ชีน-มโย่เมียะ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชีน-มโย่เมียะ (พม่า: ရှင်မျိုးမြတ်, ออกเสียง: [ʃɪ̀ɰ̃ mjó mjaʔ]; ประมาณคริสต์ทศวรรษ 1490 – ประมาณคริสต์ทศวรรษ 1520) เป็นพระนมของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้แห่งราชวงศ์ตองอู และพระราชมารดาของพระเจ้าบุเรงนอง[1] ใน ค.ศ. 1516 พระนางและพระสวามีคือเมงเยสีหตูได้เข้ามาเป็นข้าราชสำนักตองอูตั้งแต่พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ยังเป็นทารก ตามพระราชพงศาวดารกล่าวว่าพระนางเป็นทายาทรุ่นที่ 5 ของพระเจ้าสีหตู ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรปี้นยะ (ครองราชย์; 1310–1325) กับพระอัครมเหสีมีสออูจากราชวงศ์พุกาม แต่จากประวัติที่เล่าต่อกันมากล่าวว่าพระนางและพระสวามีเป็นคนธรรมดาสามัญจากพุกามหรือตองอู[2]
ชีน-มโย่เมียะ | |
---|---|
ประสูติ | ประมาณคริสต์ทศวรรษ 1490 ตองอู |
สวรรคต | คริสต์ทศวรรษ 1520 ตองอู |
คู่อภิเษก | เมงเยสีหตู |
พระราชบุตร | พระนางธัมมเทวีแห่งตองอู พระเจ้าบุเรงนอง เมงเยสีตูแห่งเมาะตะมะ ตะโดธรรมราชาที่ 2 |
ราชวงศ์ | ตองอู |
พระราชบิดา | Kywe Sit Min |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
ในพงศาวดารกล่าวไว้อีกว่าได้มีการสถาปนาพระนางเป็นพระราชวงศ์ ภายหลังจากพระนางสิ้นพระชนม์เมื่อประมาณคริสต์ทศวรรษ 1520 ในฐานะข้าราชสำนัก และพระนางไม่ทันได้เห็นพระโอรส-ธิดาทั้ง 4 ได้เป็นพระราชวงศ์ชั้นสูงของราชวงศ์ตองอู ตั้งแต่พระราชบุตรองค์ใหญ่ ขิ่นโปนสอ ได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ใน ค.ศ. 1530 และพระราชบุตรองค์ที่ 2 จะเด็ด ได้อภิเษกกับตะขิ่นจี พระขนิษฐาต่างพระราชมารดาของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ใน ค.ศ. 1534[3] พระสวามีของพระนางได้อภิเษกอีกครั้งหลังจากที่พระนางสิ้นพระชนม์แล้วกับพระขนิษฐาของพระนางพร้อมกับได้รับการสถาปนาเป็นอุปราชแห่งตองอู ระหว่าง ค.ศ. 1540–1549[4] และในระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนองพระโอรสอีก 2 พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นอุปราชแห่งเมาะตะมะและแปร พร้อมกับได้รับพระอิสริยยศเป็นเมงเยสีตูและตะโดธรรมราชาที่ 2 ใน ค.ศ. 1552 และสีตู พระเชษฐาหรือพระอนุชาของพระนางได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองพุกามใน ค.ศ. 1551[5]
อ้างอิง
แก้บรรณานุกรม
แก้- Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
- Royal Historical Commission of Burma (1832). Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.
- Sein Lwin Lay, Kahtika U (1968). Mintaya Shwe Hti and Bayinnaung: Ketumadi Taungoo Yazawin (ภาษาพม่า) (2006, 2nd printing ed.). Yangon: Yan Aung Sarpay.
- Thaw Kaung, U (2010). Aspects of Myanmar History and Culture. Yangon: Gangaw Myaing.