ดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ
การแข่งขันดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Astrophysics and Astronomy Olympiad: IOAA) มีการจัดการแข่งขันสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาขึ้นทุก ๆ ปี เป็นสาขาหนึ่งในสาขาของโอลิมปิกวิชาการ โดยได้จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้มีการแข่งขันดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่มีความเป็นนานาชาติอย่างแท้จริง โดยกรรมการการแข่งขันจะได้รับการคัดเลือกโดยการเลือกตั้งจากสมาชิกของทุก ๆ ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน โดยการแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้น ณ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในวโรกาสที่พระชนมายุครบ 7 รอบในปี พ.ศ. 2550
สถานที่จัดการแข่งขัน
แก้ครั้งที่ | เมืองที่จัดการแข่งขัน | ประเทศเจ้าภาพ | วันที่จัดการแข่งขัน (พ.ศ.) |
---|---|---|---|
1 | เชียงใหม่ (Chiangmai) | ไทย (Thailand) | 30 กันยายน - 9 ตุลาคม 2550 |
2 | บันดุง (Bandung) | อินโดนีเซีย (Indonesia) | 19 - 28 สิงหาคม 2551 |
3 | เตหะราน (Tehran) | อิหร่าน (Iran) | 17 - 26 ตุลาคม 2552 |
4 | ปักกิ่ง (Beijing) | จีน (China) | 12 - 21 กันยายน 2553 |
5 | ชอร์ครอว (Chorzów) | โปแลนด์ (Poland) | 25 สิงหาคม - 3 กันยายน 2554 |
6 | รีโอเดจาเนโร (Rio de Janeiro) | บราซิล (Brazil) | 4 - 14 สิงหาคม 2555 |
7 | โวลอส (Volos) | ประเทศกรีซ (Greece) | 27 กรกฎาคม - 5 สิงหาคม 2556 |
8 | ซูชาวา (Suceava) | ประเทศโรมาเนีย (Romania) | 1 - 11 สิงหาคม 2557 |
9 | จังหวัดชวากลาง (Central Java) | ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia) | 27 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2558 |
10 | ภุพเนศวร (Bhubaneswar) | ประเทศอินเดีย (India) | 9 ธันวาคม - 19 ธันวาคม 2559 |
11 | ภูเก็ต (Phuket) | ประเทศไทย (Thailand) | 12 พฤษจิกายน - 21 พฤศจิกายน 2560 |
12 | ปักกิ่ง (Beijing) | ประเทศจีน (China) | 3 พฤศจิกายน - 11 พฤศจิกายน 2561 |
13 | เคสเทลี (Keszthely) | ประเทศฮังการี (Hungary) | 2 สิงหาคม - 10 สิงหาคม 2562 |
14 | โบโกตา (ฺBogota) รูปแบบออนไลน์ | ประเทศโคลอมเบีย (Colombia) | 14 พฤศจิกายน - 21 พฤศจิกายน 2564 |
15 | คูทาอีซี (Kutaisi) | ประเทศจอร์เจีย (Georgia) | 14 สิงหาคม - 22 สิงหาคม 2565 |
16 | คอร์โซว (Chorzów) | ประเทศโปแลนด์ (Poland) | 10 สิงหาคม - 20 สิงหาคม 2566 |
17 | รีโอเดจาเนโร (Rio de Janeiro) | ประเทศบราซิล (Brazil) | 17 สิงหาคม - 27 สิงหาคม 2567 |
ผลการแข่งขันของผู้แทนประเทศไทย
แก้ครั้งที่ | ประเทศเจ้าภาพ | เกียรติคุณประกาศ | รางวัลพิเศษ | |||
---|---|---|---|---|---|---|
1 | ไทย | 3 | 2 | 0 | 0 | คะแนนรวมสูงสุด คะแนนทีมรวมสูงสุด |
2 | อินโดนีเซีย | 1 | 0 | 1 | 3 | คะแนนปฏิบัติการสูงสุด |
3 | อิหร่าน | 1 | 1 | 2 | 1 | คะแนนวิเคราะห์ข้อมูลสูงสุด |
4 | จีน | 2 | 1 | 2 | 0 | |
5 | โปแลนด์ | 0 | 1 | 3 | 1 | |
6 | บราซิล | 1 | 0 | 3 | 1 | |
7 | กรีซ | 2 | 2 | 1 | 0 | |
8 | โรมาเนีย | 0 | 2 | 3 | 0 | |
9 | อินโดนีเซีย | 1 | 0 | 3 | 1 | |
10 | อินเดีย | 0 | 2 | 3 | 0 | |
11 | ไทย | 2 | 2 | 1 | 0 | คะแนนสังเกตการณ์สูงสุด |
12 | จีน | 0 | 3 | 2 | 0 | คะแนนสังเกตการณ์สูงสุด |
13 | ฮังการี | 0 | 3 | 2 | 0 | |
14 | โคลอมเบีย | 4 | 1 | 0 | 0 | คะแนนสังเกตการณ์สูงสุด |
15 | จอร์เจีย | 0 | 2 | 2 | 1 | |
16 | โปแลนด์ | 0 | 2 | 3 | 0 | |
17 | บราซิล | 1 | 4 | 0 | 0 | คะแนนภาคปฏิบัติสูงสุด(สังเกตการณ์,ท้องฟ้า,วิเคราะห์ข้อมูล) |
18 | อินเดีย | |||||
รวม | TOTAL | 18 | 28 | 31 | 8 |
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์การแข่งขันฯ ครั้งที่ 1 เก็บถาวร 2008-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์การแข่งขันฯ ครั้งที่ 2 เก็บถาวร 2010-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์การแข่งขันฯ ครั้งที่ 3 เก็บถาวร 2015-01-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์การแข่งขันฯ ครั้งที่ 4 เก็บถาวร 2010-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์การแข่งขันฯ ครั้งที่ 5
- เว็บไซต์การแข่งขันฯ ครั้งที่ 6 เก็บถาวร 2012-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์การแข่งขันฯ ครั้งที่ 7 เก็บถาวร 2013-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน