ตำบลหนองสีดา
หนองสีดา เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี เป็นตำบลที่มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตัดผ่าน และยังเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟหนองสีดาซึ่งเป็นสถานีรถไฟ 1 ใน 2 ของอำเภอหนองแซง
ตำบลหนองสีดา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Nong Sida |
สถานีรถไฟหนองสีดา | |
พิกัด: 14°30′44.7″N 100°49′47.7″E / 14.512417°N 100.829917°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สระบุรี |
อำเภอ | หนองแซง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 5.16 ตร.กม. (1.99 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 1,000[1] คน |
• ความหนาแน่น | 193.79 คน/ตร.กม. (501.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 18170 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 190504 |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้ตำบลหนองสีดามีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลเมืองเก่า และตำบลเสาไห้ (อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลหนองโน (อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหนองหัวโพ และตำบลเขาดิน (อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลหนองควายโซ และตำบลไก่เส่า (อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี)
ประวัติ
แก้ตำบลหนองสีดาเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี เป็นตำบลเก่าแก่ในจังหวัดสระบุรี และปรากฏชื่อ "ตำบลหนองสีดา" ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2467[2] ต่อมาทางราชการได้ประกาศพื้นที่ตำบลหนองสีดา ตำบลหนองแซง ตำบลไก่เส่า ตำบลหนองกบ ตำบลหนองหัวโพ ตำบลโคกสะอาด ตำบลม่วงหวาน ตำบลเขาดิน และตำบลหนองควายโซ ของอำเภอเสาไห้ ตั้งขึ้นเป็น "กิ่งอำเภอหนองแซง"[3]ในปี พ.ศ. 2480 และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศยกฐานะเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2496[4] ตำบลหนองสีดา จึงกลายเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอหนองแซงจนปัจจุบัน
พื้นที่ตำบลหนองสีดาเดิมมีทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ในปี พ.ศ. 2482 มีการเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเสาไห้กับกิ่งอำเภอหนองแซง โดยตำบลหนองสีดาได้รับโอนพื้นที่หมู่ 10 (ในขณะนั้น) ของตำบลเมืองเก่า อำเภอเสาไห้ มาขึ้นกับตำบลหนองสีดา[5] จึงทำให้ตำบลหนองสีดามีทั้งหมด 6 หมู่บ้าน ในปี พ.ศ. 2483 ได้มีการปรับเปลี่ยนการปกครองตำบลให้เหมาะสม โดยได้ยุบตำบลเขาดิน และตำบลบางส่วนของตำบลม่วงหวาน มารวมกับตำบลหนองสีดา ทำให้ตำบลหนองสีดามีหมู่บ้านมากถึง 16 หมู่บ้าน
และในปี พ.ศ. 2490 ได้แยกพื้นที่หมู่ 6–10 และหมู่ที่ 11 ของตำบลหนองสีดา จัดตั้งเป็นตำบลเขาดิน ที่เคยยุบรวมกับตำบลหนองสีดา และแยกพื้นที่หมู่ 13–16 ของตำบลหนองสีดา และหมู่ 2, 9–11 ของตำบลโคกสะอาด จัดตั้งเป็นตำบลม่วงหวาน ที่เคยยุบรวมกับตำบลหนองสีดา[6] ขึ้นอีกครั้ง
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองท้องที่
แก้ตำบลหนองสีดาแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ 1 | บ้านโคกวัว | (Ban Khok Wua) | ||
หมู่ 2 | บ้านโคก | (Ban Khok) | ||
หมู่ 3 | บ้านขาม | (Ban Kham) | ||
หมู่ 4 | บ้านหนองสีดา | (Ban Nong Sida) | ||
หมู่ 5 | บ้านตลาดหนองสีดา | (Ban Talat Nong Sida) | ||
หมู่ 6 | บ้านโดน | (Ban Don) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่ตำบลหนองสีดา มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวโพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองสีดาและตำบลหนองหัวโพทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลหนองสีดาที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516[7] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสีดาในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539[8]
ก่อนที่ต่อมาจะยุบองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสีดา รวมเข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองหัวโพ[9] ในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2547 เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยดำเนินการประกาศยุบรวมสภาตำบลทั้งหมดและองค์การบริหารส่วนตำบลใดที่มีจำนวนประชากรไม่ถึงสองพันคน โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่น หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน
ประชากร
แก้พื้นที่ตำบลหนองสีดาประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 6 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 996 คน แบ่งเป็นชาย 470 คน หญิง 526 คน (เดือนธันวาคม 2564)[10] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 8 ในอำเภอหนองแซง
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2564[11] | พ.ศ. 2563 [12] | พ.ศ. 2562[13] | พ.ศ. 2561[14] | พ.ศ. 2560[15] | พ.ศ. 2559[16] | พ.ศ. 2558[17] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ขาม | 203 | 196 | 189 | 187 | 188 | 192 | 191 |
โคก | 202 | 204 | 204 | 203 | 208 | 202 | 201 |
โคกวัว | 161 | 154 | 156 | 156 | 158 | 165 | 166 |
ตลาดหนองสีดา | 152 | 143 | 142 | 141 | 139 | 141 | 145 |
โดน | 145 | 146 | 144 | 153 | 153 | 154 | 152 |
หนองสีดา | 133 | 133 | 128 | 124 | 112 | 112 | 119 |
รวม | 996 | 976 | 963 | 964 | 958 | 966 | 974 |
อ้างอิง
แก้- ↑ "กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน รายจังหวัด รายอำเภอ และรายตำบล ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2563". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-27. สืบค้นเมื่อ 2021-01-14.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 313–317. วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอหนองแซง กับกิ่งอำเภอหนองหมู" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ง): 2915–2916. วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอจักราช อำเภอสัตตหีบ อำเภอศรีสงคราม อำเภอชะอวด อำเภอหนองแซง อำเภอภาชี อำเภอเขาไชยสน อำเภอชุมพลบุรี อำเภอวาริชภูมิ อำเภอสบปราบ และอำเภอสุไหงโกลก พ.ศ. ๒๔๙๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (17 ก): 368–371. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-12-27. วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2496
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสระบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (65 ง): 3879. วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2486
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-12-27. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (108 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-72. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2516
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2020-12-27. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF): 1–2.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2547 - ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.