ตับอักเสบ เอ

(เปลี่ยนทางจาก ตับอักเสบเอ)

โรคไวรัสตับอักเสบ เอ (อังกฤษ: Hepatitis A ชื่อเดิมคือ การติดเชื้อตับอักเสบ) เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของตับ ซึ่งเกิดจากไวรัสตับอักเสบ (เอชเอวี)[6] ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้มีอายุน้อย[1] ในกลุ่มผู้ป่วยที่แสดงอาการของโรค ช่วงเวลาระหว่างการติดเชื้อและการเกิดอาการคือสองถึงหกสัปดาห์[2] เมื่อโรคแสดงอาการ มักเกิดขึ้นนานราวแปดสัปดาห์และอาการต่าง ๆ อาจได้แก่: การคลื่นไส้ การอาเจียน ท้องเสีย ผิวเหลือง เป็นไข้ และปวดท้อง[1] ผู้ป่วยประมาณ 10–15% กลับมามีอาการอีกภายในหกเดือนหลังจากการติดเชื้อครั้งแรก[1] ภาวะตับวายเฉียบพลันพบได้น้อยมาก แต่พบบ่อยในผู้สูงอายุ[1]

Hepatitis A
ชื่ออื่นInfectious hepatitis
ผู้ป่วยมีภาวะดีซ่านเหตุจากโรคไวรัสตับอักเสบ เอ
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ, วิทยาทางเดินอาหาร
อาการคลื่นเหียน, อาเจียน, ท้องเสีย, ปัสสาวะสีเข้ม, ดีซ่าน, ไข้, ปวดท้อง[1]
ภาวะแทรกซ้อนตับวายเฉียบพลัน[1]
การตั้งต้น2–6 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ[2]
ระยะดำเนินโรค8 สัปดาห์[1]
สาเหตุรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อ Hepatovirus A[1]
วิธีวินิจฉัยการตรวจเลือด[1]
การป้องกันวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ, การล้างมือ, ประกอบอาหารอย่างถูกวิธี[1][3]
การรักษาการรักษาตามอาการ, การปลูกถ่ายตับ[1]
ความชุก114 ล้านคน ทั้งมีและไม่มีอาการ (ค.ศ. 2015)[4]
การเสียชีวิต11,200 คน (ค.ศ. 2015)[5]

โรคนี้ติดต่อผ่านการกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อโรคอยู่[1] การกินสัตว์น้ำจำพวกมีเปลือกที่ปรุงไม่สุกก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้ติดโรคได้บ่อย[7] นอกจากนี้แล้วยังสามารถติดผ่านการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อได้อีกด้วย[1] ผู้ป่วยที่เป็นเด็กส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อต่อให้ผู้อื่นได้[1] ผู้ที่ติดเชื้อเมื่อหายแล้วจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต[8] การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากอาการและผลตรวจเลือด[1] โรคนี้เป็นโรคตับอักเสบจากไวรัสชนิดหนึ่งจากทั้งหมดหลายชนิด ได้แก่ ตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี

มีวัคซีนตับอักเสบเอซึ่งใช้ป้องกันโรคนี้ได้[1][3] บางประเทศกำหนดให้เด็กและผู้ที่มีความสี่ยงต้องได้รับวัคซีน[1][9] ข้อมูลปัจจุบันบ่งชี้ว่าวัคซีนนี้เมื่อฉีดครบแล้วจะมีภูมิคุ้มกันได้ตลอดชีวิต[1] วิธีป้องกันวิธีอื่น ๆ ได้แก่ การล้างมือ การทานอาหารที่ปรุงสุก[1] การรักษาเป็นแบบประคับประคองตามอาการ โดยการให้พักผ่อน ใช้ยาแก้อาเจียน รักษาอาการถ่ายเหลว และอาการอื่น ๆ โดยไม่มีการรักษาจำเพาะ[1] ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนระยะยาว[1] กรณีที่มีภาวะตับวายเฉียบพลันรุนแรงการรักษาทำได้โดยการปลูกถ่ายตับ[1]

ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคตับอักเสบเอ แบบแสดงอาการประมาณปีละ 1.4 ล้านคน[1] หากนับรวมผู้ที่ไม่แสดงอาการด้วยอาจมากถึง 114 ล้านคน[4] มักพบในบริเวณที่มีสุขอนามัยไม่ดีและมีน้ำสะอาดไม่เพียงพอ[9] ในประเทศที่กำลังพัฒนาจะพบว่าเด็กอายุ 10 ปีประมาณ 90% จะเคยติดเชื้อนี้มาแล้ว และเมื่อเข้าวัยผู้ใหญ่ก็มักมีภูมิคุ้มกัน[9] โรคนี้มักทำให้เกิดการระบาดขึ้นในประเทศกึ่งพัฒนาที่เด็กไม่เคยติดเชื้อนี้ตอนเด็กและการให้วัคซีนยังไม่แพร่หลาย[9] ข้อมูล ค.ศ. 2015 พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากตับอักเสบเฉียบพลันจากไวรัสตับอักเสบเอ 11,200 คน[5] วันตับอักเสบโลกคือวันที่ 28 กรกฎาคม มีเป้าหมายคือการสร้างการตระหนักรู้ต่อโรคตับอักเสบจากไวรัสแก่คนทั่วไป[9]

สาเหตุ แก้

โรคนี้แพร่โดยการกินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีอุจจาระที่ติดเชื้อปะปนอยู่[1] อาหารทะเลที่ปรุงไม่ถูกสุขลักษณะคือสาเหตุหลักของการติดเชื้อ[10] นอกจากนี้โรคยังอาจแพร่โดยการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ[1] เมื่อติดเชื้อเด็กมักไม่ค่อยแสดงอาการของโรคแต่ก็สามารถแพร่เชื้อแก่ผู้อื่นได้[1] หลังจากการติดเชื้อหนึ่งครั้ง ผู้ติดเชื้อจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต[11] การวินิจฉัยโรคต้องใช้วิธีการตรวจเลือดเนื่องจากอาการที่คล้ายคลึงกับโรคอื่นอีกจำนวนมาก[1] โรคนี้เป็นหนึ่งในห้าของโรคไวรัสตับอักเสบที่เป็นที่ทราบ: เอ, บี, ซี, ดี และอี

การป้องกันและการรักษา แก้

วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอเป็นการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ[1][3] ในบางประเทศได้แนะนำให้มีการฉีดวัคซีนให้กับเด็กและผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูงที่ไม่เคยได้รับวัคซีน[1][9] วัคซีนนี้ดูเหมือนว่าจะมีประสิทธิภาพไปตลอดชีวิต[1] มาตรการป้องกันอื่น ๆ ได้แก่ การล้างมือ และการปรุงอาหารอย่างถูกต้อง [1] โรคนี้ไม่มีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง ข้อแนะนำคือการพักผ่อนและการใช้ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้ หรือท้องเสีย เมื่อมีความจำเป็น[1] การติดเชื้อมักรักษาให้หายขาดได้และโดยไม่มีโรคตับอื่นใดต่อไปอีก[1] การรักษาภาวะตับวายเฉียบพลัน (ถ้ามี) คือด้วยการปลูกถ่ายตับ[1]

ข้อมูลทางระบาดวิทยา แก้

แต่ละปีมีประชากรทั่วโลกประมาณ 1.5 ล้านคนที่แสดงอาการของโรค [1] โดยมีแนวโน้มว่าประชากรทั้งหมดที่ติดเชื้อจะมีจำนวนหลายสิบล้านคน[12] ภูมิภาคของโลกที่มีสุขาภิบาลต่ำและไม่มีน้ำสะอาดมักพบโรคนี้ได้มากกว่า[9] ในประเทศด้อยพัฒนา เด็กราว 90% จะติดเชื้อภายในอายุ 10 ขวบและมีภูมิคุ้มกันในวัยผู้ใหญ่[9] ซึ่งโดยมากในประเทศที่กำลังพัฒนามักเกิดขึ้นในรูปแบบการแพร่ระบาด เนื่องจากการไม่ได้รับเชื้อในวัยเด็กและไม่มีการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง[9] ในปี ค.ศ. 2010 โรคไวรัสตับอักเสบ เอ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนจำนวน 102,000 ราย[13] วันตับอักเสบโลก จัดขึ้นทุกปีในวันที่ 28 กรกฎาคมได้สร้างความตระหนักต่อโรคไวรัสตับอักเสบได้มากขึ้น[9]

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 1.21 1.22 1.23 1.24 1.25 1.26 1.27 1.28 1.29 1.30 1.31 1.32 1.33 1.34 Matheny, SC; Kingery, JE (1 ธันวาคม 2012). "Hepatitis A." Am Fam Physician. 86 (11): 1027–34, quiz 1010–1012. PMID 23198670. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มีนาคม 2014.
  2. 2.0 2.1 Connor BA (2005). "Hepatitis A vaccine in the last-minute traveler". Am. J. Med. 118 (Suppl 10A): 58S–62S. doi:10.1016/j.amjmed.2005.07.018. PMID 16271543.
  3. 3.0 3.1 3.2 Irving GJ, Holden J, Yang R, Pope D (2012). "Hepatitis A immunisation in persons not previously exposed to hepatitis A". Cochrane Database Syst Rev. 7 (7): CD009051. doi:10.1002/14651858.CD009051.pub2. PMC 6823267. PMID 22786522.
  4. 4.0 4.1 GBD 2015 Disease and Injury Incidence and Prevalence (8 ตุลาคม 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". The Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
  5. 5.0 5.1 GBD 2015 Mortality and Causes of Death (8 ตุลาคม 2016). "Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". The Lancet. 388 (10053): 1459–1544. doi:10.1016/s0140-6736(16)31012-1. PMC 5388903. PMID 27733281.
  6. Ryan KJ (2004). Ray CG (บ.ก.). Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. pp. 541–4. ISBN 0-8385-8529-9.
  7. Bellou, M.; Kokkinos, P.; Vantarakis, A. (มีนาคม 2013). "Shellfish-borne viral outbreaks: a systematic review". Food Environ Virol. 5 (1): 13–23. doi:10.1007/s12560-012-9097-6. PMID 23412719. S2CID 16273385.
  8. The Encyclopedia of Hepatitis and Other Liver Diseases. Infobase. 2006. p. 105. ISBN 978-0-8160-6990-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กันยายน 2017.
  9. 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 "Hepatitis A Fact sheet N°328". World Health Organization. กรกฎาคม 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2014.
  10. Bellou, M.; Kokkinos, P.; Vantarakis, A. (มีนาคม 2013). "Shellfish-borne viral outbreaks: a systematic review". Food Environ Virol. 5 (1): 13–23. doi:10.1007/s12560-012-9097-6. PMID 23412719.
  11. The Encyclopedia of Hepatitis and Other Liver Diseases. Infobase. 2006. p. 105. ISBN 978-0-8160-6990-3.
  12. Wasley, A; Fiore, A; Bell, BP (2006). "Hepatitis A in the era of vaccination". Epidemiol Rev. 28: 101–11. doi:10.1093/epirev/mxj012. PMID 16775039.
  13. Lozano, R (15 ธันวาคม 2012). "Global and regional mortality from 235 causes of death for 20 age groups in 1990 and 2010: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010". Lancet. 380 (9859): 2095–128. doi:10.1016/S0140-6736(12)61728-0. PMID 23245604.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้


การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก