สปริง 26
สปริง 26 (อังกฤษ: Spring 26) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในอดีต ในหมวดสาระทั่วไป ดำเนินการโดย บริษัท สปริง 26 จำกัด ในเครือเนชั่น
ประเทศ | ไทย |
---|---|
พื้นที่แพร่ภาพ | ประเทศไทย |
เครือข่าย | ช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ |
คำขวัญ | มากกว่าทีวี มีดีกว่าใคร |
สำนักงานใหญ่ | สำนักงาน อาคารอินเตอร์ลิงก์ ทาวเวอร์ เลขที่ 44 หมู่ 10 ถนนเทพรัตน กิโลเมตรที่ 4.5 แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260 ส่วนปฏิบัติการ อาคารเล้าเป้งง้วน 1 ชั้น 11 ซอยวิภาวดีรังสิต 9 (เฉยพ่วง) ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 |
แบบรายการ | |
ระบบภาพ | 576i (16:9 คมชัดปกติ) |
ความเป็นเจ้าของ | |
เจ้าของ | บริษัท สปริง 26 จำกัด |
ช่องรอง | เนชั่นทีวี สปริงนิวส์ |
ประวัติ | |
เริ่มออกอากาศ | เปิดตัว 9 กันยายน พ.ศ. 2555 (ในชื่อ กรุงเทพธุรกิจทีวี) |
ยุติออกอากาศ | ยกเลิกออกอากาศ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562 (6 ปี 340 วัน) [1] |
ชื่อเดิม | กรุงเทพธุรกิจทีวี (9 ก.ย. 2555 - 1 เม.ย. 2557)
นาว 26 (2 เม.ย. 2557 - 28 ก.พ. 2562) |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | www.now26.tv |
ออกอากาศ | |
ภาคพื้นดิน | |
ดิจิทัล | ช่อง 26 (มักซ์#5 : ททบ.) |
เคเบิลทีวี | |
ช่อง 26 | |
ทีวีดาวเทียม | |
ทรูวิชั่นส์ | ช่อง 26 |
สปริง 26 เริ่มออกอากาศผ่านโครงข่ายดาวเทียม ชื่อช่อง กรุงเทพธุรกิจทีวี ในปี 2555 จากนั้นประมูลทีวีดิจิทัลมาด้วยราคา 2,200 ล้านบาท ออกอากาศวันแรกเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557 ในชื่อช่อง นาว 26 (อังกฤษ: NOW 26) หลังจากนั้น กลุ่มทุนใหม่ นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น ได้เข้ามาบริหารเครือเนชั่นในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 และเปลี่ยนชื่อช่องมาเป็น สปริง 26 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562
สปริง 26 ได้ยุติการออกอากาศอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากการคืนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และประกอบกิจการโทรทัศน์ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล[2][3] ตลอด 5 ปี ของการออกอากาศในระบบทีวีดิจิทัล ทำรายได้รวม 1,188 ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.175 ในปี 2561 และต่ำสุด 0.026 ปี 2558[4]
ประวัติ
แก้สปริง 26 เริ่มออกอากาศครั้งแรกบนระบบดาวเทียมในชื่อกรุงเทพธุรกิจทีวีเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555 ที่นำเสนอรายการข่าวสาร โดยเอกลักษณ์ของช่องเมื่อครั้งแรกก่อตั้งคือ ข่าวเศรษฐกิจ และการวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน หลังจากนั้นได้เข้าร่วมประมูลโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในนามของบริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด และได้เริ่มทำการทดลองออกอากาศในโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557 ในชื่อช่อง นาว 26 (อังกฤษ: NOW 26) ซึ่งเป็นการออกอากาศต่อจากกรุงเทพธุรกิจทีวี
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560 บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด ที่ดำเนินการออกอากาศช่องนาว 26 ได้ประกาศการขายสินทรัพย์เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ และเพื่อรับมือกับผลกระทบจากภาวะของอุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์และธุรกิจสื่อ ซึ่งรวมถึงช่องนาว 26[5]
การเปลี่ยนอัตลักษณ์เป็นสปริง 26
แก้ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร บริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด ผู้ดำเนินการสถานีโทรทัศน์ช่อง NOW 26 ได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท สปริง 26 จำกัด และได้มีการเปลี่ยนชื่อช่องใหม่เป็น สปริง 26 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 0.00 น.[6]
การขอคืนใบอนุญาต
แก้เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จากัด (มหาชน) ได้ส่งหนังสือแจ้งกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย[7] ว่าคณะกรรมการของบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จากัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัทสปริง 26 จำกัด มีมติให้บริษัทสปริง 26 จำกัด แจ้งความประสงค์ต่อสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อขอคืนใบอนุญาตออกอากาศโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลภายในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งทางบริษัทฯ ได้ระบุเหตุผลว่า
เนื่องจากการตัดสินใจเชิงนโยบายของอดีตผู้บริหารของบริษัทฯ เมื่อปี 2557 ในการเข้าประมูลโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลนำเสนอรายการสารคดี ซีรีส์ภาพยนตร์ต่างประเทศ รายการกีฬา และรายการประเภทวาไรตี้ ทั้งที่บริษัทฯ ไม่มีความชำนาญในการจัดการด้านเนื้อหาประเภทดังกล่าว โดยสปริงมีผลประกอบการขาดทุนมาโดยตลอดนับตั้งแต่ชนะประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล คือตั้งแต่ปี 2557-2561[2]
หลังจากที่มีการแจ้งความประสงค์เพื่อขอคืนใบอนุญาตแล้ว เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2562 คณะอนุกรรมการเยียวยาฯ เพื่อพิจารณาเรื่องแผนเยียวยาผู้บริโภคและการเยียวยาพนักงานของช่องสปริง 26 และสปริงนิวส์ มีมติให้ช่องสปริง 26 ยุติการออกอากาศในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562[3]
การยุติการออกอากาศ
แก้สปริง 26 ได้ยุติการออกอากาศเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เวลา 24.00 น. โดยก่อนการยุติการออกอากาศ ได้ออกอากาศสปอตแจ้งการยุติการออกอากาศและการเปลี่ยนช่องทางการเผยแพร่เนื้อหาไปยังช่องทางออนไลน์ และได้ออกอากาศอัตลักษณ์ของสถานีก่อนการตัดสัญญาณเป็นภาพทดสอบ ซึ่งได้ยุติการออกอากาศพร้อมกับสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์และไบรต์ทีวี[8]
ในช่วงเช้ามืดของวันเดียวกัน สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายและส่งสัญญาณของช่องสปริง 26 ได้นำสัญญาณของช่องสปริง 26 ออกจากโทรทัศน์ดิจิทัลระบบภาคพื้นดิน ซึ่งส่งผลให้ช่องสปริง 26 จอดำอย่างเป็นทางการ และช่องสปริง 26 จะหายไปจากผังช่องรายการเมื่อมีการค้นหาช่องใหม่สำหรับผู้ชมที่รับชมผ่านทางสายอากาศ[9]
ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าวในอดีต
แก้- สโรชา พรอุดมศักดิ์ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- เชาวรัตน์ ยงจิระนนท์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สุทธิรักษ์ อุฒมนตรี (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- ปรัชญา อรเอก (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ทัศนียา รัตน์วงศ์ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- องค์กช วรรณภักตร์ (ปัจจุบันจัดรายการที่สถานีวิทยุ FM 96.5 คลื่นความคิด)
- ธันยมัย อนันตกรณีวัฒน์ (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- ขจรชัย เพชรัตน์ (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
- วรินท์มาศ ปัญญาดี (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ชุติมา จิรทรัพย์อนันต์ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- อติชาติ วงศ์วุฒิวัฒน์ (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
- พลวัชร ภู่พิพัฒน์ (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
- เจษฎา ศาลาทอง (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- ณัฏฐ์ บุณยสิริยานนท์ (ปัจจุบันจัดรายการที่สถานีวิทยุมิติข่าว 90.5)
- ปวัน สิริอิสสระนันท์ (ปัจจุบันอยู่พีพีทีวี)
- ชญาณ์ทิพย์ โลจนะโกสินทร์ (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
- ยศภาคย์ เรืองไพศาล (ปัจจุบันอยู่พีพีทีวี)
- ทิพย์ รุ่งสิริเมธากุล (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- วิไล เจียรรุ่งแสง (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- สิริไพศาล แสงไทยทวีบุญ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- กานต์ สุริยะฉันทนานนท์ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- กวิน ศุภกฤตกุล (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- ธนรัชต์ คูสมบัติ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- วัชราทิตย์ เกษศรี (ปัจจุบันอยู่ Reporter Journey)
- อิทธิพัทธ์ ปิ่นระโรจน์ (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
- ศุภวรรณ โต๋ห์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- สลิตา พรรณลึก (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- สุชาดา นิ่มนวล (ปัจจุบันอยู่พีพีทีวี)
- ตระการ พันธุมเลิศรุจี (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- ธวัลรัตน์ เด่นเลิศชัยกุล (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
- มัทนิน มณีขาว (ชื่อเดิม: ธนิกานต์) (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- พิมพ์พนิต โชติสวัสดิ์ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
- รมย์รัมภา เริ่มรู้ (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
- อาชวินท์ สุขศรี (ปัจจุบันเป็นพิธีกรอิสระ)
- รังสิมา ศฤงคารนฤมิตร (ปัจจุบันอยู่อมรินทร์ทีวี)
- ปริญญา เปล่งเสียง (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- อาทิชา พึ่งสมศักดิ์ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- ผกามาศ สหดิฎฐกุล (ปัจจุบันจัดรายการที่สถานีวิทยุ FM 96.0 ZaabNews)
- พัชระ สารพิมพา (ปัจจุบันอยู่อมรินทร์ทีวี และจัดรายการที่สถานีวิทยุ FM 96.0 ZaabNews)
- ประชาไท ธนณรงค์ (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- เจษฏ์ ประเสริฐรุ่งเรือง (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ปิยวรรณ ประเมษฐะวนิช (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
- วุฒินันท์ นาฮิม (ปัจจุบันอยู่เจเคเอ็น 18)
- รุ่งโรจน์ ลุ้ยประเสริฐ (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- สมสกุล ชมชื่น (ปัจจุบันอยู่NBT North)
- ชนุตรา เพชรมูล (ปัจจุบันอยู่เจเคเอ็น 18)
- ศตคุณ ตันทวีวิวัฒน์ (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
- วิลาสินี แวน ฮาเรน (ปัจจุบันอยู่เนชั่นทีวี)
- ภัทรพล นิธิวรพล (ปัจจุบันอยู่ช่อง 8)
- ดนัย เอกมหาสวัสดิ์ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี)
- อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ (ปัจจุบันอยู่ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี)
- ประจักษ์ มะวงษ์สา (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- กาญจนา นิตย์เมธา (ปัจจุบันยุติทำหน้าที่แล้ว)
- ระวี ตะวันธรงค์ (ปัจจุบันเป็นสื่อมวลชนอิสระ)
- ชัยรัตน์ ถมยา (ปัจจุบันยุติการทำหน้าที่แล้ว)
- ธันย์ชนก จงยศยิ่ง (ปัจจุบันอยู่ทีเอ็นเอ็น ช่อง 16)
อ้างอิง
แก้- ↑ ยามเฝ้าจอ (12 สิงหาคม 2562). "นับถอยหลังอีก 3 วัน! ทีวีดิจิทัล 3 ช่อง คือ #SpringNews #BrightTV และ #Spring26 ถึงเวลาต้องโบกมือลาผู้ชมแล้ว ในเวลา 23:59 น. ของวันที่ 15 สิงหาคม 2562 (5 ทุ่มของวันที่ 15 ต่อเที่ยงคืนวันที่ 16)". www.facebook.com. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 "การอนุมัติในหลักการเพื่อขอคืนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ชื่อช่องรายการ SPRING 26". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2019-05-25.
- ↑ 3.0 3.1 สปริงออนไลน์ (10 มิถุนายน 2562). "ช่อง Spring 26 – Spring News 19 จอดำ 15 ส.ค.นี้". springnews.co.th. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ปิดฉาก "7 ช่อง" ทีวีดิจิทัล บนเส้นทางวิบาก ย้อนดูผลงาน 5 ปี "เรตติ้ง" ดิ่ง ขาดทุนอ่วม". โพซิชันนิงแมก. 15 September 2019. สืบค้นเมื่อ 15 September 2019.
- ↑ ข่าวไทยพีบีเอส (20 ธันวาคม 2560). ""เนชั่น" ขายช่อง NOW ม.เนชั่น บ.ขนส่ง มูลค่า 1.4 พันล้านบาท". news.thaipbs.or.th. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ผู้จัดการออนไลน์ (25 กุมภาพันธ์ 2562). "พลิกวงการทีวีดิจิทัล "NOW 26" เปลี่ยนชื่อเป็น "SPRING 26"". mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Jenpasit (10 พฤษภาคม 2562). "คืนทีวีดิจิทัล Spring 26 อีกช่อง! เตรียมดันช่อง Nation 22 อย่างเดียว". thumbsup.in.th. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ยามเฝ้าจอ (15 สิงหาคม 2562). "นับถอยหลังทีวีดิจิทัลยุติออกอากาศ 3 ช่องแรก Springnews19 BrightTV20 และ Spring26". facebook.com. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ JohnNatadee (16 สิงหาคม 2562). "Mux 5 ของ ททบ.5 นำช่อง 20 และ 26 ออกไปแล้ว". twitter.com. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)