ดิเอนด์เลสริเวอร์

ดิเอนด์เลสริเวอร์ (อังกฤษ: The Endless River) เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่สิบห้าของวงพิงก์ ฟลอยด์ วงร็อกจากอังกฤษ ซึ่งวางจำหน่ายในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 โดยมีเดวิด กิลมอร์, มาร์ติน โกลเวอร์, แอนดี แจ็กสัน และฟิล แมนซาเนรา เป็นโปรดิวเซอร์

ดิเอนด์เลสริเวอร์
สตูดิโออัลบั้มโดย
พิงก์ ฟลอยด์
วางตลาดตุลาคม 2557 (2557-10)
บันทึกเสียงมกราคม 2537-2557 ที่อัสโตเรีย
(ลอนดอน, สหราชอาณาจักร)
แนวเพลงร็อก
โปรดิวเซอร์เดวิด กิลมอร์, ฟิล แมนซาเนรา, มาร์ติน โกลเวอร์, แอนดี แจ็กสัน
ลำดับอัลบั้มของพิงก์ ฟลอยด์
เดอะดิวิชันเบล
(2537)String Module Error: Match not found2537
ดิเอนด์เลสริเวอร์
(2557)

อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มแรกของพิงก์ ฟลอยด์ในรอบยี่สิบปี นับจากอัลบั้ม เดอะดิวิชันเบล เป็นอัลบั้มแรกของวงนับตั้งแต่การเสียชีวิตของมือคีย์บอร์ดของวง ริชาร์ด ไวร์ท และเป็นอัลบั้มที่สามนับตั้งแต่เดวิด กิลมอร์เป็นหัวหน้าวงแทนโรเจอร์ วอเทอร์ส ผู้ออกจากวงไปนับตั้งแต่อัลบั้มเดอะไฟนอลคัต โดยอัลบั้มนี้จะมีลักษณะเป็นเพลงบรรเลง แนวแอมเบียนต์ที่ได้ชื่อว่าเป็น "ผลงานเพลงชิ้นสุดท้าย" แต่ริชาร์ด ไวร์ท ซึ่งได้รับการบันทึกเสียงในช่วงเดียวกับที่บันทึกเสียงอัลบั้มเดอะดิวิชันเบลใน พ.ศ. 2537 ในชื่อ "เดอะบิกสปลิฟฟ์" แต่ไม่ได้วางจำหน่าย

เบื้องหลัง แก้

หลังจากที่โรเจอร์ วอเทอร์ส หนึ่งในผู้ก่อตั้งวงออกจากวงไปใน พ.ศ. 2528 โดยกล่าวถึงวงว่า "อยู่ในภาวะถดถอย" (spent force)[1] และพยายามใช้กลไกเพื่อยุบวงแต่ไม่สำเร็จ เดวิด กิลมอร์ มือกีตาร์จึงต้องเป็นผู้นำวงซึ่งในขณะนั้นยังมีนิก เมสัน ซึ่งเป็นมือกลองอยู่ แม้มือคีย์บอร์ดคือริชาร์ด ไวร์ทถูกขับออกจากวงไม่นานหลังจากได้บันทึกเสียงอัลบั้มเดอะวอล ไวร์ทได้รับเชิญจากกิลมอร์และเมสัให้กลับเข้ามาในวงหลังจากวอเทอร์สออกจากวงไป พิงก์ ฟลอยด์ บันทึกเสียงอัลบั้มสองอัลบั้มในช่วงที่เดวิด กิลมอร์เป็นหัวหน้าวง คืออัลบั้ม อะโมเมนทารีแลปส์ออฟรีซัน ในปี พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นอัลบั้มที่ตั้งเป้าจะนำเสียงในยุคต้น ๆ และการแบ่งสรรคำร้องและทำองที่เคยปรากฎในอัลบั้มเดอะดาร์กไซด์ออฟเดอะมูน และวิชยูเวอร์เฮียร์ อย่างสมดุลกันกลับมาอีกครั้ง กิลมอร์กล่าวว่าสองอัลบั้มดังกล่าวไม่ได้ประสบความสำเร็จเพราะวอเทอร์สเป็นผู้แต่งเพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นเพราะว่าคำร้องและทำนองในอัลบั้มทั้งสองมีลักษณะสมดุลกัน[กว่าอัลบั้มอื่นหลังจากนั้น][2] แม้ "อะโมเมนทารีแลปส์ออฟรีซัน" จะได้รับเสียงวิจารณ์คละทั้งบวกและลบ[3][4] แต่อัลบั้มดังกล่าวก็ได้รับความสนใจจากวงการดนตรีกระแสหลัก และขึ้นถึงอันดับสามของชาร์ตอัลบั้มแห่งสหราชอาณาจักรและบิลบอร์ด 200[5]

สตูดิโออัลบั้มลำดับสุดท้ายของพิงก์ ฟลอยด์ที่ได้รับการวางจำหน่ายภายใต้ช่วงที่กิลมอร์เป็นหัวหน้าวงก่อน "ดิเอนด์เลสริเวอร์" คืออัลบั้ม "เดอะดิวิชันเบล" ในปี พ.ศ. 2537 ซึ่งแม้ว่าจะได้รับเสียงวิจารณ์คละไปทางลบเช่นเดียวกับอัลบั้มก่อนหน้า[6][4] แต่ก็สามารถขึ้นถึงอันดับหนึ่งทั้งบนชาร์ตอัลบั้มแห่งสหราชอาณาจักรและบิลบอร์ด 200[5] ในอัลบั้มนี้ริชาร์ด ไวร์ท มีส่วนร่วมมากขึ้น หลังจากในสามอัลบั้มที่ผ่านมาบทบาทของเขาถูกลดลง แต่ในเดอะดิวิชันเบล นอกจากเขาจะได้รับการระบุว่าเป็นผู้แต่งเพลงเป็นครั้งแรกตั้งแต่อัลบั้มวิชยูเวอร์เฮียร์ในปี พ.ศ. 2518 เขายังมีส่วนร่วมในการร้องนำเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ในอัลบั้มเดอะดาร์กไซด์ออฟเดอะมูนในปี พ.ศ. 2516[7] พิงก์ ฟลอยด์แยกวงหลังจากทัวร์คอนเสิร์ตเดอะดิวิชันเบลจบลง เป็นการปิดฉากช่วงเวลากว่าสามสิบปีในวงการเพลง แต่กิลมอร์และเมสัน เจ้าของร่วมของชื่อวงยังคงชื่อของวงไว้สำหรับใช้ในภายภาคหน้า ต่อจากนั้นริชาร์ด ไวร์ทได้บันทึกเสียงอัลบั้ม "โบรเคนไชนา" ในปี พ.ศ. 2539 และได้ช่วยเดวิด กิลมอร์ในการบันทึกเสียงอัลบั้มเดี่ยวของกิลมอร์ชื่อ "ออนแอนไอแลนด์" และร่วมออกทัวร์อัลบั้มกับกิลมอร์ด้วย

การบันทึกเสียง แก้

 
ดิเอนด์เลสริเวอร์มีพื้นมาจากการบันทึกเสียงในช่วงที่ริชาร์ด ไวร์ท มือคีย์บอร์ดและหนึ่งในผู้ก่อตั้งวงยังมีชีวิตอยู่ ไวร์ทเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2551

ดิเอนด์เลนริเวอร์มีพื้นฐานมาจากผลงานเพลงที่บันทึกไว้ในช่วงปี พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2537 ในช่วงเดียวกับที่มีการบันทึกเสียงอัลบั้ม "เดอะดิวิชันเบล" ที่บริตันเนียโรว์สตูดิโอ และบนเรือบ้านอัสโตเรีย (Astoria) ของเดวิด กิลมอร์ที่ถูกดัดแปลงเป็นสตูดิโอบันทึกเสียง และยังใช้ในการบันทึกเสียงอัลบั้มอะโมเมนทารีแลปส์ออฟรีซันของพิงก์ ฟลอยด์ และออนแอนไอแลนด์ (บางส่วน) ของเดวิด กิลมอร์เอง นิก เมสัน มือกลองของพิงก์ ฟลอยด์ กล่าวถึงผลงานนี้ว่าผลงานชุดนี้เป็นดนตรีแอมเบียนต์ และเดิมมีความคิดที่จะออกอัลบั้มในชื่อ "เดอะบิกสปลิฟฟ์" (The Big Spliff) พิงก์ ฟลอยด์เองคิดจะนำดนตรีชุดนี้ออกจำหน่าย ณ จุด ๆ หนึ่ง แต่โครงการจำหน่ายก็ถูกพับเก็บไปก่อน[8] หลังจากมรณกรรมของมือคีย์บอร์ด ริชาร์ด ไวร์ท ทั้งกิลมอร์และเมสันกลับไปบันทึกเสียงที่สตูดิโอโดยนำเดอะบิกสปลิฟฟ์มาต่อยอด และเชิญนักดนตรีและโปรดิวเซอร์ที่ร่วมงานด้วยมาร่วมจัดทำอัลบั้มชุดใหม่ของพิงก์ ฟลอยด์ เดิมดิเอนด์เลสริเวอร์เป็นอัลบั้มที่ตั้งใจจะให้เป็นเพลงบรรเลง ทำนองเดียวกับผลงานเพลง "เดอะบิกสปลิฟฟ์" ที่เป็นดนตรีแอมเบียนต์ อย่างไรก็ดีนักร้องเสริมเช่นเดอกา แม็คบลูมได้รับเชิญให้มาบันทึกเสียงที่สตูดิโอในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 และกิลมอร์ร้องนำในเพลงอย่างน้อยหนึ่งเพลงในอัลบั้มนี้[9]

แดน วูตตันจากหนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ "เดอะซัน" ของอังกฤษ และเดอกา แม็คบลูมต่างบอกว่าโรเจอร์ วอเทอร์ส จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในอัลบั้มนี้ โดยจะนำกาย เพรต นักดนตรีอาชีพมากประสบการณ์ผู้ร่วมงานกับพิงก์ ฟลอยด์และเดวิด กิลมอร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 และสมรสกับกาลา บุตรสาวของริชาร์ด ไวร์ท มาบันทึกเสียงเบสในอัลบั้มนี้ นอกจากนี้วูตตันยังกล่าวว่าฟิล แมนซาเนราจากวงร็อกซีมิวสิก ผู้ร่วมแต่งเพลงในอัลบั้ม "อะโมเมนทารีแลปส์ออฟรีซัน" (พ.ศ. 2530) และร่วมโปรดิวซ์อัลบั้ม "ออนแอนไอแลนด์" (พ.ศ. 2549) จะเป็นโปรดิวเซอร์ร่วมให้กับอัลบั้มนี้ วูตตันยังกล่าวอีกว่าจะไม่มีการทัวร์โปรโมตอัลบั้มนี้[10][11]

การจัดจำหน่าย แก้

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 พอลลี แซมสัน ผู้แต่งคำร้องให้พิงก์ ฟลอยด์และภรรยาของเดวิด กิลมอร์ ทวีตข้อความเกี่ยวกับอัลบั้มล่าสุดของพิงก์ ฟลอยด์ ชื่ออัลบั้ม (ดิเอนด์เลสริเวอร์) และช่วงเวลาจัดจำหน่ายประมาณเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557[12] ก่อนหน้านี้นอกจากคำร่ำลือ ไม่มีข่าวใด ๆ ที่ชี้ว่าพิงก์ ฟลอยด์จะออกอัลบั้มใหม่เลย และหลังจากการกล่าวถึงของแซมสัน นักร้องเสริมเดอกา แม็คบลูมลงภาพถ่ายของเธอกับเดวิด กิลมอร์ในสตูดิโอบันทึกเสียง เป็นการยืนยันคำแถลงของแซมสัน นอกจากนี้แม็คบลูมยังบอกว่าอัลบั้มนี้จะเป็นอัลบั้มของ "สิ่งที่ยังไม่ได้มีการวางจำหน่ายทั้งสิ้น"[13] พิงก์ ฟลอยด์ประกาศถึงอัลบั้มล่าสุดอย่างเป็นทางการผ่านทางบทความบนเว็บไซต์ทางการในวันที่ 7 กรกฎาคม[14]

สตูดิโออัลบั้มลำดับก่อนหน้าของวง (คือ "เดอะดิวิชันเบล") และอัลบั้มรวมเพลงและบันทึการแสดงสดหลังจากนั้นมีอีเอ็มไอเป็นผู้จัดจำหน่ายทั่วโลก ยกเว้นสหรัฐอเมริกาที่มีโคลัมเบียเรเคิดส์ ค่ายเพลงของโซนีในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้จัดจำหน่าย พิงก์ ฟลอยด์และวงอื่น ๆ ในค่ายอีเอ็มไอตกอยู่ในห้วงของการที่อีเอ็มไอขายบริษัทให้ยูนิเวอร์ซัลมิวสิคกรุ๊ป ในช่วงปี พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2556 หลังจากคณะกรรมาธิการยุโรปและคณะกรรมาธิการการค้ากลางแห่งสหรัฐอเมริกาพิจารณาข้อเสนอขายอีเอ็มไอของซิตี้กรุ๊ป คณะกรรมาธิการทั้งสองได้อนุญาตให้ซิตี้กรุ๊ปขายอีเอ็มไอได้ ภายใต้ข้อจำกัดหลายประการ โดยหนึ่งในนั้นคือต้องขายทรัพย์สินบางส่วนของอีเอ็มไอ[15] ในระหว่างนั้นมีการจัดตั้งกลุ่มค่ายเพลงพาร์โลโฟนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินที่ยูนิเวอร์ซัลจะต้องขายหลังจากซื้ออีเอ็มไอได้แล้ว พิงก์ ฟลอยด์ที่เดิมเคยอยู่ภายใต้อีเอ็มไอถูกย้ายไปอยู่ภายใต้พาร์โลโฟนเรเคิดส์ ค่ายเพลงในกลุ่มพาร์โลโฟนในระหว่างการเจรจาขายอีเอ็มไอ[16] ต่อมาวอร์เนอร์มิวสิกกรุ๊ปบรรลุข้อตกลงซื้อกลุ่มค่ายเพลงพาร์โลโฟนจากอีเอ็มไอในปี พ.ศ. 2556 และซื้อสิทธิในการเผยแพร่ผลงานเพลงเก่าและเพลงในอนาคตของพิงก์ ฟลอยด์ในระหว่างการซื้อกิจการนี้[17][18]

ผลตอบรับ แก้

ก่อนวางจำหน่าย แก้

ค่าประเมินโดยนักวิจารณ์
ผลคะแนน
ที่มาค่าประเมิน
เมทาคริติก58/100[19]
คะแนนคำวิจารณ์
ที่มาค่าประเมิน
ออลมิวสิก     [28]
เดอะการ์เดียน     [20]
ดิอินดีเพ็นเดนต์N/A[21]
เรเคิร์ดคอลเลกเตอร์     [22]
เอ็นเอ็มอี5/10[23]
ดิออบเซิร์ฟเวอร์     [24]
ฟิชท์ฟอร์ก5.7/10[25]
ป็อปแมเทอร์ส          [26]
โรลลิงสโตนส์     [27]
อันคัต     [19]

แม้โรเจอร์ วอเทอร์ส จะเคยกล่าวถึงหลายครั้งว่าจะไม่ขอยุ่งเกี่ยวกับพิงก์ ฟลอยด์อีก[29][30] แต่การที่วอเทอร์สไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับอัลบั้มนี้ทำให้มีเสียงตอบรับในแง่ลบ เป็นต้นว่าไมค์ พอตนอย อดีตมือกลองและผู้ก่อตั้งวงโพรเกซซีฟเมทัล/ร็อก ดรีม เธียร์เตอร์ ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อแสดงการคัดค้านที่ดิเอนด์เลสริเวอร์จะวางจำหน่ายในนามพิงก์ ฟลอยด์โดยปราศจากวอเทอร์ส โดยกล่าวว่า "เป็นการไม่เคารพต่อโรเจอร์และทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาทำมาตลอดหลายปีนี้"[31] โจชัว ออสตรอฟ บรรณาธิการอาวุโสของเว็บไซต์เดอะฮัฟฟิงตันโพสต์ เว็บไซต์ข่าวในนิวยอร์กซิตี้ วิจารณ์การที่กิลมอร์และเมสันเลือกจะบันทึกเสียงอัลบั้มนี้โดยปราศจากวอเทอร์ส โดยกล่าวในบทความชื่อ "ด้านมืดของอัลบั้ม 'ล่าสุด' ของพิงก์ ฟลอยด์" ว่า "ทั้งสามคน [กิลมอร์, เมสัน, ไวร์ท] หรือแม้อัลบั้มเดี่ยวของทั้งสามไม่ได้ดีเท่ากับผลงานของวง พิงก์ ฟลอยด์โดยรวมมีมากกว่าการเอาส่วนประกอบมาบวก ๆ กัน" นอกจากนี้ยังกล่าวขำ ๆ ว่า "ถ้า[โรเจอร์ วอเทอร์ส] ผู้สร้างสรรค์ผลงานของพิงก์ ฟลอยด์ไม่เข้ามาช่วยทำอัลบั้มนี้ให้เสร็จ ก็เรียกอัลบั้มนี้ว่า 'วิชวอเทอร์สวอสเฮียร์' ไปเถอะ"[32]

ในทางกลับกันกับเสียงวิจารณ์ให้นำวอเทอร์สกลับมา มีเสียงตอบรับในแง่บวกกับอัลบั้มใหม่ของพิงก์ ฟลอยด์ แดเนียล เจ. ฟลินน์ของนิตยสารรายเดือน "ดิอเมริกัสเปคเทเทอร์" ประจำอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย กล่าวว่าข่าวนี้เป็นเรื่องคาดไม่ถึง นอกจากนี้ยังเสริมในบทความย้อนอดีตดูผลงานเพลงของพิงก์ ฟลอยด์ว่าอัลบั้มใหม่นี้เปรียบเสมือน "รายการเพลงแห่งความฝัน" และยังกล่าวว่า "แอลพีสิบสี่อันของวงที่ช่วยกล่อมให้หลับ รวมถึงเรื่องราวก่อนนอน (เพลง) ที่เป็นความจริงมาตลอดสี่สิบปีบางทีก็เริ่มจะน่าเบื่อ อัลบั้ม(ที่ช่วยให้หลับ)อันดับที่สิบห้าน่าจะช่วยให้หลับได้อีกเช่นเคย"[33]

หลังวางจำหน่าย แก้

อัลบั้มนี้ได้รับคำวิจารณ์ที่หลากหลาย โดยได้รับกล่าวว่าอัลบั้มนี้แม้จะเป็นอัลบั้มที่ดี แต่การที่วงนั้นขาดวอเทอร์ส และการที่แทบทุกเพลงเป็นเพลงบรรเลง (มีเพียงเพลง "Louder Than Words" เท่านั้นที่ขับร้องโดยกิลมอร์) นั้นก็ทำให้เสน่ห์ของอัลบั้มหายไปมาก

รายชื่อเพลง แก้

ทุกเพลงได้รับการอำนวยการสร้างโดยเดวิด กิลมอร์ ฟิล มันซาเนรา มาร์ติน โกลเวอร์ และ แอนดี แจ็คสัน.

ด้านที่หนึ่ง
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
1."Things Left Unsaid"4:26
2."It's What We Do"
  • กิลมอร์
  • ไรท์
6:17
3."Ebb and Flow"
  • กิลมอร์
  • ไรท์
1:55
ด้านที่สอง
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
4."Sum"
4:48
5."Skins"
  • กิลมอร์
  • ไรท์
  • เมสัน
2:37
6."Unsung"ไรท์1:07
7."Anisina"กิลมอร์3:16
ด้านที่สาม
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
8."The Lost Art of Conversation"ไรท์1:42
9."On Noodle Street"
  • กิลมอร์
  • ไรท์
1:42
10."Night Light"
  • กิลมอร์
  • ไรท์
1:42
11."Allons-y (1)"กิลมอร์1:57
12."Autumn '68"ไรท์1:35
13."Allons-y (2)"กิลมอร์1:32
14."Talkin' Hawkin'"
  • กิลมอร์
  • ไรท์
3:29
ด้านที่สี่
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
15."Calling"3:37
16."Eyes to Pearls"กิลมอร์1:51
17."Surfacing"กิลมอร์2:46
18."Louder than Words"
6:36
The Endless River เวอร์ชันดีลักซ์
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
19."TBS9"
  • กิลมอร์
  • ไรท์
2:27
20."TBS14"
  • กิลมอร์
  • ไรท์
4:11
21."Nervana"กิลมอร์5:32
22."Anisina" (video)กิลมอร์2:49
23."Untitled" (video)ไรท์1:22
24."Evrika (A)" (video)ไรท์5:58
25."Nervana" (video)กิลมอร์5:32
26."Allons-y" (video)กิลมอร์6:00
27."Evrika (B)" (video)ไรท์5:33

ผู้เกี่ยวข้อง แก้

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ แก้

  1. Blake 2008, pp. 311–313: O'Rourke's involvement in the settlement; Povey 2008, p. 240: "a spent force".
  2. Schaffner 1991, p. 274
  3. Ruhlmann, William (2002). "Pink Floyd - A Momentary Lapse of Reason - Review by William Ruhlmann". AllMusic. All Media Network. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
  4. 4.0 4.1 Rolling Stone (2004). "Pink Floyd - The Rolling Stone Album Guide". Rolling Stone. Wenner Media. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
  5. 5.0 5.1 Sources for A Momentary Lapse of Reason and The Division Bell chart performances:
  6. Ruhlmann, William (2002). "Pink Floyd - The Division Bell - Review by William Ruhlmann". AllMusic. All Media Network. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
  7. The Division Bell (liner notes). Pink Floyd. EMI, Columbia Records. 1994.{{cite AV media notes}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  8. Mason 2005, p. 315
  9. 9.0 9.1 Maloney, Devon (5 July 2014). "New Pink Floyd Album 'The Endless River' Out in October: Report". Billboard. Prometheus Global Media. สืบค้นเมื่อ 6 July 2014.
  10. Wootton, Dan (5 July 2014). "Pink Floyd to release new album: First new collection for over two decades". The Sun. News UK. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014. [Subscription needed to access]
  11. "Pink Floyd to release new album in October". The Toronto Sun. Sun Media (Quebecor). 6 July 2014. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
  12. Newton, Steve (5 July 2014). "David Gilmour's wife Polly Samson leaks news on Twitter about new Pink Floyd album". The Georgia Straight. Vancouver Free Press. สืบค้นเมื่อ 6 July 2014.
  13. McDonald, Soraya Nadia (7 July 2014). "Pink Floyd is releasing its first new album in 20 years". The Washington Post. Nash Holdings. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
  14. Palazzo, Anthony; Beech, Mark (8 July 2014). "Pink Floyd to Release First New Album in Two Decades". Bloomberg Businessweek. Bloomberg L.P. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
  15. Sweney, Mark (21 September 2012). "Universal's £1.2bn EMI takeover approved – with conditions". The Guardian. Guardian Media Group. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
  16. Sisario, Ben (7 February 2013). "Warner Music Group Buys EMI Assets for $765 Million". The New York Times. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
  17. Knopper, Steve (8 February 2013). "Pink Floyd, Radiohead Catalogs Change Label Hands". Rolling Stone. Wenner Media. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
  18. Hampp, Andrew (18 December 2013). "Coldplay, David Guetta Go To Atlantic Records; Radiohead & Pink Floyd Catalogs, Kylie Minogue, Damon Albarn To Warner Bros: WMG's US Plans for Parlophone (Exclusive)". Billboard. Prometheus Global Media. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
  19. 19.0 19.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ MC
  20. Petridis, Alexis (6 November 2014). "Pink Floyd: The Endless River review – a fitting footnote to their career". The Guardian. The Guardian. สืบค้นเมื่อ 6 November 2014.
  21. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ review-theindependent
  22. "The Endless River - Record Collector Magazine". สืบค้นเมื่อ 16 January 2017.
  23. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ review-nme
  24. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ review-theobserver
  25. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ pitchfork
  26. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ PM
  27. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ review-rollingstone
  28. "The Endless River - Pink Floyd - Songs, Reviews, Credits - AllMusic". สืบค้นเมื่อ 16 January 2017.
  29. Frith, Holly (29 May 2011). "Roger Waters Has 'No Wish' To Reunite With Pink Floyd Ever Again". Gigwise. Giant Digital. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
  30. Whitaker, Sterling (13 March 2013). "Roger Waters on Pink Floyd: 'It Was Over in 1985′". Ultimate Classic Rock. Loudwire Networks. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
  31. Childers, Chad (9 July 2014). "Winery Dogs Drummer Mike Portnoy Condemns Pink Floyd Over New Album". Loudwire. Loudwire Network. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
  32. Ostroff, Joshua (7 July 2014). "Dark Side Of Pink Floyd's 'New' Album". The Huffington Post. AOL (Time Warner). สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.
  33. Flynn, Daniel (11 July 2014). "Falling Asleep to Pink Floyd". The American Spectator. American Spectator Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ 11 July 2014.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้