อำเภอศรีวิไล

อำเภอในจังหวัดบึงกาฬ ประเทศไทย

ศรีวิไล เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบึงกาฬซึ่งแยกออกมาจากจังหวัดหนองคายตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป[1]

อำเภอศรีวิไล
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Si Wilai
ภูทอกน้อย
คำขวัญ: 
ภูทอกแดนมหัศจรรย์ วัดเวฬุวันเรืองชื่อ อดีตเล่าลือบ้านนาทราย
แผนที่จังหวัดบึงกาฬ เน้นอำเภอศรีวิไล
แผนที่จังหวัดบึงกาฬ เน้นอำเภอศรีวิไล
พิกัด: 18°10′36″N 103°45′0″E / 18.17667°N 103.75000°E / 18.17667; 103.75000
ประเทศ ไทย
จังหวัดบึงกาฬ
พื้นที่
 • ทั้งหมด327.9 ตร.กม. (126.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2567)
 • ทั้งหมด27,400 คน
 • ความหนาแน่น83.56 คน/ตร.กม. (216.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 38210
รหัสภูมิศาสตร์3807
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอศรีวิไล หมู่ที่ 2 ถนนศรีวิไล-นาแสง ตำบลศรีวิไล อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ 38210
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

แก้

อำเภอศรีวิไลเดิมเป็นตำบลหนึ่งอยู่ในเขตตำบลชุมภูพร อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ซึ่งตำบลชุมภูพรตั้งขึ้นเป็นตำบลในปี พ.ศ. 2444[2] ซึ่งเขตตำบลชุมภูพรครอบคลุมพื้นที่อำเภอศรีวิไลทั้งหมด บางส่วนของอำเภอเมืองบึงกาฬ และบางส่วนของอำเภอเซกาในปัจจุบัน ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2497 - 2498 ได้มีราษฎรอพยพมาจากหลายท้องที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาจับจองที่ดินทำไร่ทำนา ในบริเวณพื้นที่ป่าดงสีชมภู ป่าภูทอกใหญ่ จึงมีการตั้งหมู่บ้านชุมภูพร ตำบลชุมภูพร อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคายในช่วงปี พ.ศ. 2500 - 2520 ที่มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เข้ามามีอิทธิพลในพื้นที่ ทางราชการได้สร้างสถานที่ราชการ เช่น หมวดการทาง โรงเรียน สถานีตำรวจภูธร สถานีอนามัย กองบังคับการที่หมายเลข 2 ฯลฯ ทำให้มีเจ้าหน้าที่เข้าไปประจำตามท้องที่ต่าง ๆ จนถึงปี พ.ศ. 2525 เหตุการณ์ต่าง ๆ จึงสงบลง

ต่อมาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2530 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งกิ่งอำเภอศรีวิไล มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 มีการสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอศรีวิไลบริเวณกองบังคับการที่หมายเลข 2 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2538 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอศรีวิไล เป็นอำเภอศรีวิไล ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2537

  • วันที่ 21 สิงหาคม 2488 โอนพื้นที่หมู่ 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลชุมภูพร ไปตั้งเป็นหมู่ 9 ของตำบลโคกก่อง[3]
  • วันที่ 28 กรกฎาคม 2502 โอนพื้นที่หมู่ 9 บ้านดงกะพุง (ในขณะนั้น) ของตำบลชุมภูพร อำเภอบึงกาฬ ไปตั้งเป็นหมู่ 9 บ้านดงกะพุง ของตำบลเซกา กิ่งอำเภอเซกา อำเภอบึงกาฬ[4]
  • วันที่ 31 ตุลาคม 2521 ตั้งตำบลนาสะแบง แยกออกจากตำบลชุมภูพร[5]
  • วันที่ 9 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลศรีวิไล แยกออกจากตำบลชุมภูพร[6]
  • วันที่ 10 ตุลาคม 2529 ตั้งตำบลนาแสง แยกออกจากตำบลนาสะแบง[7]
  • วันที่ 7 มกราคม 2531 แยกพื้นที่ตำบลศรีวิไล ตำบลชุมภูพร ตำบลนาแสง และตำบลนาสะแบง จากอำเภอบึงกาฬ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอศรีวิไล[8] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอบึงกาฬ
  • วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 จัดตั้งสุขาภิบาลศรีวิไล ในท้องที่บางส่วนของหมู่ 1,2,3,4,5,9 และ 14 ตำบลศรีวิไล[9]
  • วันที่ 9 ตุลาคม 2535 ตั้งตำบลนาสิงห์ แยกออกจากตำบลศรีวิไล[10]
  • วันที่ 3 มิถุนายน 2537 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอศรีวิไล อำเภอบึงกาฬ เป็น อำเภอศรีวิไล[11]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลศรีวิไล เป็นเทศบาลตำบลศรีวิไล[12] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลศรีวิไล รวมกับเทศบาลตำบลศรีวิไล[13]
  • วันที่ 22 มีนาคม 2554 แยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย มาตั้งเป็น จังหวัดบึงกาฬ[1] และเปลี่ยนชื่ออำเภอบึงกาฬ เป็นอำเภอเมืองบึงกาฬ

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอศรีวิไลตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอศรีวิไลแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 51 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[14]
1. ศรีวิไล Si Wilai
12
10,967
2. ชุมภูพร Chumphu Phon
13
7,710
3. นาแสง Na Saeng
9
8,144
4. นาสะแบง Na Sabaeng
9
6,245
5. นาสิงห์ Na Sing
8
6,524

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอศรีวิไลประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลศรีวิไล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีวิไลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชุมภูพร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชุมภูพรทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาแสง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาแสงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะแบง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาสะแบงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาสิงห์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาสิงห์ทั้งตำบล

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (18 ก): 1. 2011-03-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-09. สืบค้นเมื่อ 2011-11-10.
  2. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลอุดร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 551–570. February 12, 1921.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 62 (45 ง): 1254–1255. August 21, 1945.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตท้องที่กิ่งอำเภอเซกา อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (74 ง): 1774–1775. July 28, 1959.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพนพิสัย อำเภอบึงกาฬ และกิ่งอำเภอพรเจริญ จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (121 ง): 3733–3739. October 31, 1978. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2021-08-18.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (131 ง): 2706–2711. August 9, 1983.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพนพิสัย อำเภอบึงกาฬ และกิ่งอำเภอปากคาด จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (175 ง): (ฉบับพิเศษ) 137-146. October 10, 1986.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอศรีวิไล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (5 ง): 106. December 25, 1987. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2021-08-18.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลศรีวิไล กิ่งอำเภอศรีวิไล อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (19 ง): 1015–1017. February 1, 1990.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอศรีวิไล อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (131 ง): (ฉบับพิเศษ) 35-38. October 9, 1992.
  11. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. June 3, 1994. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-08-18.
  12. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-08-18.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาลตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 21–24. September 15, 2004.
  14. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.