ตำบลมหาวัน

ตำบลในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประเทศไทย

มหาวัน เดิมเป็นหมู่บ้านหมู่หนึ่งของ ตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด มีผู้มาอยู่คนแรก ชื่อ นายมหาวัน ไม่ปรากฏนามสกุล ประมาณ พ.ศ. 2522 แยกตำบลจากแม่กุเป็นมหาวัน มีกำนันคนแรกชื่อนายแรด ก้อนจะรา ถัดมานายณรงค์ ห้วยผัด เป็นกำนันคนที่ 2 และกำนันคนปัจจุบัน คือ นายจำเนตร อุดทา ต่อมาได้ยกฐานะจากสภาตำบลมหาวันเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลมหาวัน เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2540 มีหมู่บ้านในปัจจุบันทั้งหมด 12 หมู่บ้าน

ตำบลมหาวัน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Maha Wan
ประเทศไทย
จังหวัดตาก
อำเภอแม่สอด
พื้นที่
 • ทั้งหมด159.03 ตร.กม. (61.40 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2552)
 • ทั้งหมด14,364 คน
 • ความหนาแน่น90.33 คน/ตร.กม. (234.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 63110
รหัสภูมิศาสตร์630608
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา จำนวนพื้นที่ทั้งหมด 99,394 ไร่ มีพื้นที่ราบ 34,787 ไร่ หรือร้อยละ 35 และเป็นภูเขา 64,606 ไร่ หรือร้อยละ 65 มีพื้นที่ติดต่อชายแดนกับประเทศประเทศพม่า ระยะทาง 7 กิโลเมตร

ชื่อตำบล แก้

ชื่อ "มหาวัน" นั้น มาจากชื่อของผู้มาอยู่คนแรก ชื่อ นายมหาวัน ไม่ปรากฏนามสกุล

จากชื่อ "มหาวัน" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

มหา 1 (ว.) ใหญ่, ยิ่งใหญ่, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส บางทีก็ลดรูปเป็น มห เช่น มหรรณพ มหัทธนะ มหัศจรรย์.

มหา 2 (น.) สมณศักดิ์ที่ใช้นำหน้าชื่อภิกษุผู้ที่สอบไล่ได้ตั้งแต่เปรียญธรรม 3 ประโยคขึ้นไป.

วัน 1 (น.) ระยะเวลา 24 ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำรุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงคืน เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาหยุดราชการ 1 วัน, ระยะเวลา 12 ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ, เรียกว่า กลางวัน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า วัน, ระยะเวลา 12 ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง เรียกว่า กลางคืน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า คืน, เช่น เขาไปสัมมนาที่พัทยา 2 วัน 1 คืน, ช่วงเวลากลางวัน เช่น เช้าขึ้นมาก็รีบไปทำงานทุกวัน; (กฎ) เวลาทำการตามที่ได้กำหนดขึ้นโดยกฎหมาย คำสั่งศาล หรือระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทำการตามปรกติของกิจการนั้นแล้วแต่กรณี (ใช้ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้า และการอุตสาหกรรม).

วัน 2 (น.) แมลงวัน. (ดู แมลงวัน ที่ แมลง).

วัน 3 (น.) ป่าไม้, ดง, เช่น อัมพวัน คือ ป่ามะม่วง. (ป. วน).

ประวัติศาสตร์และพัฒนาการ แก้

ตำบลมหาวันเดิมเป็นหมู่บ้านหนึ่งอยู่ในตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด โดยมีผู้มาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยคนแรก ชื่อ นายมหาวัน ไม่ปรากฏนามสกุล

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2422 ชาวบ้านได้อาศัยอยู่บริเวณลำห้วยแม่โกนเกน แรกเริ่มมีประชากรทั้งสิ้น 15 ครอบครัว และเมื่อปี พ.ศ. 2524 มีการแยกจากตำบลแม่กุออกเป็นตำบลมหาวัน และมีกำนันคนแรกชื่อ นายแรด ก้อนจะรา คนที่สองชื่อ นายณรงค์ ห้วยผัด กำนันคนปัจจุบัน คือ นายจำเนตร อุดทา และได้ยกฐานะจากสภาตำบลมหาวันเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลมหาวัน เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2540 โดยนายณรงค์ ห้วยผัด เป็นประธานกรรมการบริหารส่วนตำบลมหาวันคนแรก และเปลี่ยนเป็นตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมหาวัน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ปัจจุบันนายสุรพล โปทาคำ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมหาวัน

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

ตำบลมหาวัน ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอแม่สอด ศูนย์กลางตำบล คือ หมู่ที่ 5 บ้านห้วยไม้แป้น ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยแยกขวาจากถนนสายแม่สอด-อุ้มผาง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1090) กิโลเมตรที่ 17 ตำบลมหาวันห่างจากตัวอำเภอแม่สอด 20 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดตากประมาณ 101 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

โดยมีแนวเขตระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า จากลำห้วยแม่กุหลวง แม่น้ำเมย บริเวณพิกัด เอ็มยู 553356 ไปทางทิศตะวันออก ไปตามลำห้วยผักแล้งผ่านทุ่งนา ถึงจุดตัดถนนสายเอเชียแม่สอด-อุ้มผาง บริเวณพิกัด เอ็มยู 599346 ไปทางทิศตะวันออกผ่านดอยม่อนหินเหล็กไฟ พิกัดเอ็มยู 650341 ไปทางทิศตะวันออกผ่านพิกัดเอ็มยู 690341, 700337 และ710337 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตามแนวสันปันน้ำโกซ่อง สิ้นสุดที่ลำห้วยผัดกูด บริเวณพิกัด เอ็มยู 7453369 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวลำห้วยผัดกูดและลำห้วยซุกกะรีสิ้นสุดที่ลำห้วยซุกกะรี ที่จุดพิกัด 766362 ระยะทางทิศเหนือประมาณ 24 กิโลเมตร

โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากขุนห้วยซุกกะรีบริเวณพิกัด เอ็มยู 766362ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามแนวสันเขาปันน้ำ สิ้นสุดที่ขุนห้วยแม่โกนเกนบริเวณพิกัด เอ็มยู 726310 รวม ระยะทางด้านทิศตะวันออกประมาณ 7 กิโลเมตร

โดยมีเขตเริ่มจากขุนห้วยแม่โกนเกน บริเวณพิกัดเอ็มยู 726310 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวกึ่งกลางห้วยแม่โกนเกน ถึงที่จุดพิกัด เอ็มยู 696298 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามแนวลำห้วยแม่โกนเกน ผ่านจุดตัดถนนสายเอเชียแม่สอด-อุ้มผาง ที่จุดพิกัด เอ็มยู 619280 ไปตามลำห้วยแม่โกนเกน ผ่านดอยปางโจ๊ก สิ้นสุดที่แนวแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่าพิกัด เอ็มยู 574285 ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร

โดยมีแม่น้ำเมยเป็นเส้นกั้นพรมแดน ระยะทางด้านทิศตะวันตกประมาณ 7 กิโลเมตร

มีระยะทางห่างจากตัวเมืองสำคัญ ๆ ดังนี้

ลักษณะทางภูมิศาสตร์และลักษณะภูมิอากาศ แก้

ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่สูงลาดชันจากทิศตะวันออกลงมาทิศตะวันตกและ มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำเมย และประเทศประเทศพม่า มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ 2 ลักษณะ คือ

  • ลักษณะที่ 1 เป็นภูเขาสูง ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธารเป็นหมู่บ้านของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง และเผ่ากะเหรี่ยง
  • ลักษณะที่ 2 เป็นพื้นที่ราบ ซึ่งเป็นหมู่บ้านของชาวไทยพื้นราบ สภาพเศรษฐกิจทางด้านสังคมจึงแตกต่างกัน

เนื้อที่ แก้

ตำบลมหาวันมีเนื้อที่ประมาณ 159.03 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 99,394 ไร่

เขตการปกครอง แก้

ตำบลมหาวันมีหมู่บ้านทั้งหมด 12 หมู่บ้าน คือ

  1. หมู่ที่ 1 บ้านมหาวัน
  2. หมู่ที่ 2 บ้านใหม่แม่โกนเกน
  3. หมู่ที่ 3 บ้านม่อนหินเหล็กไฟ
  4. หมู่ที่ 4 บ้านแม่โกนเกน
  5. หมู่ที่ 5 บ้านห้วยไม้แป้น
  6. หมู่ที่ 6 บ้านเจดีย์โคะ
  7. หมู่ที่ 7 บ้านเจดีย์โคะใหม่
  8. หมู่ที่ 8 บ้านห้วยน้ำขุ่น
  9. หมู่ที่ 9 บ้านห้วยมหาวงศ์
  10. หมู่ที่ 10 บ้านเจดีย์โคะเหนือ
  11. หมู่ที่ 11 บ้านพบพระน้อย
  12. หมู่ที่ 12 บ้านปางวัว

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

ตำบลมหาวันมีหมู่บ้านอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมหาวันเต็มทั้งหมู่บ้าน มีจำนวน 12 หมู่บ้าน

องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

การปกครองในตำบลมหาวัน มีฐานะเริ่มแรกเป็นสภาตำบลมหาวัน ต่อมาได้ยกฐานะจากสภาตำบลมหาวันเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลมหาวัน เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2540

จำนวนประชากร แก้

จำนวนประชากรในเขตตำบลมหาวัน หรืออบต.มหาวันมีจำนวน 14,364 คน (พ.ศ. 2552) เฉลี่ยความหนาแน่นของประชากร ประมาณ 90.33 คน/ ตารางกิโลเมตร และมีจำนวนหลังคาเรือน 3,346 หลังคาเรือน

จำนวนประชากรทั้งสิ้น 14,364 คน

  • เป็นชาย 7,293 คน
  • เป็นหญิง 7,071 คน
  • ความหนาแน่นเฉลี่ย 90.33 คน/ ตารางกิโลเมตร

สภาพทางเศรษฐกิจ แก้

  • อาชีพ
  1. เกษตรกร 97 %
  2. ค้าขาย 2 %
  3. ประกอบอาชีพอื่น 1 %
    • อาชีพหลัก ทำนา, ทำไร่, ทำสวน และค้าขายไม้สัก
    • อาชีพเสริม ร่วมกันผลิตแชมพู และสานเข่งไม้ไผ่
  • หน่วยธุรกิจในเขตตำบลมหาวัน หรืออบต.มหาวัน
  1. ธนาคาร - แห่ง
  2. โรงแรม - แห่ง
  3. ปั๊มน้ำมันและก๊าซ 1 แห่ง
  4. โรงงานอุตสาหกรรม - แห่ง
  5. โรงสี 5 แห่ง

สภาพทางสังคม แก้

  • สถานศึกษา
  1. โรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง
  2. โรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่ง
  3. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) 1 แห่ง
  4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6 แห่ง
  5. โรงเรียนอาชีวศึกษา - แห่ง
  6. โรงเรียน/ สถาบันชั้นสูง - แห่ง
    • ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน 12 แห่ง
  • สถาบันและองค์กรทางศาสนา
  1. วัด/ สำนักสงฆ์ 9 แห่ง
  2. มัสยิด - แห่ง
  3. ศาลเจ้า - แห่ง
  4. โบสถ์ 4 แห่ง
  • สาธารณสุข
  1. โรงพยาบาลของรัฐ - แห่ง
  2. สถานีอนามัยประจำตำบล/ หมู่บ้าน 3 แห่ง
  3. สถานพยาบาลเอกชน - แห่ง
  4. ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 3 แห่ง
  5. อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 99
  • ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  1. สถานีตำรวจ - แห่ง
  2. สถานีดับเพลิง - แห่ง

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน แก้

  • การคมนาคม

ถนนสายสำคัญ ๆ เป็นถนนลาดยาง จำนวน 5 สาย ได้แก่

  1. สายห้วยไม้แป้น-แม่โกนเกน ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ใช้การได้ดี
  2. สายแม่กุหลวง-ผารู ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ใช้การได้ดี
  3. สายแม่สอด-อุ้มผาง แนวใหม่ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ใช้การได้ดี
  4. สายแม่สอด-อุ้มผาง กิโลเมตรที่ 14-28 ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร ใช้การได้ดี
  5. สายห้วยไม้แป้น-ช่องแคบ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ใช้การได้ดี
  • การโทรคมนาคม
  1. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข - แห่ง
  2. สถานีโทรคมนาคมอื่น ๆ - แห่ง
  • การไฟฟ้า
  1. จำนวนหมู่บ้านที่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน 12 หมู่บ้าน
  2. จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า จำนวน 3,346 ครอบครัว
  • โทรศัพท์
  1. จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ จำนวน 1,500 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 45.00 ของจำนวนหลังคาเรือน
  2. จำนวนโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำนวน - หมายเลข
  • แหล่งน้ำธรรมชาติ
  1. ลำน้ำ, ลำห้วย 4 สาย
  2. บึง, หนอง และอื่น ๆ - แห่ง
  • แหล่งน้ำสร้างขึ้น
  1. ฝาย 5 แห่ง
  2. บ่อน้ำตื้น 16 แห่ง
  3. บ่อโยก 9 แห่ง
  4. อื่น ๆ (ระบุ) - แห่ง

ข้อมูลอื่น ๆ แก้

  • ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
  1. น้ำตกธารารักษ์ หรือน้ำตกเจดีย์โคะ หรือน้ำตกผาชัน ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 บ้านเจดีย์โคะ บริเวณกิโลเมตรที่ 24 สายแม่สอด-อุ้มผาง ห่างจากอำเภอแม่สอด ระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนที่สวยงามแห่งหนึ่งของตำบลมหาวัน
  2. สวนป่าไม้แม่โกนเกน-พบพระ ตั้งอยู่ระหว่างหมู่ที่ 1, 8 และหมู่ที่ 11
  3. แม่น้ำเมย ตั้งอยู่หมู่ที่ 2, 4 และหมู่ที่ 9 ตำบลมหาวัน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อน มีหาดทรายที่กว้างและขาวสะอาด
  • มวลชนจัดตั้ง
  1. ลูกเสือชาวบ้าน 3 รุ่น 326 คน
  2. ไทยอาสาป้องกันชาติ 1 รุ่น 165 คน
  3. กองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ 1 รุ่น 192 คน
  4. ชุดรักษาความปลอดภัย 1 รุ่น 213 คน
  5. อื่น ๆ - รุ่น - คน

การคมนาคม แก้

เส้นทางการคมนาคม การเดินทางเข้าสู่ตำบลมหาวันจากตัวจังหวัดตากใช้เส้นทางสายตาก-แม่สอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12) ถึงวงเวียนกลางเมืองแม่สอด (วงเวียนใหญ่, แยกอุ้มผาง) ระยะทางประมาณ 84 กิโลเมตร เล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนแม่สอด-อุ้มผาง ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ถึงบ้านห้วยไม้ หมู่ที่ 5 แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ตำบลมหาวัน ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร รวมระยะทางจากตัวจังหวัดตาก ประมาณ 108 กิโลเมตร

ทางบก แก้

ถนนสายสำคัญ ๆ เป็นถนนลาดยาง จำนวน 5 สาย ได้แก่

  1. ถนนสายห้วยไม้แป้น-แม่โกนเกน ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ใช้การได้ดี
  2. ถนนสายแม่กุหลวง-ผารู ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ใช้การได้ดี
  3. ถนนสายแม่สอด-อุ้มผาง แนวใหม่ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ใช้การได้ดี
  4. ถนนสายแม่สอด-อุ้มผาง หรือทางหลวงแผ่นดินหมาลเลข 1090 กิโลเมตรที่ 14-28 ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร ใช้การได้ดี
  5. ถนนสายห้วยไม้แป้น-ช่องแคบ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ใช้การได้ดี

สถานที่สำคัญของตำบล แก้

  1. น้ำตกธารารักษ์ เป็นน้ำตกที่สูงชันมีความสวยงามตามธรรมชาติ แต่ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร การเดินทางใช้ถนนสายแม่สอด-อุ้มผาง เลี้ยวซ้ายบริเวณหมู่ 6 บ้านเจดีย์โคะ ประมาณ 0.5 กิโลเมตร
  2. ถ้ำสีฟ้า
  3. ตลาดสดผักผลไม้ จากไร่เกษตรกร เป็นศูนย์สินค้าชุมชนด้านผักสด ผลไม้สด และเป็นสถานที่เกษตรกรนำพืชผักผลไม้จากไร่มาจำหน่ายบริเวณสองข้างทาง สินค้าที่ขาย เช่น กะหล่ำปลี, พริก, มะเขือเทศ ฯลฯ
  4. วัดสุวรรณบรรพต, ห้วยไม้แป้น และวัดมหาวงศ์
  5. องค์การบริหารส่วนตำบลมหาวัน
  6. สถานีอนามัยแม่โกนแกน, ห้วยไม้แป้น และเจดีย์โค๊ะ
  7. ป่าไม้

อ้างอิง แก้

  • รายงานประจำปีตำบลมหาวัน พ.ศ. 2552

แหล่งข้อมูลอื่น แก้