ฐานบินประจวบคีรีขันธ์

ฐานทัพอากาศในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ฐานบินประจวบคีรีขันธ์[2] (อังกฤษ: Prachuap Khiri Khan Air Force Base[3]) เป็นฐานบินปฏิบัติการกิจพิเศษ[4][5]และที่ตั้งทางทหารของกองบิน 5 กองทัพอากาศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะหลัก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์[6]

ฐานบินประจวบคีรีขันธ์
ส่วนหนึ่งของกองทัพอากาศไทย
ประจวบคีรีขันธ์
อ่าวประจวบ (ขวา) และทางวิ่งของฐานบินประจวบคีรีขันธ์ (ซ้าย)
แผนที่
พิกัด11°47′19″N 99°48′17″E / 11.78850°N 99.80466°E / 11.78850; 99.80466 (ฐานบินประจวบคีรีขันธ์)
ประเภทฐานทัพอากาศ
ข้อมูล
ผู้ดำเนินการFlag of the กองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศไทย
ควบคุมโดยกองบินใหญ่ที่ 1 (พ.ศ. 2465–2468)
กองโรงเรียนการบินยิงปืน (พ.ศ. 2468–2469)
กองโรงเรียนการบินที่ 2 (พ.ศ. 2469–2479)
กองบินน้อยที่ 5 (พ.ศ. 2479–2506)
กองบิน 5 (พ.ศ. 2506–2520)
กองบิน 53 (พ.ศ. 2506–2550)
กองบิน 5 (พ.ศ. 2550–ปัจจุบัน)
สภาพปฏิบัติการ
เว็บไซต์wing5.rtaf.mi.th
ประวัติศาสตร์
สร้างพ.ศ. 2464; 103 ปีที่แล้ว (2464)
สร้างโดยเหยี่ยว ยี่ห้อฟุกกี่
การต่อสู้/สงคราม
สงครามมหาเอเชียบูรพา – กองบิน 5
ข้อมูลสถานี
กองทหารรักษาการณ์กองบิน 5
ข้อมูลลานบิน
ข้อมูลระบุICAO: VTBP[1]
ความสูง17 ฟุต (5.2 เมตร) เหนือระดับ
น้ำทะเล
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาวและพื้นผิว
08/26 2,000 เมตร (6,562 ฟุต) แอสฟอลต์คอนกรีต
18/36 1,050 เมตร (3,445 ฟุต) แอสฟอลต์คอนกรีต

ประวัติ

แก้

ในช่วงเริ่มต้นของการก่อตั้งกองทัพอากาศตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2461 ได้มีการก่อตั้งกรมอากาศยานทหารบกโดยแบ่งส่วนราชการเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ 1. กองบินทหารบก 2. โรงเรียนการบินทหารบก 3. โรงงานกรมอากาศยานทหารบก โดยทั้งหมดมีที่ตั้งอยู่ที่ฐานทัพอากาศดอนเมืองในขณะนั้น[7]

ต่อมาช่วงต้นปี พ.ศ. 2463 รัฐบาลมีความต้องการที่จะย้ายกองบินใหญ่ทหารบกที่ 1 (กองบิน 4 ปัจจุบัน) จากฐานทัพอากาศดอนเมืองมาประจำการที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงได้มอบหมายให้ ว่าที่ร้อยเอก ชิต รวดเร็ว ผู้บังคับบัญชากองบินใหญ่ทหารบกที่ 1 ไปหาสถานที่ที่มีความเหมาะสมในพื้นที่ตำบลหนองอ้ายเมฆ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างคลองวาฬและทางรถไฟ และเริ่มเข้าพื้นที่เพื่อถากถางพื้นที่สำหรับการสร้างฐานบินในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2464 ด้วยการทำข้อตกลงกับฝ่ายปกครองท้องถิ่น คือผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มหาอำมาตย์ตรีพระยาสวัสดิ์คีรีศรีสมันตราชนายก และปลัดจังหวัด รองอำมาตย์เอกหลวงภักดีดินแดน เป็นผู้อำนวยการในการปรับพื้นที่สร้างฐานบิน โดยใช้นักโทษจำนวน 200 คนจากเรือนจำมณฑลราชบุรี และทหารจากกรมทหารบกราบที่ 14 เป็นผู้ควบคุมการดำเนินงานของนักโทษ[7]

ในปี พ.ศ. 2464 หลังจากการเข้าปรับพื้นที่ที่จะก่อสร้างฐานบิน ได้มีความเห็นจากรัฐบาลว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่เหมาะสมในการก่อตั้งฐานบินสำหรับประจำการกองบินใหญ่ที่ 1 แต่เหมาะสมกับกองโรงเรียนการบินยิงปืนมากกว่า ซึ่งพื้นที่เป็นแหลมต่อจากเขาล้อมหมวกด้านตะวันตก ระหว่างอ่าวมะนาวและอ่าวประจวบ เจ้ากรมอากาศยานจึงได้ส่ง ร้อยเอก ชิต รวดเร็ว ผู้บังคับการกองบินใหญ่ที่ 1 พร้อมด้วย ร้อยโท กาพย์ ทัตตานนท์ ลงพื้นที่มาสำรวจและจัดทำแผนผังก่อตั้งกองโรงเรียนการบินยินปืน และเสนอขึ้นมายังผู้บังคับบัญชาตามลำดับเพื่อขอพระบรมราชานุญาต ซึ่งได้รับพระบรมราชานุญาตและเปิดการประมูลจ้างช่างก่อสร้าง ผู้ชนะคือ นายเหยี่ยว ยี่ห้อฟุกกี่ เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2464 และแล้วเสร็จในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2465[7]

ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2465 ได้ดำเนินการย้ายกองบินใหญ่ที่ 1 จากดอนเมืองมาประจำการที่ฐานบินประจวบคีรีขันธ์ ด้วยรถไฟสายใต้ และเปิดที่ทำการที่ว่าการกองบินใหญ่ที่ 1 วันแรกเมือวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2465[7]

จากนั้น กองบินใหญ่ที่ 1 ได้ย้ายไปยังที่ตั้งใหม่ ณ สนามบินเขาพระบาทน้อย จังหวัดลพบุรี เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่ไม่เหมาะสม เหมาะกับการใช้เป็นโรงเรียนการบินยิงปืนและทิ้งระเบิดมากกว่า กองบินใหญ่ที่ 1 จึงย้ายออกจากฐานบินเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2468 และใช้งานฐานบินเป็นโรงเรียนการบินยิงปืนแทน[7]

ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2469 โรงเรียนการบินยิงปืนได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองโรงเรียนการบินที่ 2 ขึ้นตรงต่อเจ้ากรมอากาศยาน มีภารกิจในการฝึกการใช้อาวุธยิงทางอากาศให้กับนักบินทุกประเภท ผู้ทำหน้าที่ตรวจการณ์ ผู้ยิงปืนหลัง และผู้ทิ้งลูกระเบิด[8] และเปลี่ยนชื่อเป็น กองบินน้อยที่ 5 ในปี พ.ศ. 2479[9]

ระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา ฐานบินประจวบคีรีขันธ์เป็นอีกหนึ่งจุดปะทะในการยกพลขึ้นบกของกองทัพญี่ปุ่นบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเรือลำเลียงพลของกองทัพญี่ปุ่นได้ลอยลำซุ่มอยู่ด้านหลังเขาล้อมหมวก และระบายพลยกพลขึ้นบกบริเวณตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ อ่าวประจวบ และอ่าวมะนาว เพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินทัพผ่านไปยังประเทศพม่าผ่านทางด่านสิงขรและได้ปะทะกับทหารประจำการของกองบินน้อยที่ 5 ในฐานบินประจวบคีรีขันธ์เพื่อต้านทางกองกำลังญี่ปุ่นกว่า 36 ชั่วโมง จนกระทั่งการเจรจายุติ รัฐบาลไทยยอมให้รัฐบาลญี่ปุ่นเคลื่อนทัพผ่านการปะทะสู้รบจึงยุติลง และมีการสร้างอนุสาวรีย์วีรชน 8 ธันวาคม 2484 ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493[10]

กระทั่งในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของกองทัพอากาศ โดยกองบินน้อยที่ 5 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกองบิน 5 และมีการเปลี่ยนแปลงชื่อหน่วยประจำฐานบินประจวบคีรีขันธ์อีกหลายครั้ง ได้แก่ พ.ศ. 2520 เปลี่ยนชื่อเป็น กองบิน 53 และ พ.ศ. 2550 ได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็นกองบิน 5 อีกครั้งเพื่อเชิดชูเกียรติให้กับวีรชนนเหตุการณ์สงครามมหาเอเชียบูรพาในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ที่ได้ต่อสู้กับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในการยกพลขึ้นบกจนกระทั่งรัฐบาลไทยประกาศให้ญี่ปุ่นสามารถเคลื่อนทัพผ่านประเทศไทยได้[11]

บทบาทและปฏิบัติการ

แก้

กองทัพอากาศไทย

แก้

ฐานบินประจวบคีรีขันธ์ เป็นฐานบินหลักสำหรับกองบิน 5 กองทัพอากาศไทยในการปฏิบัติการพิเศษ[4]รวมถึงเป็นฐานบินปฏิบัติกิจพิเศษ[5] ซึ่งฐานบินประจวบคีรีขันธ์ประกอบไปด้วยเครื่องบินโจมตีและธุรการ 1 ฝูงบิน คือ

  • ฝูงบิน 501 เป็นฝูงบินประจำการเครื่องบินโจมตีและธุรการแบบที่ 2 (บ.จธ.2) เอยู-23 พีซเมกเกอร์[12]
    • หน่วยบินปฏิบัติการฝนหลวง[13] เป็นหน่วยปฏิบัติการที่นำเครื่อง เอยู-23 พีซเมกเกอร์ ไปวางกำลังเพื่อปฏิบัติการฝนหลวงยังฐานบินต่าง ๆ ของกองทัพอากาศ ทั่วประเทศ เช่น กองบิน 1[14] กองบิน 23[13]
  • กองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน 5 เป็นกำลังกองรักษาการณ์ฐานบินประจวบคีรีขันธ์หลักในการป้องกันฐานบิน

และส่วนสนับสนุนอื่น ๆ ได้แก่ กองบังคับการ, แผนกการเงิน, แผนกสนับสนุนการบิน, กองเทคนิค, โรงพยาบาลกองบิน, แผนกช่างโยธา, แผนกขนส่ง, แผนกพลาธิการ, แผนกสวัสดิการ และกองร้อยทหารสารวัตร[10]

หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

แก้

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ใช้ฐานบินประจวบคีรีขันธ์ในการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดโดยรอบ หมุนเวียนกันมาประจำการ เช่น เซสนา 208 คาราวาน[15]

หน่วยในฐานบิน

แก้

หน่วยบินที่วางกำลังในฐานบินประจวบคีรีขันธ์ ที่วางกำลังอยู่ในปัจจุบัน ประกอบไปด้วย

 
เครื่องบินเอยู-23 พีซเมกเกอร์จากฐานบินประจวบฯ กองบิน 5 ที่ฐานทัพอากาศดอนเมือง

กองทัพอากาศ

แก้

กองบิน 5

แก้

ฐานปฏิบัติการฝนหลวง กองบิน 5[16]

แก้
  • หน่วยบินปฏิบัติภารกิจฝนหลวงกองทัพอากาศ[17]

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร

แก้

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้

แก้

สิ่งอำนวยความสะดวก

แก้

ฐานบินประจวบคีรีขันธ์เป็นฐานบินหลักของกองบิน 5 เนื้อที่ประมาณ 4,000 ไร่[9] มีสิ่งอำนวยความสะดวกภายในกองบิน ดังนี้

ลานบิน

แก้

ฐานบินประจวบคีรีขันธ์ประกอบไปด้วย

  • ทางวิ่งแรกความยาว 2,000 เมตร (6,562 ฟุต) ความกว้าง 40 เมตร (131 ฟุต) อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 17 ฟุต (5.2 เมตร) ทิศทางรันเวย์คือ 08/26 หรือ 082° และ 262° พื้นผิวคอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต[3]
  • ทางวิ่งที่สองความยาว 1,050 เมตร (3,445 ฟุต) ความกว้าง 40 เมตร (131 ฟุต) อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 17 ฟุต (5.2 เมตร) ทิศทางรันเวย์คือ 18/36 หรือ 180° และ 360° พื้นผิวคอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต[3]

โรงพยาบาลกองบิน 5

แก้

โรงพยาบาลกองบิน 5 เป็นโรงพยาบาลในกองบิน 5 อยู่ภายใต้สังกัดกรมแพทย์ทหารอากาศ กระทรวงกลาโหม ประกอบด้วยเตียงผู้ป่วยขนาด 30 เตียง[18] สำหรับตรวจรักษาข้าราชการทหาร ลูกจ้าง พนักงาน ครอบครัว และประชาชนบริเวณกองบิน และดำเนินการด้านเวชศาสตร์ป้องกันและเวชศาสตร์การบิน[10]

สนามกอล์ฟกองบิน 5

แก้

สนามกอล์ฟกองบิน 5 หรือสนามกอล์ฟอ่าวมะนาว เป็นสนามกอล์ฟขนาด 9 หลุม ให้บริการข้าราชการ ประชาชน และนักท่องเที่ยวในการเข้ามาใช้บริการภายในฐานบินประจวบคีรีขันธ์[19]

อนุสาวรีย์วีรชน 8 ธันวาคม 2484

แก้
อนุสาวรีย์วีรชน 8 ธันวาคม 2484
 
พิกัด11°47′12″N 99°48′39″E / 11.78662°N 99.81080°E / 11.78662; 99.81080
ที่ตั้งกองบิน 5
ประเภทอนุสาวรีย์
สร้างเสร็จ6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493; 73 ปีก่อน (2493-11-06)
อุทิศแด่การต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นในการยกพลขึ้นบกบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484
 
ฉากจำลองการรบระหว่างทหารอากาศสังกัดกองบินน้อยที่ 5 ของไทย กับกรมทหารราบที่ 143 ของจักรวรรดิญี่ปุ่น ณ อ่าวมะนาว

ฐานบินประจวบคีรีขันธ์เป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์วีรชน 8 ธันวาคม 2484 สร้างขึ้นแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 เพื่อเชิดชูเกียรติให้กับการต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่นประมาณ 4,000 นายที่ยกพลขึ้นบกในพื้นที่ตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ อ่าวประจวบ และอ่าวมะนาวเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 และปะทะกับกำลังพลกองทัพอากาศที่ประจำการอยู่ที่กองบินน้อยที่ 4 เป็นระยะเวลานานกว่า 36 ชั่วโมงจนกระทั่งรัฐบาลไทยประกาศให้ยุติการสู้รบเนื่องจากได้เจรจากันและยอมเป็นพันธมิตรกัน ผลการสู้รบกำลังพลฝ่ายญี่ปุ่นเสียชีวิตระหว่างการรบ 217 นาย และเสียชีวิตในเวลาต่อมาอีกประมาณ 200 นาย ขณะที่ฝ่ายไทยเสียชีวิต 42 คน ประกอบไปด้วย ทหารอากาศ 38 นาย ตำรวน 1 นาย ลูกเสือ 1 คน ครอบครัวกำลังพล 2 คน รวมถึงมีกำลังพลของตำรวจเสียชีวิตในการปะทะในอำเภอเมืองอีก 14 นาย

จากวีรกรรมดังกล่าวทำให้ทุกวันที่ 8 ธันวาคมของทุกปี กองทัพอากาศจะประกอบพิธีวางพวงมาลาบริเวณอนุสาวรีย์และบำเพ็ญกุศลให้กับผู้เสียชีวิต ซึ่งได้อัญเชิญอัฐิของวีรชนจากอนุสาวรีย์กองทัพอากาศที่ฐานทัพอากาศดอนเมืองมาไว้ยังอนุสาวรีย์วีรชน 8 ธันวาคม 2484 เมื่อปี พ.ศ. 2532

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. รายชื่อสนามบินในประเทศไทย (โค้ด)
  2. "ประกาศกองทัพอากาศ เรื่อง กำหนดชื่อเรียกฐานที่ตั้งหน่วยบินต่าง ๆ". เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา แบบธรรมเนียมทหาร พ.ศ. 2567 (PDF). กรมสารวรรณทหารอากาศ. 2567. p. 329.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Aedrome/Heliport VTBP". aip.caat.or.th (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-11-21.
  4. 4.0 4.1 "วิสัยทัศน์ ภารกิจ | กองบิน ๕ กองทัพอากาศ". wing5.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 "Royal Thai Air Force | ยุทโธปกรณ์ในกองทัพอากาศไทย". thaiarmedforce. 2019-05-02.
  6. "ติดต่อเรา | กองบิน ๕ กองทัพอากาศ". wing5.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 "ประวัติศาสตร์กองบิน 4". wing4.rtaf.mi.th.
  8. "Bloggang.com : : Insignia_Museum :". BlogGang.
  9. 9.0 9.1 "กองบิน5". www.prachuaptown.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 10.2 ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพอากาศ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-05-31.
  11. "ประวัติความเป็นมา | กองบิน ๕ กองทัพอากาศ". wing5.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. 12.0 12.1 หนึ่ง (2022-11-24). "ฝูงเดียวในโลก! ทอ.โชว์เครื่องบิน Peacemaker ครบ 50 ปี ปรับปรุงใช้งานได้อีก 15 ปี".
  13. 13.0 13.1 13.2 "กองบิน 5 ประจวบคีรีขันธ์ ส่งพีชเมกเกอร์ 5 ลำ ทำฝนหลวงแก้ภัยแล้งในพื้นที่ภาคอีสาน". www.opt-news.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "กองบิน 5 ส่งพีชเมกเกอร์ 3 ลำ เปิดปฏิบัติการฝนหลวง แก้ภัยแล้งภาคอีสาน". สยามรัฐ. 2023-03-28.
  15. 15.0 15.1 "เริ่มแล้วปฏิบัติการฝนหลวงประจวบฯ เพชรบุรี ชุมพร แก้ปัญหาภัยแล้ง". mgronline.com. 2024-04-20.
  16. "พิธีส่งหน่วยบินปฏิบัติภารกิจฝนหลวงกองทัพอากาศ ประจำปี 2567". welcome-page.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "ผบ.ทอ. ส่งหน่วยบิน 7 ลำ ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือภัยแล้ง". www.thairath.co.th. 2024-03-12.
  18. ข้อมูลเพื่อการพัฒนา (PDF). สำนักงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์.
  19. "สนามกอล์ฟ | กองบิน ๕ กองทัพอากาศ". wing5.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)