จาวาสคริปต์

จาวาสคริปต์ (JavaScript) เป็นภาษาสคริปต์ ทีมีลักษณะการเขียนแบบโพรโทไทป์ (Prototyped-based Programming) ส่วนมากใช้ในหน้าเว็บเพื่อประมวลผลข้อมูลที่ฝั่งของผู้ใช้งาน แต่ก็ยังมีใช้เพื่อเพิ่มเติมความสามารถในการเขียนสคริปต์โดยฝังอยู่ในโปรแกรมอื่น ๆ

จาวาสคริปต์
กระบวนทัศน์Multi-paradigm: scripting, object-oriented (prototype-based), imperative, functional[1]
ผู้ออกแบบBrendan Eich
ผู้พัฒนาNetscape Communications Corporation, Mozilla Foundation, Ecma International
เริ่มเมื่อพฤษภาคม 1995; 28 ปีที่แล้ว (1995-05)
รุ่นเสถียรECMAScript 6[2] (17 มิถุนายน 2015; 7 ปีก่อน (2015-06-17))
ระบบชนิดตัวแปรdynamic, duck
เว็บไซต์www.ecma-international.org/publications-and-standards/standards/ecma-262/
ตัวแปลภาษาหลัก
KJS, Rhino, SpiderMonkey, V8, Carakan, Chakra
ได้รับอิทธิพลจาก
Lua, Scheme, Perl, Self, Java, C, Python, AWK, HyperTalk
ส่งอิทธิพลต่อ
ActionScript, AtScript, CoffeeScript, Dart, JScript .NET, Objective-J, QML, TypeScript, LiveScript
JavaScript
Javascript icon.svg
นามสกุลไฟล์
.js
ประเภทสื่ออินเทอร์เน็ต
  • application/javascript
  • text/javascript (obsolete)[3]
Uniform Type Identifier (UTI)com.netscape.javascript-source[4]
รูปแบบScripting language

ซัน ไมโครซิสเต็มส์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "JavaScript" โดยมันถูกนำไปใช้ภายใต้สัญญาอนุญาตเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีโดย เน็ตสเคป และมูลนิธิมอซิลลา[ต้องการอ้างอิง]

ประวัติแก้ไข

เริ่มพัฒนาโดย Brendan Eich พนักงานบริษัทเน็ตสเคป โดยขณะนั้นจาวาสคริปต์ใช้ชื่อว่า โมคา (Mocha) และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น ไลฟ์สคริปต์ และเป็น จาวาสคริปต์ในปัจจุบัน รูปแบบการเขียนภาษาที่ใช้ คล้ายคลึงกับภาษาซี รุ่นล่าสุดของจาวาสคริปต์คือ 2.0 ซึ่งตรงกับมาตรฐานของ ECMAScript

ภาษาจาวาสคริปต์ไม่มีความสัมพันธ์กับ ภาษาจาวา (Java) แต่อย่างใด ยกเว้นแต่โครงสร้างภาษาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เนื่องมาจากได้รับการพัฒนาต่อมาจากภาษาซีเหมือน ๆ กัน และมีชื่อที่คล้ายคลึงกันเท่านั้น

สำหรับเจสคริปต์ (JScript) หลังจากที่จาวาสคริปต์ประสบความสำเร็จ โดยมีเว็บเบราว์เซอร์จากหลายๆ บริษัทนำมาใช้งาน ทางไมโครซอฟท์จึงได้พัฒนาภาษาโปรแกรมที่ทำงานในลักษณะคล้ายคลึงกับจาวาสคริปต์ขึ้น และตั้งชื่อว่าเจสคริปต์ ซึ่งทำงานได้กับเบราว์เซอร์อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ (Internet Explorer) เท่านั้น เริ่มใช้ครั้งแรกใน อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ 3.0 เมื่อ สิงหาคม พ.ศ. 2539 โดยสร้างตามมาตรฐาน ECMA 262

การใช้งานแก้ไข

จาวาสคริปต์ เป็นภาษาในรูปแบบของภาษาโปรแกรมแบบโพรโทไทป์ โดยมีโครงสร้างของภาษาและไวยกรณ์อยู่บนพื้นฐานของภาษาซี

ปัจจุบันมีการใช้จาวาสคริปต์ที่ฝังอยู่ในเว็บเบราว์เซอร์ในหลายรูปแบบ เช่น ใช้เพื่อสร้างเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลงเสมอภายในเว็บเพจ, ใช้เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ผู้ใช้กรอกก่อนนำเข้าระบบ, ใช้เพื่อเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ภายใต้โครงสร้างแบบ Document Object Model (DOM) เป็นต้น

นอกจากนี้จาวาสคริปต์ยังถูกฝังอยู่ในแอปพลิเคชันต่าง ๆ นอกเหนือจากเว็บเบราว์เซอร์ได้อีกด้วย เช่น widget ของ ยาฮู! เป็นต้น โดยรวมแล้วจาวาสคริปต์ถูกใช้เพื่อให้นักพัฒนาโปรแกรม สามารถเขียนสคริปต์เพื่อสร้างคุณสมบัติพิเศษต่างๆ เพิ่มเติมจากที่มีอยู่บนแอปพลิเคชันดังเดิม

โปรแกรมใด ๆ ที่สนับสนุนจาวาสคริปต์จะมีตัวขับเคลื่อนจาวาสคริปต์ (JavaScript Engine) ของตัวเอง เพื่อเรียกใช้งานโครงสร้างเชิงวัตถุของโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันนั้น ๆ

ตัวอย่างการประกาศใช้งานตัวแปรแก้ไข

ตัวแปร ในจาวาสคริปต์ สามารถประกาศใช้งานได้ด้วยการระบุคำสำคัญ var นำหน้าชื่อตัวแปร:[5]

var x; //ประกาศตัวแปร x, โดยที่ยังไม่มีการใส่ค่า
var y = 2; //ประกาศตัวแปร y ให้มีค่าเท่ากับ 2

ตัวอย่างด้านบน มีการใส่หมายเหตุ ตามหลังการประกาศใช้งานตัวแปร โดยการใส่เครื่องหมายทับ สองตัว (forward slashes)

คอนโซลแก้ไข

คำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบและแสดงผลค่าต่างๆ โดยการเรียกใช้ อ็อบเจกต์

ดูเพิ่มแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. Flanagan 2011, pp. 1–2.
  2. "Standard ECMA-262". Ecma International. 2015-06-17.
  3. "RFC 4329". Apps.ietf.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-16. สืบค้นเมื่อ 2013-05-26.
  4. "System-Declared Uniform Type Identifiers". Mac OS X Reference Library. Apple Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 2010-03-05.
  5. "var - JavaScript - MDN". The Mozilla Developer Network. สืบค้นเมื่อ 22 December 2012.