ณรงค์ นุ่นทอง
ณรงค์ นุ่นทอง (เกิด 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2489) เป็นอดีตกรรมการบริหารพรรคชาติไทยพัฒนา อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครศรีธรรมราช และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช 4 สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
ณรงค์ นุ่นทอง | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2519–2562) ชาติไทยพัฒนา (2562–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้ณรงค์ นุ่นทอง เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2489[1] สำเร็จการศึกษา การศึกษาบัณฑิต และ การศึกษามหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
งานการเมือง
แก้ณรงค์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2519 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกเรื่อยมา รวม 4 สมัย
พ.ศ. 2543 ณรงค์ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และได้รับเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา ลำดับที่ 12[2] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ณรงค์ นุ่นทอง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
สมาชิกวุฒิสภา
แก้ณรงค์ นุ่นทอง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด 1 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ นายณรงค์ นุ่นทอง[ลิงก์เสีย]
- ↑ เปิด 67 รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ชาติไทยพัฒนา ‘วราวุธ ศิลปอาชา’ ขึ้นเบอร์ 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖