เทศบาลเมืองบึงกาฬ

เทศบาลเมืองในจังหวัดบึงกาฬ ประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก ตำบลวิศิษฐ์)

เทศบาลเมืองบึงกาฬ เป็นเทศบาลเมืองในอำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ เป็นศูนย์กลางความเจริญและเป็นศูนย์รวมสถานที่ราชการต่าง ๆ ของจังหวัด มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลบึงกาฬและตำบลวิศิษฐ์ทั้งตำบล

เทศบาลเมืองบึงกาฬ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 ขาเข้าเมืองบึงกาฬ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 ขาเข้าเมืองบึงกาฬ
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองบึงกาฬ
ตรา
ทม.บึงกาฬตั้งอยู่ในจังหวัดบึงกาฬ
ทม.บึงกาฬ
ทม.บึงกาฬ
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลเมืองบึงกาฬ
พิกัด: 18°22′01.2″N 103°39′18.7″E / 18.367000°N 103.655194°E / 18.367000; 103.655194
ประเทศ ไทย
จังหวัดบึงกาฬ
อำเภอเมืองบึงกาฬ
จัดตั้ง
  •  • 24 กันยายน 2499 (สุขาภิบาลบึงกาฬ)
  •  • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.บึงกาฬ)
  •  • 5 สิงหาคม 2563 (ทม.บึงกาฬ)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีราชันย์ วะนาพรม
พื้นที่
 • ทั้งหมด95.19 ตร.กม. (36.75 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด20,062 คน
 • ความหนาแน่น210.76 คน/ตร.กม. (545.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04380104
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 249 หมู่ที่ 1 ถนนชาญสินธุ์ ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ 38000
เว็บไซต์www.buengkhanml.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

เทศบาลเมืองบึงกาฬเดิมมีฐานะเป็น สุขาภิบาลบึงกาฬ[2] ได้รับการจัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2499 ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบึงกาฬ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ในปี พ.ศ. 2531 ทางราชการได้แยกท้องที่ตำบลบึงกาฬจัดตั้งเป็นตำบลวิศิษฐ์[3] ทำให้พื้นที่สุขาภิบาลบึงกาฬครอบคลุมถึงบางส่วนของตำบลวิศิษฐ์ด้วย

ต่อมาสุขาภิบาลบึงกาฬได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เทศบาลตำบลบึงกาฬ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม ปีเดียวกัน[4]

ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 ได้มีการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬขึ้น โดยแยกท้องที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย[5] และเปลี่ยนชื่ออำเภอบึงกาฬให้เป็นอำเภอเมืองบึงกาฬ ทำให้เทศบาลตำบลบึงกาฬย้ายมาอยู่ในเขตจังหวัดบึงกาฬ

ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 กระทรวงมหาดไทยออกประกาศยุบเลิกเทศบาลตำบลวิศิษฐ์และองค์การบริหารส่วนตำบลบึงกาฬ รวมเข้ากับเทศบาลตำบลบึงกาฬ และเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลบึงกาฬเป็น เทศบาลเมืองบึงกาฬ[6] โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม ปีเดียวกัน มีพื้นที่ทั้งหมด 95.19 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่ของเทศบาลตำบลวิศิษฐ์เดิม 68.33 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงกาฬเดิม 25.68 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ของเทศบาลตำบลบึงกาฬเดิม 1.18 ตารางกิโลเมตร เป็นเทศบาลเมืองที่มีพื้นที่มากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในขณะนี้

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

ปัจจุบันเทศบาลเมืองบึงกาฬมีพื้นที่ครอบคลุมตำบลบึงกาฬและตำบลวิศิษฐ์ทั้งตำบล ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงตรงกันข้ามกับเมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ ประเทศลาว เขตเทศบาลเป็นพื้นที่ราบ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศลาว
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลโคกก่อง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์และเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งเปือยและเขตเทศบาลตำบลไคสี

การปกครอง แก้

เทศบาลเมืองบึงกาฬ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงกาฬและตำบลวิศิษฐ์ทั้งตำบล แบ่งออกเป็น 3 เขต 24 หมู่บ้าน ได้แก่

ชุมชนเทศบาลเมืองบึงกาฬ
เขต 1 เขต 2 เขต 3
หมู่ที่ 1 บ้านบึงกาฬกลาง ตำบลบึงกาฬ หมู่ที่ 3 บ้านบึงกาฬใต้ ตำบลบึงกาฬ หมู่ที่ 10 บ้านแสนสำราญ ตำบลบึงกาฬ
หมู่ที่ 2 บ้านศรีโสภณ ตำบลบึงกาฬ หมู่ที่ 4 บ้านนาโนน ตำบลบึงกาฬ หมู่ที่ 3 บ้านหนองแวง ตำบลวิศิษฐ์
หมู่ที่ 1 บ้านบึงกาฬเหนือ ตำบลวิศิษฐ์ หมู่ที่ 5 บ้านท่าไคร้ ตำบลบึงกาฬ หมู่ที่ 4 บ้านนาป่าน ตำบลวิศิษฐ์
หมู่ที่ 2 บ้านพันลำ ตำบลวิศิษฐ์ หมู่ที่ 6 บ้านท่าโพธิ์ ตำบลบึงกาฬ หมู่ที่ 5 บ้านหนองนาแซง ตำบลวิศิษฐ์
หมู่ที่ 7 บ้านวิศิษฐ์ ตำบลวิศิษฐ์ หมู่ที่ 7 บ้านดงหมากยาง ตำบลบึงกาฬ หมู่ที่ 6 บ้านเหล่าถาวร ตำบลวิศิษฐ์
หมู่ที่ 9 บ้านนาเหนือ ตำบลวิศิษฐ์ หมู่ที่ 8 บ้านบึงสวรรค์ ตำบลบึงกาฬ หมู่ที่ 8 บ้านห้วยดอกไม้ ตำบลวิศิษฐ์
หมู่ที่ 9 บ้านแสนประเสริฐ ตำบลบึงกาฬ หมู่ที่ 10 บ้านแสนเจริญ ตำบลวิศิษฐ์
หมู่ที่ 11 บ้านแสนสุข ตำบลบึงกาฬ หมู่ที่ 11 บ้านดอนเจริญ ตำบลวิศิษฐ์
หมู่ที่ 12 บ้านนาสุขสันต์ ตำบลวิศิษฐ์
หมู่ที่ 13 บ้านจักรทิพย์ ตำบลวิศิษฐ์

การคมนาคม แก้

ในเขตเทศบาลเมืองบึงกาฬมีทางสายบึงกาฬ–กรุงเทพฯ, สายบึงกาฬ–หนองคาย, สายบึงกาฬ–พังโคน–อุดรธานี และสายบึงกาฬ–นครพนม

หมายเหตุและอ้างอิง แก้

  1. รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองบึงกาฬ ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบึงกาฬ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ) 51–52. 15 ตุลาคม 2499. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2020-08-06.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (171 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–8. 21 ตุลาคม 2531.
  4. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-08-06.
  5. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ๒๕๕๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (18 ก): 1–5. 22 มีนาคม 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-08-06.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบเลิกเทศบาลตำบลวิศิษฐ์ รวมองค์การบริหารส่วนตำบลบึงกาฬกับเทศบาลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ และเปลี่ยนแปลงเขตและฐานะเป็นเทศบาลเมืองบึงกาฬ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (พิเศษ 179 ง): 3–4. 5 สิงหาคม 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-19. สืบค้นเมื่อ 2020-08-06.