ซันเหอ
มุมมองและกรณีตัวอย่างในบทความนี้อาจไม่ได้แสดงถึงมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง |
ซันเหอ ตามสำเนียงกลาง หรือ ซาฮะ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (จีน: 三合; พินอิน: Sān Hé; อังกฤษ: Triad) หรือในภาษาไทยนิยมเรียกกันว่า อั้งยี่ (จีน: 红字; พินอิน: Hóngzì หงจื้อ; "อักษรสีชาด") เป็นสมาคมลับของชาวจีนในต่างประเทศที่แตกแขนงมาจากสมาคมเทียนตี้ (天地, Tiān Dì) ซึ่งในภาษาไทยก็เรียกว่า "อั้งยี่" เช่นกัน
สมาคมเทียนตี้นั้นพระสงฆ์ห้ารูปจากวัดเส้าหลินที่เรียกกันว่า "บุรุษทั้งห้า" (五祖, Wǔ Zǔ) ก่อตั้งขึ้นในสมัยพระเจ้าคังซี ครั้งนั้น ราชวงศ์ชิงเคลือบแคลงพฤติกรรมของวัดเส้าหลินจึงเผาฆ่าล้างวัด สมาชิกวัดที่เหลือรอดมีเพียงพระสงฆ์ทั้งห้ารูปดังกล่าว จึงพากันก่อตั้งสมาคมลับเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明, Fǎn Qīng Fù Míng) แต่พอแตกแขนงไปยังประเทศอื่นแล้วก็ไม่ได้ตั้งใจจะล้มราชวงศ์ชิง เดิมมีวัตถุประสงค์จะช่วยเหลือกันในหมู่ชาวจีนที่อยู่ต่างด้าว แต่ภายหลังก่อความวุ่นวายในประเทศที่ตนอยู่จนถูกปราบปรามเรื่อยมา และปัจจุบันกลายเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติซึ่งยังดำรงอยู่ในหลาย ๆ ประเทศ กับทั้งมีส่วนพัวพันการค้ามนุษย์ ค้าประเวณี ฟอกเงิน กรรโชกทรัพย์ ปลอม แปลง และรับจ้างฆ่า[1]
ชื่อ
แก้"ซันเหอ" แปลว่า องค์สาม สื่อถึงฟ้า ดิน และมนุษย์ ส่วนชื่อ "Triad" ในภาษาอังกฤษนั้นแปลว่า องค์สาม เช่นกัน แต่รัฐบาลอังกฤษซึ่งเข้ายึดครองฮ่องกงตั้งให้เพราะเห็นว่า พวกอั้งยี่มักใช้ยันต์รูปสามเหลี่ยม[2]
ประเทศไทย
แก้อั้งยี่เป็นสมาคมลับที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์จะช่วยเหลืออนุเคราะห์กลุ่มชาวจีนด้วยกันเอง ต่อมาสมาคมเหล่านี้ดำเนินงานอย่างไร้ระเบียบ ก่อปัญหารุนแรงขึ้นหลายครั้งจนทางการต้องใช้อำนาจขั้นเด็ดขาดเข้าจัดการ
สมาคมอั้งยี่ลักลอบนำฝิ่นเข้ามาขายในประเทศไทย ซึ่งในเวลานั้นมีคนไทยและจีนติดฝิ่นเป็นจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2390 พวกอั้งยี่ก่อเหตุขึ้นครั้งแรก ซึ่งทำให้ฝ่ายไทยเริ่มไม่ไว้ใจคนจีนตั้งแต่นั้นมา ต่อมาก่อนจะสิ้นรัชกาลที่ 4 ในปี พ.ศ. 2410 อั้งยี่ในเมืองภูเก็ตสองก๊กคือ ก๊กงี่หิน มีกำลังประมาณ 3,500 คนกับ อั้งยี่ก๊กปูนเถ้าก๋ง มีกำลังประมาณ 4,000 คน เกิดปะทะกัน สาเหตุจากการแย่งชิงสายน้ำแร่ดีบุก ทางการในเมืองภูเก็ตเข้าระงับเหตุไม่สำเร็จ ต้องขอกำลังจากกรุงเทพฯ ไปปราบ พวกอั้งยี่เกรงกำลังจากกรุงเทพฯ จึงอ่อนน้อมโดยดี เหตุการณ์จึงได้สงบลง[3]
การก่อเหตุของอั้งยี่
แก้- 2410 - 2411 อั้งยี่กำเริบที่ระนอง และภูเก็ต ทางการต้องยกกองทัพไปปราบ
- 2432 อั้งยี่กำเริบที่กรุงเทพฯ ยิงกันเอง ทางการต้องเข้าปราบปราม
- 2436-2439 อั้งยี่กำเริบที่ปราจีนบุรีและฉะเชิงเทรา
- 2438 อั้งยี่กำเริบที่ตลาดพลู ธนบุรี
- 2438-2440 อั้งยี่กำเริบที่จันทบุรี
อ้างอิง
แก้- ↑ Gertz, for the Washington Times. "Like other organized crime groups, triads [...] are engaged in a range of illegal activities such as bank and credit card fraud, currency counterfeiting, money laundering, extortion, human trafficking and prostitution." Triads rarely fight other ethnic mob groups, fighting mainly among themselves or against other triads. However triads were involved in some territorial disputes with the Irish mob, Jewish mafia and others.
- ↑ Gertz, for the Washington Times. British authorities in colonial Hong Kong dubbed the groups triads because of the triangular imagery.
- ↑ ร.ศ. สุกัญญา ตีระวนิช,พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ การหนังสือพิมพ์. ISBN 974-7442-60-4