ถวัติ ฤทธิเดช (พ.ศ. 2437 — 5 มกราคม พ.ศ. 2493)[1] เจ้าของนามปากกา นายอาลี[2] กับ นายมูซอร์ [2][3] เป็นราษฎรสามัญชนที่มีบทบาทอย่างสูงต่อสังคมการเมืองไทยในช่วง พ.ศ. 2466 — 2478 ถึงขั้นที่กล่าวได้ว่าเขาเป็นหนึ่งในกำลังหลักของ "การเมืองพลเมือง" ในเวลานั้น[4] หนึ่งบุคคลร่วมยุคสมัยเดียวกันกับ นรินทร์กลึง

ถวัติ ฤทธิเดช
เกิดพ.ศ. 2437
เมืองสมุทรสงคราม ประเทศสยาม
เสียชีวิต5 มกราคม พ.ศ. 2493 (56 ปี)
จังหวัดเพชรบูรณ์ ประเทศไทย
นามปากกานายอาลี นายมูซอร์
อาชีพข้าราชการ, นักเขียน, นักหนังสือพิมพ์
คู่สมรสช้อย ฤทธิเดช
บุตรสาวิตร ฤทธิเดช

ประวัติ แก้

ถวัติ ฤทธิเดช เกิด พ.ศ. 2437 บิดาชื่อ นายวร ฤทธิเดช เป็นกำนันและเป็นชาวสวนฐานะดีแห่ง อำเภอบางช้าง จังหวัดสมุทรสงคราม มารดาชื่อ นางต้อม ฤทธิเดช แต่เสียชีวิตตั้งแต่ถวัติยังเล็ก เป็นบุตรจำนวนพี่น้อง 4 คน เป็นชาย 2 หญิง 2 กำพร้ามารดา แต่น้องสาวมารดาชื่อ นางต่อม ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้ามารับเลี้ยงดูแทน[5] ตัวถวัติเองเป็นบุตรคนสุดท้องของครอบครัว เริ่มต้นการศึกษาที่ อำเภอบางช้าง พออายุครบบวชจึงมาบวชเรียนอยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ (บางข้อมูลว่าบวชที่วัดเทพศิรินทราวาส[1]) ต่อมาได้เป็นผู้สอนพระธรรมวินัยแก่ภิกษุสามเณรทั่วไป หลังจากสึกออกมาแล้วพักอยู่ที่บ้านเจ้าคุณมหาโยธา และต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนอยู่ที่กรมอู่ทหารเรือเป็นเวลา 4 ปี ถวัติเกิดความเบื่อหน่ายต่อชีวิตราชการจึงลาออกมาเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์สยามสักขี เมื่อปี พ.ศ. 2465 เมื่อทำหนังสือพิมพ์สยามสักขี ทนการกดขี่ไม่ได้ จึงออกมาตั้งหนังสือพิมพ์กรรมกร มีจุดมุ่งหมายเพื่อสู้ชีวิตที่ดีกว่าของชนชั้นกรรมาชีพ[6][1]

หนังสือพิมพ์เพื่อกรรมกร มีนักเขียนที่เป็นปัญญาชน เขียนอยู่ด้วย หนึ่งในนั้นคือ ร.ต.ต.วาศ สุนทรจามร ที่ใช้นามปากกาว่าหมอโพล้ง น่าเสียดายที่หนังสือพิมพ์มีอายุได้ 3 ปี ต้องปิดตัวเอง ต่อมาได้ออกหนังสือพิมพ์ชื่อ ปากกาไทย เพื่อเป็นปากเสียงให้ชนชั้นกรรมกรเช่นกัน พร้อมทั้งตั้งสถานทวยราฎร์ขึ้น ถวัติใช้บ้านพักเป็นสำนักงาน แต่สถานทวยราษฎร์ก็เลิกกิจการในที่สุด[1][6]

ชีวิตครอบครัว แก้

ถวัติ สมรสกับ นางช้อย ฤทธิเดช มีบุตรด้วยกัน นามว่า สาวิตร ฤทธิเดช[7] ถวัติยังได้ก่อตั้ง “สมาคมอนุกูลกรรมกร” เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่กรรมกรโดยทั่วไป ทำให้กรรมกรมาขอความช่วยเหลือเสมอ แต่เขาดำรงชีพด้วยการเขียนบทความขายและนำเงินส่วนนี้มาช่วยเหลือกรรมกร การดำรงชีวิตดังกล่าวทำให้ฐานะของครอบครัวยากจนลงเป็นลำดับ จนกระทั่งนำสมบัติทั้งของตนและภรรยาออกขายเพื่อยังชีพ และช่วยเหลือกรรมกรที่มาขอความช่วยเหลือ เขาต้องเขียนหนังสือถึงตี 4 ตี 5 ตรากตรำไม่ได้พักผ่อน เมื่อขึ้นไปทำธุระที่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ติดเชื้อมาลาเรีย และรักษาตัวที่โรงพยาบาลวชิระเพียง 5 วัน ก็ถึงแก่กรรม เมื่ออายุ 56 ปี[1]

แนวคิดและการเคลื่อนไหวทางการเมือง แก้

 
หนังสือพิมพ์กรรมกร ผู้ก่อตั้งโดย ถวัติ ฤทธิเดช

ก่อนปี 2475 ปัญญาชนเสรีนิยมส่วนหนึ่งไปสร้างฐานทางการเมืองในหมู่คนงานในนาม “คณะกรรมกร” นำโดย ถวัติ ฤทธิเดช, ร.ต.ต.วาศ สุนทรจามร, ถวัลย์ ชาติอาษา, ขุนสมาหารหิตะคดี (โประ โปรคุปต์) คณะกรรมกร ได้เป็นกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ “กรรมกร” ที่ออกเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2465 โดยมีเหตุจูงใจจากการที่ได้เห็นสภาพการเอารัดเอาเปรียบที่นายจ้างกระทำต่อลูกจ้าง และไม่เห็นว่าจะมีใครช่วยเหลือได้ คณะกรรมกร จึงมีความประสงค์ที่จะเป็นปากเป็นเสียงของมหาชน และพวกกรรมกรสยามเพื่อที่จะทำลายสภาพการเอารัดเอาเปรียบที่ลูกจ้างถูกกระทำอยู่ในขณะนั้น[8]

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2474 ต่อจากฉบับของ ทองเจือ จารุสาธร กล่าวว่า “…รัฐบาลได้ช่วยชาวนาด้วยวิธีอย่างไรยังไม่มีใครทราบบัดนี้ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยว่าประชาชนพลเมืองก็ควรหาหนทางช่วยตนเองด้วย โดยที่ไม่คิดที่จะพึ่งรัฐบาลอีกต่อไป…” ถวัติ ฤทธิเดช ถวายฎีกา[9][10]

ถวัติยังคิดว่าประชาชนมีสิทธิในการตรวจสอบพระราชกรณียกิจ โดยฎีกาฉบับที่มีเนื้อหาน่าสนใจอีกฉบับ คือฎีกาที่ถวัติเขียนขึ้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2474 เพื่อความโปร่งใสงบประมาณแผ่นดิน[11]

ถวัติ มีบทบาทครั้งสำคัญ ด้วยการเข้าร่วมเปลี่ยนแปลงระบอบปกครอง การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 และเป็นกองกำลังเข้าร่วมกันต่อต้าน กบฏบวรเดช[12]

ถวัติ ฤทธิเดชถือเป็นองค์กรแรงงานระดับชาติที่พยายามเรียงร้อยแรงงานทุกภาคส่วนเข้ามาอยู่ร่วมกัน ถวัติและคณะของเขามีท่าทีชัดเจนสนับสนุนเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ถึงขั้นประกาศตัวตอบโต้กับรัชกาลที่ 7 อย่างเปิดเผยในกรณีนี้[13]

จึงได้เกิดเหตุการณ์ นายถวัติ ฤทธิเดช ผู้นำกรรมกรรถรางประกาศจะฟ้องร้องต่อสภาผู้แทนราษฎรว่าพระปกเกล้าฯ หมิ่นประมาทตนใน ‘พระบรมราชวินิจฉัยเค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม’ ที่มีข้อความตอนหนึ่งว่า “…การที่กรรมกรรถรางหยุดงานนั้น หาใช่เกิดการหยุดเพราะความเดือดร้อนจริงจังอันใดไม่ ที่เกิดเป็นดังนี้นั้นก็เพราะมีคนยุให้เกิดการหยุดงานขึ้น เพื่อจะได้เป็นโอกาสให้ตั้งสมาคมคนงาน และตนจะได้เป็นหัวหน้า และได้รับเงินเดือนกินสบายไปเท่านั้น…”[14]

เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2476 ถวัติเป็นตัวแทนของคนยากจนต่อสู้กับความอยยติธรรมภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านการเขียนฎีกา ทั้งที่เป็นความคิดของเขาเองและที่ราษฎรผู้เดือดร้อนมาขอร้องให้เขาเขียนให้ นอกจากบทบาทนักหนังสือพิมพ์หัวก้าวหน้าแล้ว เขายังมีบทบาทเป็นผู้นำแรงงาน และเป็นผู้นำในการนัดหยุดงานครั้งแรกของคนงานในระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่ของประเทศไทย ถวัติเป็นเป็นสามัญชนคนแรกของไทยที่ฟ้องร้องพระเจ้าอยู่หัว (ในขณะนั้นคือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) ว่า ดูหมิ่นประชาชน[15]

ปรากฏว่า ข่าวถวัติจะฟ้องพระปกเกล้าต่อสภาสร้างความร้อนใจให้กับบางคนอย่างมาก คนแรกคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ วันที่ 18 กันยายน เขาเขียนจดหมายถึงพระยาพหล นายกรัฐมนตรีฉบับหนึ่ง ดังนี้

"ด้วยมีหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ลงข่าวเรื่องนายถวัติ ฤทธิเดช ฟ้องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อสภาผู้แทนราษฎร ข้าพเจ้าเห็นว่า เป็นเรื่องสำคัญที่เกิดขึ้นในบัดนี้ น่าจะเป็นทางเพาะภัยให้แก่พระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดจนบ้านเมืองได้อย่างไม่เคยพบเห็น ระวางนี้ ได้ให้กรมอัยการตรวจอยู่แล้ว ข้าพเจ้าขอโอกาสที่จะได้นำมากราบเรียนในวันนี้เวลาบ่าย"[16]

ก็จบลงด้วยรัฐบาลได้ให้นายถวัติกับพวกทำหนังสือกราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษอย่างเป็นทางการ เมื่อรัฐบาลนำขึ้นกราบบังคมทูลและทรงลงพระปรมาภิไธยอภัยโทษแล้ว อัยการก็ถอนฟ้อง ปิดคดีไป[17][18]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 เมื่อครั้งเหตุการณ์กบฏบวรเดช ถวัติและกลุ่มกรรมกรร่วมเป็นกองกำลังหนุนช่วยปราบปรามกบฏจนสำเร็จ ภายหลังเหตุการณ์ รัฐบาลพระยาพหลฯ ได้มอบเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญให้กับผู้ที่เข้าร่วมสนับสนุนรัฐบาลปราบปรามกบฏบวรเดช ซึ่งถือเป็นการต่อสู้เพื่อพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งกลุ่มกรรมกร และถวัติ ก็ได้รับมอบเหรียญฯ นี้ด้วย[2]

เมื่อครั้นสงครามโลกครั้งที่สอง ถวัติ มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก ได้เข้าร่วมขบวนการเสรีไทยสายแรงงาน ให้พ้นอิธิพลการปกครองของกองทัพญี่ปุ่น และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยไม่ให้เป็นผู้แพ้สงคราม[19][20]

ถวัติ ฤทธิเดช ถือเป็นอีกคนหนุ่มผู้ไม่ยอมจำนน เขาเคยถูกจับกุมหลายหนจากการเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ที่ส่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและความไม่เป็นธรรม จึงไม่แปลกเลยที่นามของนายถวัติและนายวาศย่อมตราตรึงในความคำนึงของนายปรีดี พนมยงค์[12]

ในวัฒนธรรมนิยมสมัยใหม่ แก้

ในวาระครบรอบ 90 ปี อภิวัฒน์สยาม[21] ประวัติศาสตร์จากฝั่งของ ‘แรงงาน’ ผู้เป็นรากฐานของสังคม และนี่คือเรื่องราวที่ถูกทำให้ลืม ของ ‘ถวัติ ฤทธิเดช’ สามัญชนคนสำคัญ” ถ้อยคำคมคายข้างต้น คือข้อความตอนต้นเรื่องของ ‘สามัญปฏิวัติ’[22] การ์ตูนชีวประวัติของถวัติ ฤทธิเดช ผู้นำแรงงานที่มีบทบาทสำคัญในช่วงการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ผลงานจากเจ้าของนามปากกา LINER (เกศนคร พจนวรพงษ์)[23][21]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 สมาน สุดโต (1 พฤษภาคม 2554). "ถวัติ ฤทธิเดช วีรบุรุษกรรมกรที่ถูกลืม". โพสต์ทูเดย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-24. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 ถวัติ ฤทธิเดช : กรรมกรที่ก้าวหน้า กับ มโนทัศน์ของปรีดี พนมยงค์ และนโยบายคณะราษฎรต่อกรรมกรไทย สถาบันปรีดี สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565
  3. ถวัติ ฤทธิเดช นามปากกาภาพปกหนังสือพิมพ์กรรมกร
  4. ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์, แรงงานวิจารณ์เจ้า: ประวัติศาสตร์ราษฎรผู้หาญกล้าท้าทายสมบูรณาญาสิทธิ์ไทย, ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ, สำนักพิมพ์มติชน, พิมพ์ครั้งที่ 2 (ปรับปรุงใหม่) สิงหาคม 2547.
  5. ประวัติการต่อสู้ของกรรมกรไทย หนังสือเล่ม Sangsit Phiriyarangsan หน้า 126
  6. 6.0 6.1 ถวัติ ฤทธิเดช[ลิงก์เสีย] - ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า
  7. ประวัติการต่อสู้ของกรรมกรไทย หนังสือเล่ม Sangsit Phiriyarangsan หน้า 117 & 136
  8. พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เก็บถาวร 2021-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2557
  9. สารคดี "ปรีดี พนมยงค์" นาทีที่ 7:23 - 7:37
  10. "ปัญหาเศรษฐกิจสมัยยุคราชกาลที่ 8 ชาวเกษตรกรได้มีความขัดสนเป็นอย่างมาก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-04. สืบค้นเมื่อ 2022-05-05.
  11. "ถวัติ ฤทธิเดช" : ปัญญาชนนอกระบบ นักวิพากษ์สถาบัน ประชาไท สืบค้นเมื่อ 31–07–2006
  12. 12.0 12.1 ‘ถวัติ ฤทธิเดช’ กับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในความคำนึงของ ‘ปรีดี พนมยงค์’ สถาบันปรีดี พนมยงค์ สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2564
  13. ได้เวลาทบทวนนิยาม “ขบวนการแรงงาน” ในประเทศไทย ประชาไท สืบค้นเมื่อ 8–1–2021
  14. พระราชอำนาจในระบอบประชาธิปไตย: ว่าด้วย ‘ความล่วงละเมิดมิได้’ ของพระมหากษัตริย์ The.101.World สืบค้นเมื่อ 30 Apr 2021
  15. ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์, 110 ปี ถวัติ ฤทธิเดช ผู้นำกรรมกรคนแรก, ศิลปวัฒนธรรม วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 25 ฉบับที่ 7
  16. ถวัติ ฤทธิ์เดชกับคดีพระปกเกล้า สถาบันพระปกเกล้า สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2564
  17. คดีประวัติศาสตร์ ราษฎรฟ้อง ร.๗ หมิ่นประมาท! อัยการสมัยคณะราษฎรฟ้องกลับ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ-กบฏ!! ผู้จัดการออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2563
  18. เคยทำกันมาแล้ว..ฟ้องพระมหากษัตริย์ฐาน “หมิ่นประมาทราษฎร” ! กลับถูกฟ้องฐานกบฏ!! ผู้จัดการออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2566
  19. ขบวนการเสรีไทย สันติภาพ และ พระเจ้าช้างเผือก สถาบันปรีดี สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2564
  20. ประวัติศาสตร์ขบวนการเสรีไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2 สถาบันปรีดี สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2564
  21. 21.0 21.1 Prachatai Live: 'สามัญปฏิวัติ' เมื่อผู้อยู่เบื้องหลังปฏิวัติ 2475 ไม่ได้มีเพียงชนชั้นนำ ประชาไท สืบค้นเมื่อ 2022-06-23
  22. ประวัติศาสตร์ไม่เคยถูกเล่าจากฝั่งแรงงาน ชวนอ่าน ‘สามัญปฏิวัติ’ การ์ตูนชีวประวัติของถวัติ ฤทธิเดช Thematter สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2022
  23. เมื่อชนชั้นนำเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์ ‘สามัญปฏิวัติ’ จึงบังเกิด คุยกับ ไนล์ - เกศนคร พจนวรพงษ์ ผู้วาดการ์ตูนบอกเล่าประวัติศาสตร์แรงงานไทย GroundControlTH สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2022

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้