ตัวเลขอาหรับตะวันออก

ตัวเลขอาหรับตะวันออก (อังกฤษ: Eastern Arabic numerals) มีอีกชื่อว่า ตัวเลขอาหรับ-อินเดีย (Arabic-Indic numerals) หรือ ตัวเลขอินเดีย–อาหรับ (Indo–Arabic numerals) เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเลขโดดร่วมกับชุดตัวอักษรอาหรับในประเทศแถบอัลมัชริก (ส่วนตะวันออกของโลกอาหรับ), คาบสมุทรอาหรับ และรูปแบบอื่นในประเทศที่ใช้ตัวเลขเปอร์เซียในที่ราบสูงอิหร่านและเอเชีย

ตัวเลขอาหรับตะวันออกบนนาฬิกาที่รถไฟใต้ดินไคโร

ต้นกำเนิด แก้

ตัวเลขนี้มีที่มาจากระบบตัวเลขอินเดียโบราณ ซึ่งนำกลับมาใช้ใหม่ในช่วงยุคทองของอิสลามในหนังสือ On the Calculation with Hindic Numerals ที่เขียนโดยนักคณิตศาสตร์และวิศวกรชาวเปอร์เซียนาม อัลเคาะวาริซมี

ชื่ออื่น แก้

ตัวเลขเหล่านี้มีชื่อในภาษาอาหรับว่า อัรกอมฮินดียะฮ์ (أَرْقَام هِنْدِيَّة) ส่วนในภาษาอังกฤษบางครั้งมีอีกชื่อเรียกว่า ตัวเลขอินเดีย (Indic numerals)[1] หรือ ตัวเลขอาหรับ -อินเดีย (Arabic-Indic numerals)[2] อย่างไรก็ตาม บางครั้งคำเหล่านี้ไม่นิยมใช้งานเพราะอาจทำให้เกิดความสับสนกับระบบตัวเลขฮินดู-อาหรับที่ใช้อักษรตระกูลพราหมีในอนุทวีปอินเดีย[3]

ตัวเลข แก้

แต่ละตัวเลขในแบบเปอร์เซียมีจุดยูนิโคดต่างกัน แม้ว่าจะมีรูปร่างคล้ายกับตัวเลขอาหรับตะวันออกก็ตาม อย่างไรก็ตาม รูปแบบที่ใช้ในภาษาอูรดู, สินธ์ และภาษาในเอเชียใต้อื่น ๆ ไม่ได้ใส่รหัสแยกจากแบบเปอร์เซีย

อาหรับตะวันตก 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
อาหรับตะวันออก[a] ٠ ١ ٢ ٣ ٤ ٥ ٦ ٧ ٨ ٩ ١٠
เปอร์เซีย[b] ۴ ۵ ۶
อูรดู[c] ۴ (Ր) ۶ (Ч) ۷ (<)
อับญัด   ا ب ج د ه و ز ح ط ي

 

  1. U+0660 ถึง U+0669
  2. U+06F0 ถึง U+06F9 เลข 4, 5 และ 6 มีความแตกต่างจากอาหรับตะวันออก
  3. บล็อกยูนิโคดเดียวกันกับเปอร์เซีย แต่จัดภาษาเป็นอูรดู ตัวเลข 4, 6 และ 7 มีความแตกต่างจากเปอร์เซีย ในบางอุปกรณ์ตัวเลขอาจแสดงคล้ายกับของเปอร์เซีย

ตัวเลขเรียงจากตำแหน่งหลักน้อยสุดทางขวา และตำแหน่งหลักมากสุดทางซ้าย ซึ่งเหมือนกับรูปแบบของตัวเลขอาหรับตะวันตก แม้ว่าอักษรอาหรับเขียนจากขวาไปซ้ายก็ตาม[4]

เครื่องหมายลบเขียนไว้ทางด้านขวาของจำนวน เช่น −٣ (−3)

เศษส่วนในบรรทัดเขียนด้วยการนำตัวเศษและตัวส่วนมาตั้งทางซ้ายและขวาของเครื่องหมายทับเศษส่วนตามลำดับ เช่น ٢/٧ (2/7).

จุลภาคปกติ , หรือสัญลักษณ์ ٫ ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์แบ่งเลขฐานสิบ ดังปรากฏใน ٣,١٤١٥٩٢٦٥٣٥٨ (3.14159265358)

จุลภาคอาหรับ ، หรือสัญลักษณ์ ٬ อาจใช้เป็นตัวคั่นหลักพัน เช่น ١،٠٠٠،٠٠٠،٠٠٠ (1,000,000,000).

การใช้งานในปัจจุบัน แก้

 
แป้นพิมพ์โทรศัพท์อาหรับสมัยใหม่ที่มีตัวเลขอาหรับสองแบบ: แบบอาหรับตะวันตกข้างซ้าย และแบบอาหรับตะวันออกข้างขวา

มีผู้ใช้งานตัวเลขอาหรับตะวันออกมากกว่าตัวเลขอาหรับตะวันตกในประเทศทางตะวันออกของโลกอาหรับ โดยเฉพาะในประเทศอิหร่านและอัฟกานิสถาน

ในเอเชียบริเวณที่พูดภาษาอาหรับ เช่นเดียวกันกับอียิปต์และซูดาน มีการใช้ตัวเลขสองรูปแบบ (และมักใช้งานควบคู่กันไป) แม้ว่าตัวเลขอาหรับตะวันตกจะมีผู้ใช้งานมากขึ้น อย่างในซาอุดีอาระเบีย ส่วนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ใช้ตัวเลขทั้งสองรูปแบบ แต่ในแถบอัลมัฆริบใช้เฉพาะตัวเลขอาหรับตะวันตกเท่านั้น

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Glossary of Unicode terms". สืบค้นเมื่อ 2 September 2015.
  2. "Arabic–Indic Numerals / أرقام هندية - Learn Arabic with Polly Lingual". pollylingu.al (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-03-15.
  3. "Glossary". สืบค้นเมื่อ 2 September 2015.
  4. Menninger, Karl (1992). Number words and number symbols: a cultural history of numbers. Courier Dover Publications. p. 415. ISBN 0-486-27096-3.