ทางรถไฟสายดาร์จีลิงหิมาลัย

ทางรถไฟสายดาร์จีลิงหิมาลัย (อังกฤษ: Darjeeling Himalayan Railway) เนื่องจากรถหัวจักรและขบวนรถมีขนาดย่อมจึงเป็นที่รู้จักในนาม รถไฟของเล่น (Toy Train) เป็นรถไฟรางแคบขนาด 2 ฟุต (610 มิลลิเมตร) เดินรถจากสถานีชุมทางนิวชัลปาอิคุฬี (New Jalpaiguri) ในเมืองศิลิคุฬี (Siliguri) กับเมืองดาร์จีลิง (Darjeeling) ในรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย ก่อสร้างช่วงปี พ.ศ. 2422–2424 ระยะทาง 78 กิโลเมตร บนระดับความสูงชั้นต่าง ๆ ตั้งแต่สถานีชุมทางนิวชัลปาอิคุฬีที่มีความสูง 100 เมตรจากระดับน้ำทะเล ไปจนถึงสถานีดาร์จีลิงที่มีความสูง 2,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ขบวนรถจึงมีขนาดเล็กเพื่อความเหมาะสมแก่การเดินทางที่คดเคี้ยวบนเทือกเขาหิมาลัย

ทางรถไฟสายดาร์จีลิงหิมาลัย
Darjeeling Himalayan Railway
ขณะพักเติมน้ำที่ดาร์จีลิง
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย
ปลายทาง
จำนวนสถานี12
การดำเนินงาน
ผู้ดำเนินงานการรถไฟแห่งประเทศอินเดีย
ประวัติ
เปิดเมื่อ23 สิงหาคม พ.ศ. 2423
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง79.27 กม. (49.26 ไมล์)
รางกว้าง2 ฟุต (610 มม.)

ทางรถไฟสายดาร์จีลิงหิมาลัยเดินรถโดยใช้รถจักรไอน้ำดีเอ็ชอาร์ บีคลาส (DHR B Class)[1][2] ซึ่งถูกใช้งานมาตั้งแต่ยุคอาณานิคมและมีให้บริการทุกวัน นอกจากหัวรถจักรไอน้ำแล้วยังมีหัวรถจักรดีเซลให้บริการด้วย

ทางรถไฟสายดาร์จีลิงหิมาลัยได้รับเกียรติจากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกในนามทางรถไฟภูเขาของประเทศอินเดีย (Mountain Railways of India) เมื่อ พ.ศ. 2542[3] ร่วมกับทางรถไฟสายภูเขานีลคิรี (Nilgiri Mountain Railway) และทางรถไฟสายกาลกา-ศิมลา (Kalka–Shimla Railway)[4] ส่วนทางรถไฟสายเขามาเถราน (Matheran Hill Railway) อยู่ในบัญชีเบื้องต้นของมรดกโลก

ระเบียงภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Hughes, Hugh (1994). Indian Locomotives: Part 3 – Narrow Gauge 1863–1940. Harrow, Middlesex: The Continental Railway Circle, p. 34
  2. Marshall, Lawrence G (2001). Indian Narrow Gauge Steam Remembered. East Harling, Norfolk: Plateway Press, pp. 60–61
  3. "Mountain Railways of India". UNESCO World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 2006-04-30.
  4. "Kalka–Shimla Railway makes it to Unesco's World Heritage list". The Hindu Business Line. 2008-07-09. สืบค้นเมื่อ 2008-07-10.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้