ดาร์จีลิง
ดาร์จีลิง (เนปาล: दार्जीलिङ्ग; เบงกอล: দার্জিলিং; ทิเบต: རྡོ་རྗེ་གླིང༌།) เป็นเมืองและเทศบาลแห่งหนึ่งในรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยน้อยบนความสูง 6,700 ฟุต (2,042.2 เมตร) มีชื่อเสียงด้านอุตสาหกรรมผลิตชา จากตัวเมืองสามารถมองเห็นยอดเขากันเจนชุงคาซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดเป็นอันดับที่สามของโลก รวมทั้งเป็นที่ตั้งของทางรถไฟสายดาร์จีลิงหิมาลัยซึ่งได้รับการจดบันทึกให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก ถือเป็นรถจักรไอน้ำเพียงไม่กี่สายที่ยังให้บริการในประเทศอินเดีย
ดาร์จีลิง | |
---|---|
เมือง | |
สมญา: ราชินีแห่งขุนเขา | |
พิกัด: 27°3′N 88°16′E / 27.050°N 88.267°E | |
ประเทศ | อินเดีย |
รัฐ | เบงกอลตะวันตก |
อำเภอ | ดาร์จีลิง |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1815: สนธิสัญญาสุเคาลี |
ผู้ก่อตั้ง | บริษัทอินเดียตะวันออก |
การปกครอง | |
• ประเภท | เทศบาล |
• องค์กร | เทศบาลดาร์จีลิง |
• นายกเทศมนตรี | ประติภา ราย[1] |
• รองนายกเทศมนตรี | สาคาร ตามาง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 10.57 ตร.กม. (4.08 ตร.ไมล์) |
ความสูง[2] | 2,042.16 เมตร (6,700.00 ฟุต) |
ประชากร (2011) | |
• ทั้งหมด | 132,016 คน |
• ความหนาแน่น | 12,000 คน/ตร.กม. (32,000 คน/ตร.ไมล์) |
ภาษา | |
• ราชการ | เบงกอลและเนปาล[3] |
เขตเวลา | UTC+5:30 (IST) |
รหัสไปรษณีย์ | 734101 |
รหัสโทรศัพท์ | 0354 |
ทะเบียนพาหนะ | WB-76 WB-77 |
เขตเลือกตั้งโลกสภา | ดาร์จีลิง |
เขตเลือกตั้งวิธานสภา | ดาร์จีลิง |
เว็บไซต์ | www |
ชื่อเมืองมาจากคำทิเบตสองคำคือ "ดอร์เจ" แปลว่า "วัชระ – อาวุธของพระอินทร์" กับคำว่า "ลิง" แปลว่า "สถานที่หรือดินแดน"[4]
เมืองถูกก่อตั้งช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในยุคอาณานิคมบริติชราช มีการตั้งสถานพักฟื้นผู้ป่วยและค่ายทหารในพื้นที่ ต่อมาได้พัฒนาพื้นที่สำหรับปลูกชา โดยเกษตรกรได้พัฒนาชาแดงลูกผสมและใช้เทคนิคการบ่มชาแบบใหม่ จนชาแดงดาร์จีลิงกลายเป็นชาที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลและเป็นหนึ่งในชาแดงที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก[5]
นอกจากนี้ดาร์จีลิงยังมีชื่อเสียงจากการเป็นที่ตั้งของโรงเรียนแบบอังกฤษหลายแห่ง ซึ่งดึงดูดนักเรียนทั้งจากในและต่างประเทศเข้าไปร่ำเรียน และเมืองนี้เป็นสังคมพหุลักษณ์มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ร่วมกันได้แก่ เลปชา คามปา กุรข่า เนวาร เศรปา ภูเตีย และเบงกอล[6]
ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
แก้ภูมิอากาศ
แก้ดาร์จีลิงมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน: Cwb)[7] ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีในดาร์จีลิงอยู่ที่ประมาณ 3,100 มม. (120 นิ้ว)[a] ร้อยละแปดสิบของปริมาณน้ำฝนประจำปีเกิดขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนและกันยายน เนื่องจากลมมรสุมของเอเชียใต้[9] "อัตราส่วนเดือนมิถุนายน–พฤษภาคม" หรืออัตราที่ฝนจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนคือ 2.6 หรือ 260%[9] ในทางตรงกันข้าม ปริมาณน้ำฝนประจำปีเกิดขึ้นเพียง 3% ระหว่างเดือนธันวาคมถึงมีนาคม[9] ระดับความสูงของดาร์จีลิ่ง มีความสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของเทือกเขาหิมาลัยตะวันออกเช่น เทือกเขาอัสสัม ที่อยู่ในเขตละติจูดเดียวกัน (27° เหนือ) อากาศที่เบาบางทำให้มีระดับรังสีอัลตราไวโอเลตที่สูงกว่า ค่ารังสีอัลตราไวโอเลตอยู่ที่ประมาณ 4,500 ไมโครวัตต์/ตารางซม./วัน ในช่วงเดือนพฤษภาคม มิถุนายน และกรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีนักท่องเที่ยวสูงสุด ค่ารังสีสูงกว่าที่วัดได้บริเวณเทือกเขาอัสสัมทางทิศตะวันออกซึ่งมีความสูง 170 เมตร (560 ฟุต) กว่า 50%[10]
ข้อมูลภูมิอากาศของดาร์จีลิง (ค.ศ. 1981–2010, สุดขีด 1901–2012) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 19.0 (66.2) |
19.2 (66.6) |
24.0 (75.2) |
27.0 (80.6) |
25.7 (78.3) |
27.7 (81.9) |
28.0 (82.4) |
28.5 (83.3) |
27.5 (81.5) |
26.0 (78.8) |
24.5 (76.1) |
20.0 (68) |
28.5 (83.3) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 10.7 (51.3) |
12.4 (54.3) |
15.6 (60.1) |
18.5 (65.3) |
19.3 (66.7) |
19.8 (67.6) |
19.6 (67.3) |
20.0 (68) |
19.8 (67.6) |
19.5 (67.1) |
17.1 (62.8) |
14.0 (57.2) |
17.2 (63) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 6.1 (43) |
7.7 (45.9) |
10.6 (51.1) |
13.7 (56.7) |
14.9 (58.8) |
16.3 (61.3) |
16.5 (61.7) |
16.7 (62.1) |
16.1 (61) |
15.0 (59) |
11.7 (53.1) |
8.9 (48) |
12.85 (55.13) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 1.5 (34.7) |
2.9 (37.2) |
5.7 (42.3) |
8.8 (47.8) |
10.6 (51.1) |
12.8 (55) |
13.4 (56.1) |
13.4 (56.1) |
12.4 (54.3) |
10.5 (50.9) |
6.3 (43.3) |
3.8 (38.8) |
8.5 (47.3) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -7.2 (19) |
-6.4 (20.5) |
-4.8 (23.4) |
0.0 (32) |
1.4 (34.5) |
6.6 (43.9) |
3.9 (39) |
8.0 (46.4) |
6.2 (43.2) |
3.2 (37.8) |
-4.4 (24.1) |
-4.6 (23.7) |
−7.2 (19) |
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) | 13.5 (0.531) |
14.0 (0.551) |
30.8 (1.213) |
76.9 (3.028) |
137.9 (5.429) |
466.0 (18.346) |
656.7 (25.854) |
528.2 (20.795) |
379.7 (14.949) |
59.1 (2.327) |
14.4 (0.567) |
2.9 (0.114) |
2,380.0 (93.701) |
ความชื้นร้อยละ | 81 | 78 | 75 | 78 | 88 | 93 | 94 | 92 | 90 | 84 | 75 | 74 | 84 |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย | 1.1 | 1.5 | 2.8 | 6.8 | 10.5 | 18.8 | 22.9 | 21.7 | 14.9 | 2.9 | 0.6 | 0.7 | 105.3 |
แหล่งที่มา 1: กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย[11][12] ดัชนีรังสียูวี[13] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: สำนักงานอุตุนิยมวิทยาเยอรมัน (ดวงอาทิตย์ 1891–1990)[14] |
เชิงอรรถ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Pratibha Rai Takes Over As Chairperson Of Darjeeling Municipal Corporation". Siliguri Times. 17 มกราคม 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2018. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2018.
- ↑ "District Profile". Official webpage. Darjeeling district. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 สิงหาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2015.
- ↑ "Report of the Commissioner for Linguistic Minorities in India: 50th report (delivered to the Lokh Sabha in 2014)" (PDF). National Commissioner for Linguistic Minorities, Ministry of Minority Affairs, Government of India. p. 95. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2015.
- ↑ "Pre-Independence [Darjeeling]". Government of Darjeeling. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2015.
- ↑ Srivastava 2003, p. 4024.
- ↑ "People And Culture". Official webpage of Darjeeling District. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ธันวาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2009.
- ↑ "Climate graph, Temperature graph, Climate table". Climate-Data.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2015.
- ↑ Zurick & Pacheco 2006, p. 55.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 Barry 2008, p. 369.
- ↑ Mandi, Swati Sen (2016). Natural UV Radiation in Enhancing Survival Value and Quality of Plants. Springer Nature. pp. 9–10. ISBN 978-81-322-2765-6.
- ↑ "Station: Darjeeling Climatological Table 1981–2010" (PDF). Climatological Normals 1981–2010. India Meteorological Department. มกราคม 2015. pp. 227–228. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ "Extremes of Temperature & Rainfall for Indian Stations (Up to 2012)" (PDF). India Meteorological Department. ธันวาคม 2016. p. M233. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ "UV Index, Darjeeling". Weather Online India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 สิงหาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2020.
- ↑ "Klimatafel von Darjeeling, West Bengal / Indische Union" [Climate table of Darjeeling, West Bengal / Indian Union] (PDF). Baseline climate means (1961–1990) from stations all over the world (ภาษาเยอรมัน). Deutscher Wetterdienst (German Meteorological Service). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พฤษภาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2020.
บรรณานุกรม
แก้- Barry, Roger G. (2008). Mountain Weather and Climate (3rd ed.). Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-86295-0.
- Srivastava, Suresh C. (2003). "Geographical Indications and Legal Framework in India". Economic and Political Weekly. 38 (38): 4022–4033. JSTOR 4414050.
- Zurick, David; Pacheco, Julsun (2006). Illustrated Atlas of the Himalaya. Basanta Shrestha & Birendra Bajracharya. Lexington: University Press of Kentucky. ISBN 978-0-8131-7384-9. OCLC 704517519.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Darjeeling District Administration. History of Darjeeling. (ในภาษาอังกฤษ)
- ดาร์จีลิง ที่เว็บไซต์ Curlie