ประเพณีกำฟ้า เป็นประเพณีสำคัญตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวไทยพวน ที่อาศัยกระจายไปอยู่ในหลายภูมิภาค เช่น ต.ไผ่หลิ๋ว อ.ดอนพุด จ.สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี อุดรธานี หนองคาย แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ และพิจิตร เป็นต้น
แม้การรวมตัวในแต่ละถิ่นไม่มากนัก แต่ทุกแห่งต่างก็สามารถรักษาวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมดั้งเดิมไว้ได้อย่างดี

กำ หมายถึง การสักการบูชา (ภาษาพวน)

กำฟ้า หมายถึง การสักการบูชาฟ้า

วันขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 เป็นวันกำฟ้า ก่อนวันกำฟ้า 1 วัน คือวันขึ้น 2 ค่ำเดือน 3 จะถือเป็นวันสุกดิบแต่ละบ้านจะทำข้าวปุ้น หรือ ขนมจีน พร้อมทั้งน้ำยา และน้ำพริกไว้เลี้ยงดูกัน มีการทำข้าวหลามเผาไว้ในกระบอกข้าวหลามอ่อน มีการทำข้าวจี่ ข้าวจี่ทำโดยนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนขนาดพอเหมาะ อาจจะใส่ใส้หวานหรือใส่ใส้เค็มหรือไม่ใส่ใส้เลย ก็ได้ เสียบเข้ากับไม้ทาโดยรอบด้วยไข่ แล้วนำไปปิ้งไฟจนสุกหอม ข้าวจี่จะนำไปเซ่นไหว้ผีฟ้าและแบ่งกันกินในหมู่ญาติพี่น้อง พอถึงวันกำฟ้าทุกคนในบ้านจะไปทำบุญที่วัด มีการใส่บาตรด้วยข้าวหลาม ข้าวจี่ ตกตอนบ่ายจะมีการละเล่นไปจน ถึงกลางคืน การละเล่นที่นยมได้แก่ ช่วงชัย มอญซ่อนผ้า นางด้ง ฯลฯ

สาเหตุที่เกิดประเพณีกำฟ้า แก้

ชาวพวนมีความสามารถในด้านการเกษตร โดยเฉพาะการทำนา สมัยก่อนต้องพึ่งพาธรรมชาติ ชาวนาจึงเกรงกลัวต่อฟ้ามาก จึงมีการเซ่นไว้ สักการบูชา ซึ่งชาวบ้านรู้สึกสำนึกบุญคุณของฟ้าที่ให้น้ำฝน ทำให้มีประเพณีนี้เกิดขึ้น
แต่เดิม ถือเอาวันที่มีผู้ที่ได้ยินฟ้าร้องครั้งแรกในเดือน ๓ เป็นวันเริ่มประเพณี แต่ทุกคนไม่สามารถได้ยินได้ทุกคน ภายหลังจึงกำหนดให้วันกำฟ้า คือ วันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี

คำทำนายเกี่ยวกับฟ้าร้อง แก้

  • ทำนายเกี่ยวกับเหตุการณ์และงานอาชีพ
  • ทำนายเกี่ยวกับชีวิตและความเป็นอยู่
    • ฟ้าร้องดังมาจากทิศเหนือ ทำนายว่าชาวบ้านจะอดข้าว
    • ฟ้าร้องดังมาจากทิศใต้ ทำนายว่าชาวบ้านจะอดเกลือ
    • ฟ้าร้องดังมาจากทิศตะวันออก ทำนายว่าชาวบ้านจะอยู่เย็นเป็ยสุข
    • ฟ้าร้องดังมาจากทิศตะวันตก ทำนายว่าชาวบ้านจะเดือดร้อน

ตามประเพณี "วันสุกดิบ" เป็นวันเตรียมงาน ตรงกับวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งข้าวหลามที่ใช้ในพิธีบายศรีสู่ขวัญจะทำในวัด เรียกว่า "ข้าวหลามทิพย์" ซึ่งใครได้กินเชื่อว่าจะไม่ถูกฟ้าผ่า

วันกำฟ้า ทุกคนจะหยุดงาน ๑ วัน จึงมีเวลา สำหรับการต้อนรับญาติพี่น้องที่มาเยี่ยมเยือนได้อย่างเต็มที่

หลังจากวันกำฟ้าไป ๗ วัน ก็จะเกิดวันกำฟ้าอีกครึ่งวัน ต่อจากครึ่งวันนี้ไปอีก ๕ วันถือว่าเสร์จสิ้น ชาวบ้านจะจัดอาหารคาวหวานไปที่วัดอีกหนึ่งครั้ง จากนั้นจะเอาดุ้นฟืนที่ติดไฟ ๑ ดุ้น ไปทำพิธีตามลำน้ำ เรียกว่า การเสียแล้งตามแม่น้ำลำคลอง
โดยจะทิ้งดุ้นไปตามสายน้ำ เป็นการบอกกล่าวเทวดาว่า หมดเขตกำฟ้าแล้ว

ในปัจจุบันยังคงถือประเพณีกันทุกปี แต่บรรยากาศในอดีตมีแต่จะหายไป โดยความสนุกท่ามกลางเสียงแคน การละเล่นพื้นบ้าน มาแทนที่ จึงกลายมาเป็น ราตรีกำฟ้า

ประเพณีกำฟ้าในแต่ละท้องถิ่นอาจมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป แต่ชาวไทยพวนก็ยังรักษาคติดั้งเดิมไว้ได้อย่างมั่นคงตลอดมา

อ้างอิง แก้

  • แปลก สนธิรักษ์, พิธีกรรมและลัทธิประเพณี. พิมพ์ครั้งที่ ๒. พระนคร, โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช,๒๕๐๔.
  • ปุ่น วงศ์วิเศษ และวิเชียร วงศ์วิเศษ. ไทยพวน. กรุงเทพมหานคร, โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก,๒๕๑๖๗.
  • http://www.lannaworld.com/cgi/lannaboard/reply_topic.php?id=8614 เก็บถาวร 2010-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน