. Gantayat, Anoop (2009-09-10). "Tatsunoko VS Capcom Characters Leak Out". IGN. Fox Interactive Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-14. สืบค้นเมื่อ 2009-11-23.
  52. 52.0 52.1 Yin-Poole, Wesley (2009-10-07). "Capcom: No plans for Tatsunoko vs. Capcom XBLA/PSN port". VideoGamer.com. Pro-G. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-31. สืบค้นเมื่อ 2010-01-09.
  53. Killian, Seth (2010-01-23). "Seth Killian Interview-Tatsunoko vs Capcom Launch Event" (Interview). สัมภาษณ์โดย Keith. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Video)เมื่อ 2010-04-02. สืบค้นเมื่อ 2010-05-11.
  54. "Mad Catz Announces Licensed Tatsunoko VS. Capcom Arcade FightStick For Nintendo Wii". IGN Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-10. สืบค้นเมื่อ 2010-06-26.
  55. "Pre-orders from GameStop". CAPCOM-UNITY.com. สืบค้นเมื่อ 2010-06-26.
  56. 56.0 56.1 Killian, Seth; Niitsuma, Ryota (2009-12-18). "Tatsunoko Vs Capcom Dev Blog: Music, Concept Art, and the Last Boss that Never Was". Capcom-Unity. Capcom. สืบค้นเมื่อ 2010-07-02.
  57. "第七話:みんなの知りたいこと" (ภาษาญี่ปุ่น). Capcom Japan. 2008-11-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-09. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29.
  58. Eighting (2010-01-26). Tatsunoko vs. Capcom: Ultimate All-Stars (Wii). Capcom. Level/area: Credits.
  59. "Tatsunoko Vs. Capcom Ultimate All-Stars(Wii)/ イーカプ限定特典「シークレットフ" (ภาษาญี่ปุ่น). Capcom Japan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-08. สืบค้นเมื่อ 2010-07-07.
  60. "Good news/Bad news: Tatsunoko Vs Capcom NYC event update" (Press release). Capcom. 2010-01-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-20. สืบค้นเมื่อ 2010-06-18.
  61. Blundon, Matthew (April 28, 2010). "Capcom: Tatsunoko Vs. Capcom Beat Initital Sales Expectations". Nintendo World Report. สืบค้นเมื่อ 2010-05-16.
  62. "Nintendo Wii Japanese Ranking". Japan Game Charts. 2009-06-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-31. สืบค้นเมื่อ 2010-02-12.
  63. 63.0 63.1 "Tatsunoko vs. Capcom: Ultimate All-Stars for Wii". Game Rankings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-09. สืบค้นเมื่อ 2010-05-22.
  64. 64.0 64.1 "Tatsunoko vs. Capcom: Ultimate All-Stars (wii: 2010) Reviews". Metacritic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-09. สืบค้นเมื่อ 2010-05-01.
  65. "Wii Review by Matt Edwards". EuroGamer. สืบค้นเมื่อ 2010-11-06.
  66. "Simplified Mechanics Make Flashy Combat Accessible". GameInfomer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-07. สืบค้นเมื่อ 2010-11-06.
  67. 67.0 67.1 "Capcom's all-stars square off against some of Japan's biggest anime icons". GameTrailers. สืบค้นเมื่อ 2010-11-06.
  68. "Nintendo: Wii Reviews". The Official Nintendo Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-02. สืบค้นเมื่อ 2010-11-06.
  69. Kitts, Martin (December 30, 2009). "Tatsunoko vs Capcom Ultimate All Stars". NGamer, p. 70-71
  70. Bozon, Mark (2010-01-22). "Tatsunoko vs. Capcom: Ultimate All Stars; Here comes a new challenger!". IGN. Fox Interactive Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-25. สืบค้นเมื่อ 2010-01-22.
  71. "Tatsunoko vs. Capcom: Ultimate All-Stars - WII - Review". GameZone Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-23. สืบค้นเมื่อ 2010-06-26.
  72. Gifford, Kevin (2008-12-03). "Japan Review Check: Tatsunoko vs. Capcom". 1UP.com. UGO Networks. สืบค้นเมื่อ 2009-05-25.[ลิงก์เสีย]
  73. Killian, Seth (2009-06-23). "Tatsunoko Vs Capcom Ultimate All-Stars Wins Game Critics E3 Award!". Capcom-Unity. Capcom. สืบค้นเมื่อ 2010-01-28.
  74. "Game Critics Awards - 2009 Winners". Game Critics Awards. สืบค้นเมื่อ 2009-06-23.
  75. "Tatsunoko vs. Capcom Ultimate All-Stars Vocal Tracks". Capcom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-10. สืบค้นเมื่อ 2010-07-09.
บรรณานุกรม
  • Eighting/Capcom (2010-01-26). Tatsunoko vs. Capcom: Ultimate All-Stars Instruction Manual. Capcom.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้