เทศบาลนครอ้อมน้อย

เทศบาลนครในจังหวัดสมุทรสาคร ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก ตำบลอ้อมน้อย)

เทศบาลนครอ้อมน้อย เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลนครแห่งหนึ่งในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ้อมน้อยทั้งตำบล มีประชากรในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 53,821 คน[1]

เทศบาลนครอ้อมน้อย
ถนนเศรษฐกิจ 1 บริเวณแยกอ้อมน้อย
ถนนเศรษฐกิจ 1 บริเวณแยกอ้อมน้อย
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครอ้อมน้อย
ตรา
คำขวัญ: 
ศรัทธาหลวงพ่อเพ็งหลวงพ่อพักตร์ อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ลือไกลอุตสาหกรรม งามล้ำเบญจรงค์
ทน.อ้อมน้อยตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร
ทน.อ้อมน้อย
ทน.อ้อมน้อย
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลนครอ้อมน้อย
ทน.อ้อมน้อยตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ทน.อ้อมน้อย
ทน.อ้อมน้อย
ทน.อ้อมน้อย (กรุงเทพมหานครและปริมณฑล)
ทน.อ้อมน้อยตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.อ้อมน้อย
ทน.อ้อมน้อย
ทน.อ้อมน้อย (ประเทศไทย)
พิกัด: 13°42′00.3″N 100°19′26.4″E / 13.700083°N 100.324000°E / 13.700083; 100.324000
ประเทศ ไทย
จังหวัดสมุทรสาคร
อำเภอกระทุ่มแบน
จัดตั้ง
  •  • 22 พฤษภาคม 2510 (สุขาภิบาลอ้อมน้อย)
  •  • 1 พฤษภาคม 2537 (ทต.อ้อมน้อย)
  •  • 21 กันยายน 2545 (ทม.อ้อมน้อย)
  •  • 11 พฤศจิกายน 2553 (ทน.อ้อมน้อย)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีบุญชู นิลถนอม
พื้นที่
 • ทั้งหมด30.4 ตร.กม. (11.7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด53,821 คน
 • ความหนาแน่น1,770.43 คน/ตร.กม. (4,585.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03740201
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 234 หมู่ที่ 11 ซอยเพชรเกษม 87 ถนนเพชรเกษม ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74130
เว็บไซต์www.omnoi.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

สำนักงานเทศบาลนครอ้อมน้อยตั้งอยู่ที่เลขที่ 234 หมู่ที่ 11 ซอยเพชรเกษม 87 ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เขตเทศบาลมีเนื้อที่ 30.40 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

แก้

เทศบาลนครอ้อมน้อยเดิมทีมีฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาลมีชื่อว่า สุขาภิบาลอ้อมน้อย[2] และได้รับการจัดตั้งเป็น เทศบาลตำบลอ้อมน้อย เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2537 เล่มที่ 111 ตอนที่ 12 ก หน้า 18–20 ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2537[3] จากนั้นอีก 8 ปีต่อมา เทศบาลตำบลอ้อมน้อยได้รับการยกฐานะตามพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลอ้อมน้อยเป็น เทศบาลเมืองอ้อมน้อย ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองอ้อมน้อย พ.ศ. 2545 เล่มที่ 119 ตอนที่ 93 ก หน้า 1–3 ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2545[4] มีผลบังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2545)

ปัจจุบันมีฐานะเป็น เทศบาลนครอ้อมน้อย ได้รับการยกฐานะตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นเทศบาลนครอ้อมน้อย เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[5]

หน่วยการปกครอง

แก้

เทศบาลนครอ้อมน้อยมีชุมชนทั้งหมด 28 ชุมชน ดังต่อไปนี้

  • ชุมชนปากคลองอ้อมน้อย (หมู่ที่ 1)
  • ชุมชนหมู่บ้านอิ่มอัมพร (หมู่ที่ 2)
  • ชุมชนบ้านรางน้ำใส (หมู่ที่ 3)
  • ชุมชนบ้านแถว (หมู่ที่ 4)
  • ชุมชนซอยโรงนุ่น (หมู่ที่ 4)
  • ชุมชนหมู่บ้านสิวารัตน์ (หมู่ที่ 5)
  • ชุมชนหมู่ 6 พัฒนา (หมู่ที่ 6)
  • ชุมชนฟาร์มปลา (หมู่ที่ 7)
  • ชุมชนหนองนกกระสา (หมู่ที่ 9)
  • ชุมชนซอยกำนันวิจิตร (หมู่ที่ 10)
  • ชุมชนดอนสอง (หมู่ที่ 11)
  • ชุมชนหมู่บ้านพงษ์ศิริชัย 1 (หมู่ที่ 12)
  • ชุมชนกิตติพร (หมู่ที่ 13)
  • ชุมชนโรงหมู่ (หมู่ที่ 13)
  • ชุมชนบ้านคลองแค (หมู่ที่ 2)
  • ชุมชนหมู่บ้านเพชรเกษมธานี (หมู่ที่ 2)
  • ชุมชนหัวคู้ (หมู่ที่ 4)
  • ชุมชนบ้านแถว 2 (หมู่ที่ 4)
  • ชุมชนหมู่ 5 พัฒนา (หมู่ที่ 5)
  • ชุมชนอรรคภัทรก้าวหน้า (หมู่ที่ 5)
  • ชุมชนหัวถนน (หมู่ที่ 6)
  • ชุมชนหนองบัว (หมู่ที่ 8)
  • ชุมชนหมู่บ้านสินสมบูรณ์ (หมู่ที่ 10)
  • ชุมชนผู้ใหญ่แอ้น (หมู่ที่ 10)
  • ชุมชนดอนหนึ่ง (หมู่ที่ 11)
  • ชุมชนศรีสำราญ (หมู่ที่ 12)
  • ชุมชนหมู่บ้านหรรษา อ้อมน้อย (หมู่ที่ 13)
  • ชุมชนโรงหมู่ 2 (หมู่ที่ 13)

การศึกษา

แก้

การสาธารณสุข

แก้

เขตเทศบาลนครอ้อมน้อยมีสถานบริการด้านสาธารณสุข 4 แห่ง คือ

  • ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองอ้อมน้อย (ไทยกาเมนท์)
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 (หมู่บ้านสิวารัตน์)
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 (สำนักงานเทศบาลนครอ้อมน้อย) และศูนย์ทันตกรรม
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 (ซอยคลองแค)

นอกเหนือจากศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาลแล้ว ในเขตเทศบาลยังมีหน่วยงานทั้งของภาครัฐและเอกชนที่ให้บริการทางด้านสาธารณสุข คือ

  • โรงพยาบาลเอกชน 2 แห่ง 320 เตียง คือ โรงพยาบาลมหาชัย 2 (120 เตียง) และโรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล อ้อมน้อย (200 เตียง)
  • สถานประกอบการประเภทเวชกรรมชนิดมีและไม่มีเตียง, แผนโบราณ, ทันตกรรม ชั้น 1 และ 2, ผดุงครรภ์ชั้น 1, กายภาพบำบัด และเทคนิคการแพทย์) ประมาณ 40–50 แห่ง
  • รพ.สต.1 แห่ง คือ รพ.สต.สายสี่ ตั้งอยู่ในซอยเพชรเกษม 116
  • ศูนย์สุขภาพชุมชนอ้อมน้อย ตั้งอยู่ในพื้นที่วัดอ้อมน้อย แต่เดิมเป็น รพ.สต.หัวถนน แต่หลังจากเกิดอุทกภัยในเดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม 2554 จึงได้ย้ายที่ตั้งมาอยู่ในบริเวณวัดอ้อมน้อย และเปลี่ยนเป็นศูนย์สุขภาพชุมชนอ้อมน้อย

การขนส่ง

แก้

เนื่องจากเป็นชุมชนเมืองที่มีที่ตั้งอยู่ใกล้กับกรุงเทพมหานคร สามารถเดินทางเชื่อมต่อกับกรุงเทพมหานครและจังหวัดนครปฐม หรือสามารถเดินทางไปยังอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดสมุทรสาครได้อย่างทั่วถึง สะดวก และรวดเร็ว

ถนน

แก้

ถนนสายหลักในเขตเทศบาลนครอ้อมน้อย ได้แก่

บริการขนส่งสาธารณะ

แก้

การบริการขนส่งสาธารณะในเขตเทศบาล ได้แก่ รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง, รถแท็กซี่มิเตอร์ซึ่งมีรูปแบบคล้ายกับกรุงเทพมหานคร และรถยนต์โดยสารประจำทาง มีรายละเอียดดังนี้

รถยนต์โดยสารประจำทางที่ผ่านเขตเทศบาลนครอ้อมน้อย แบ่งออกเป็น 4 หมวด คือ

  • หมวด 1 คือ รถ ขสมก.(สาย 189) และรถเอกชนบริษัท​ ไทยสมายล์​บัส ​จำกัด​(สาย 81 84 123 163 157 547) หจก.บุญมงคลกาญจน์(สาย 539)
  • หมวด 2 คือ รถร่วม บขส.ทั้งหมด
  • หมวด 3 และ หมวด 4 คือ รถสองแถวทั้งหมด (ยกเว้นสาย 402)

ศาสนสถาน

แก้

เทศบาลนครอ้อมน้อยมีวัดทั้งหมด 2 แห่ง ได้แก่ วัดอ้อมน้อยและวัดศรีสำราญราษฎร์บำรุง

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลนครอ้อมน้อย". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งสุขาภิบาลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (พิเศษ 51 ง): 1–2. 5 มิถุนายน 2510.
  3. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลอ้อมน้อย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (12 ก): 18–20. 1 เมษายน 2537.
  4. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองอ้อมน้อย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 119 (93 ก): 1–3. 20 กันยายน 2545. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2009-02-07.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นเทศบาลนครอ้อมน้อย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 127 (พิเศษ 149 ง): 45. 27 ธันวาคม 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2010-12-27.
  6. "โรงเรียนวัดอ้อมน้อย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-23. สืบค้นเมื่อ 2009-12-03.
  7. "โรงเรียนวัดศรีสำราญราษฎร์บำรุง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-23. สืบค้นเมื่อ 2009-12-03.
  8. "โรงเรียนบ้านคลองแค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-23. สืบค้นเมื่อ 2009-12-03.
  9. "โรงเรียนอ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-25. สืบค้นเมื่อ 2009-12-03.