ตำบลหลุมข้าว (อำเภอโคกสำโรง)

ตำบลในอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย

ตำบลหลุมข้าว เป็นตำบลในอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี

ตำบลหลุมข้าว
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Lum Khao
ประเทศไทย
จังหวัดลพบุรี
อำเภอโคกสำโรง
พื้นที่
 • ทั้งหมด48 ตร.กม. (19 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2551)[1]
 • ทั้งหมด3,484 คน
 • ความหนาแน่น72.58 คน/ตร.กม. (188.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 15120
รหัสภูมิศาสตร์160304
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

ตำบลหลุมข้าวตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของอำเภอโคกสำโรง และห่างจากตัวอำเภอประมาณ 13 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลอื่น ๆ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบางกะพี้ ตำบลดงพลับ อำเภอบ้านหมี่ และตำบลถลุงเหล็ก อำเภอโคกสำโรง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลวังขอนขว้าง อำเภอโคกสำโรง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลพุคาและตำบลหนองทรายขาว อำเภอบ้านหมี่

ประวัติ แก้

ในหน้าฝนซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก จึงทำให้เกิดน้ำท่วม ข้าวไม่พอกิน แต่มีปลามาก มีบ่อน้ำปลา โอ่งน้ำปลา ปลาร้า เป็นสินค้าประจำหมู่บ้าน เมื่อการทำมาหากินลำบากจึงคิดหาที่ทำกินใหม่ จึงนำเกวียนมุ่งหน้ามาทางบ้านดอน พอถึงหนองเกวียนหัก เกิดอาเพศมีแร้งมารุมกินห่อข้าวที่เหลือ ในความเชื่อที่ว่าแร้งกาไม่เป็นมงคล จึงได้พากันเดินทางกลับบ้านกลับบ้านไป แล้วออกหาที่ทำกินใหม่จึงมาถึงบ้านหลุมข้าว ได้พบห้วยใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ ปลาชุมมาก เหมาะแก่การสร้างที่อยู่อาศัย พอย้ายมาอยู่จึงขุดสระเพิ่มเติม ขุดไปเรื่อย ๆ ในสระพบแกลบเปลือกหรือข้าวเปลือก และสิ่งที่พบจึงกลายเป็นชื่อหมู่บ้านจึงเรียกว่า "ตำบลหลุมข้าว" เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

สภาพภูมิประเทศ แก้

ตำบลหลุมข้าวมีพื้นที่ประมาณ 48 ตารางกิโลเมตร หรือ 25,912 ไร่ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ไม่มีภูเขา การใช้ประโยชน์จากที่ดินส่วนใหญ่ใช้ในการเกษตรกรรม ลักษณะในการแบ่งพื้นที่มีพื้นที่ทั้งหมด 25,192 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 23,945 ไร่ พื้นที่ทำนา 23,685 ไร่ ไม้ผล 230 ไร่ พืชผัก 30 ไร่ พื้นที่อื่น ๆ 1,967 ไร่ มีลำคลองคลองหลายสายและการใช้สอยพื้นที่อย่างคุ้มค่า

ทรัพยากรน้ำ แก้

ตำบลหลุมข้าวมีระบบการจัดการที่ดี มีลำคลองใหลผ่านชุมชนในหลายชุมชนด้วยกับ เช่น บ้านหลุมข้าว บ้านวังเวิน บ้านพรหมทินเหนือและบ้านพรหมทินใต้ ซึ่งเป็นลำคลองสายหลักของชาวบ้านที่ผูกพันอยู่กับน้ำมาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีการสร้างฝายสำรับการกักเก็บน้ำและการระบายน้ำที่ดี

วัฒนธรรม แก้

ชาวตำบลหลุมข้าวมีวัฒนธรรมที่ดีที่สืบทอดมาจากปู่ย่าตายายและสู่รุ่นลูกหลานโดยเฉพาะทางด้านภาษา ในตำบลหลุมข้าวมีชุมชนหลายชุมชนที่มีความแตกต่างกันทางด้านภาษา เช่น ภาษาพวนที่บ้านหลุมข้าว ภาษาลาวที่บ้านพรหมทินใต้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีประเพณีที่และความเชื่อสืบทอดมาจากบรรพบุรุษหลายอย่างเช่น ประเพณีกำฟ้า ประเพณีแห่นางแมว นางกวัก บูชาผีปูผีย่า สารทพวนและสารทลาวอีกด้วย

เขตการปกครอง แก้

ตำบลหลุมข้าวมีเขตการปกครองทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ได้แก่

ประชากร แก้

จากการสำรวจเกี่ยวกับจำนวนประชากรในเขตตำบลหลุมข้าวทุกหมู่บ้านมีประชากรทั้งสิ้น 3,484 และ 994 หลังคาเรือน[1]

อาชีพ แก้

  • อาชีพหลักคือ เกษตรกรรม อาชีพหลักคิดเป็นร้อยละ 79.5 ของประชากรทั้งหมด ได้แก่ ปลูกข้าว พืชผัก และยังมีประชากรบางส่วนที่ฐานะค่อนข้างยากจนไม่มีที่ดิน
  • อาชีพเสริมคือ เจียระไนพลอย ทอผ้ามัดหมี่

การศึกษา แก้

ตำบลหลุมข้าวให้การสนับสนุนการศึกษาของเยาวชนเป็นอย่างดี มีการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน เช่น กิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติ กิจกรรมกีฬาตำบล และการแข่งขันทักษะทางวิชาการ เป็นต้น

ศาสนา แก้

ประชาชนในตำบลหลุมข้าวนับถือพุทธศาสนา โดยในแต่ละหมู่บ้านจะมีวัดเป็นของตนเอง (ยกเว้นบ้านวังเวิน)

สถานที่สำคัญ แก้

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากร และบ้าน รายจังหวัด รายอำเภอ และรายตำบล ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2551." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/xstat/pop51_1.html 2552. สืบค้น 8 สิงหาคม 2552.