ท่านผู้หญิงเชียง มีนามเดิมว่า เชียง[1] หรือ จึงเชียง[2] เป็นท่านผู้หญิงพิษณุโลกในฐานะเอกภริยาของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) และเป็นสตรีในประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาที่มีบทบาทในการต่อต้านการเข้ายึดเมืองพระพิษณุโลกของเจ้าฟ้าจีดในช่วงสงครามการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง


เชียง
เกิดเชียง, จึงเชียง
กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา
เสียชีวิตไม่ปรากฏ
สัญชาติไทยเชื้อสายจีน
อาชีพท่านผู้หญิงพิษณุโลก
(พ.ศ. 2275 - 7 เมษายน พ.ศ. 2310)
มีชื่อเสียงจากสตรีผู้มีบทบาทในการต่อต้านกบฏเจ้าฟ้าจีด
คู่สมรสเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง)
บุตรไม่ปรากฏ
บุพการีพระยาราชสุภาวดี (โกวผก)

ประวัติ แก้

ในพงศาวดารไทย กล่าวว่า ท่านผู้หญิงเชียง เป็นภรรยาของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง)[2] ไม่ปรากฎนามมารดา มีนิวาสสถานเดิมในกำแพงเมืองกรุงศรีอยุธยาที่บริเวณบ้านประตูจีนตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นสตรีเชื้อสายจีนบุตรีของพระยาราชสุภาวดี (โกวผก)[3] รั้งตำแหน่งสมุหนายก ชาวจีนสกุลเฉิน (แซ่ตัน หรือแซ่ตั้ง) ย่านบ้านประตูจีน เชื้อสายเจ้าพระยาอภัยราชา (โกวเฮง)[4] สมุหนายก ซึ่งอาจถึงแก่อสัญกรรมในระหว่างการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง[5] และเป็นเครือญาติกับกรมพระเทพามาตย์ (นกเอี้ยง)[3] พระราชชนนีของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

ท่านผู้หญิงเชียงมีญาติพี่น้องร่วมสายเลือด 4 คน ดังนี้[3]

บรรดาศักดิ์ แก้

  • คุณหญิงเชียง[7]
  • ท่านผู้หญิงเชียง[8] มีบรรดาศักดิ์เป็น ท่านผู้หญิงพิษณุโลก ถือศักดินา 5,000 (กึ่งหนึ่งของเจ้าเมืองพิษณุโลก)[9][10] ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
  • พระมเหสี[11] สถาปนาขึ้นเป็นเจ้าโดยเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) หลังจากตั้งชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง)

การต่อต้านการยึดเมืองพิษณุโลกของเจ้าฟ้าจีด แก้

ขณะที่เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) กำลังติดศึกรบกับพม่าที่เมืองสุโขทัยอยู่นั้น ที่เมืองพระพิษณุโลกเหลือเพียงขุนนางเพียงบางส่วน กรมขุนสุรินทรสงคราม (เจ้าฟ้าจีด) เสด็จลี้ภัยจากกรุงศรีอยุธยามายังเมืองพิษณุโลกแล้วขึ้นนั่งเมืองเป็นเจ้าเมืองเสียเอง[12]

ท่านผู้หญิงเชียงจึงแอบหนีลงเรือล่องขึ้นไปเมืองสุโขทัยเพื่อบอกความแก่เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เป็นเหตุให้ต้องเลิกทัพกลางคัน[13] ทำให้ทัพพม่าถือโอกาสเคลื่อนทัพล่วงเลยไปยังกรุงศรีอยุธยา พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่า[14]

ขณะนั้นจึงเชียงภรรยาเจ้าพระยาพิษณุโลก หนีลงเรือน้อยกับพรรคพวกบ่าวไพร่ขึ้นไป ณ เมืองสุโขทัย แจ้งความแก่เจ้าพระยาพิษณุโลกๆ ก็โกรธ จึงเลิกทัพลงมาชุมพลอยู่ ณ หลังเมืองพิจิตร แล้วยกขึ้นไปตั้งค่าย ณ ท้ายเมืองพิษณุโลก ได้รบกับพวกเจ้าฟ้าจีดหลายเพลา เจ้าฟ้าจีดจึงแตกหนีออกจากเมือง

วัฒนธรรมร่วมสมัย แก้

  • กรุงแตก[15] นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ ประพันธ์โดย หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) กล่าวถึง ท่านผู้หญิงเชียง ภริยาของเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) กับคุณหญิงนิ่มนวล ภริยาของหลวงจบไกรแดน กับเหตุการณ์ต่อต้านการเข้ายึดเมืองพระพิษณุโลกของเจ้าฟ้าจีด และบทสนทนาระหว่างท่านผู้หญิงเชียงกับหลวงโกษา (ยัง) เรื่องการเชิดชูเจ้าฟ้าจีดขึ้นเป็นเจ้าเมือง

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม. สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช. กรุงเทพฯ : รวมข่าว, 2528. 448 หน้า. หน้า 34.
  2. 2.0 2.1 ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). พระนคร : กรมศิลปากร, 2511. 884 หน้า. หน้า 588.
  3. 3.0 3.1 3.2 เสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ. เครือข่ายพระเจ้าตากสินฯ จากสายราชสกุล สมุหนายกบ้านประตูจีน. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566.
  4. มหานุภาพ, พระยา., นายสวน มหาดเล็ก, รวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ และนิธิ เอียวศรีวงศ์. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕. โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี. นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน. กรุงเทพฯ : ชัยวิโรจน์การพิมพ์, 2535. 189 หน้า. หน้า 111.
  5. เสนาภูเบศร (ใส สโรบล), พระยา. บทละคอนเรื่องเทพวิไลย. พิมพ์ในงานปลงศพสนองคุณ เหม สโรบล มารดา วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๔. พระนคร : โสภณพิรรฒธฯากร, 2474. หน้า 5.
  6. งานสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี. เล่าเรื่องเมืองจันทบูรณ์ เก็บถาวร 2022-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566.
  7. หลวงเมือง. (2551, 6 เมษายน). "สายโลหิต (จบ)", ศิลปวัฒนธรรม, 29(4-6): 96.
  8. ประยูร พิศนาคะ. สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ. กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดกลาง 09, 2515. 472 หน้า. หน้า 167.
  9. เฉลิม พงศ์อาจารย์. พื้นฐานอารยธรรมไทย. พิษณุโลก : โครงการตำรา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2529. 317 หน้า. หน้า 164
  10. พิทยา ว่องกุล. วิเคราะห์ประวัติศาสตร์สยามใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันวิถีทรรศน์ , 2550. 264 หน้า. หน้า 157. ISBN 974-774-200-4
  11. ประยุทธ สิทธิพันธ์. ต้นตระกูลขุนนางไทย. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2505. 544 หน้า. หน้า 127.
  12. ฉัตรสุมาลย์ (วรมัย) กบิลสิงห์. เกร็ดประวัติพระเจ้าตากสินมหาราช. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สองเรา, 2536. 221 หน้า. หน้า 28.
  13. วิบูล วิจิตรวาทการ. เรื่องสนุกในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : หมึกจีน, 2540. 248 หน้า. หน้า 95.
  14. ดำรงราชานุภาพ สมเด็จฯ กรมพระยา. "เจ้าฟ้าจีดชิงเอาเมืองพิษณุโลก", พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๒ ตอน ๑. พระนคร : อักษรนิติ, 2495. 499 หน้า. หน้า 421.
  15. วิจิตรวาทการ, พลตรี หลวง. กรุงแตก. เสริมวิทย์บรรณาคาร, 2514. 240 หน้า. หน้า 117-124.